|
ภาคใต้ของประเทศไทยประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ 14 จังหวัด (พ.ศ. 2538) เมื่อเรียงลำดับของจังหวัดที่มีเนื้อที่มากไปหาน้อยจะได้ดังนี้
|
|
1. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 8,057,168 ไร่
|
|
8. จังหวัดนราธิวาส 2,797,144 ไร่
|
|
2. จังหวัดนครศรีธรรมราช 6,214,064 ไร่
|
|
9. จังหวัดพังงา 2,606,809 ไร่
|
|
3. จังหวัดสงขลา 4,621,181 ไร่
|
|
10. จังหวัดพัทลุง 2,140,296 ไร่
|
|
4. จังหวัดชุมพร 3,755,630 ไร่
|
|
11. จังหวัดระนอง 2,061,278 ไร่
|
|
5. จังหวัดตรัง 3,073,449 ไร่
|
|
12. จังหวัดสตูล 1,549,361 ไร่
|
|
6. จังหวัดกระบี่ 2,942,820 ไร่
|
|
13. จังหวัดปัตตานี 1,212,722 ไร่
|
|
7. จังหวัดยะลา 2,825,674 ไร่
|
|
14. จังหวัดภูเก็ต 339,396 ไร่
|
|
|
จะเห็นได้ว่าเนื้อที่ของ 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 44,196,992 ไร่ ในขณะที่เนื้อที่ของประเทศเท่ากับ 320,696,888 ไร่ เนื้อที่ถือครองเพื่อการเกษตรในภาคใต้เท่ากับ 18,989,498 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.97 ของพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด เป็นเนื้อที่ของป่าไม้เท่ากับ 9,143,517 ไร่ หรือร้อยละ 20.69 และเป็นที่ ๆ ไม่ได้จำแนกอีก 16,063,977 ไร่ ในเนื้อที่ถือครองเพื่อการเกษตรดังกล่าว ยังแยกเป็นที่อยู่อาศัยของเกษตรกร 444,662 ไร่ สวนผลไม้และไม้ยืนต้น 11,846,389 ไร่ ที่ทำนา 4,292,162 ไร่ ที่ปลูกพืชไร่ 225,832 ไร่ สวนผักและไม้ดอกไม้ประดับ 69,622 ไร่ ที่เลี้ยงปศุสัตว์ 149,435 ไร่ ที่รกร้างว่างเปล่า 1700,092 ไร่ และที่อื่น ๆ 261,304 ไร่
|
|