<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - ข้อมูลเกษตรกรรม


 
  ส้มจุก
 

        ส้มจุก เป็นส้มมีชื่อเสียงของภาคใต้ในอดีตและปัจจุบันก็ยังปลูกกันอยู่ ส้มโชกุน เป็นส้มพันธุ์ใหม่ที่มีรสชาติดี ราคาแพง มีกำเนิดจากจังหวัดยะลา ปัจจุบันแพร่หลายไปเกือบทุกจังหวัดแล้ว ภาคใต้ยังมีผลไม้อื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ปลูกกันทั่ว ๆ ไป เช่น มะม่วง (Mangifera indica ) มะนาว (Citrus aurantifolia ) ขนุน (Artocarpus heterophyllus) จำปาดะ(Artocarpus champeden) ลางสาด (Aglaia domestica) และกล้วย(Musa sapientum) แต่พื้นที่ปลูกของพืชเหล่านี้ค่อนข้างจะคงที่หรือมีแนวโน้มจะลดลง ไม้ผลที่มีพื้นที่ปลูกค่อนข้างคงที่

ได้แก่ มะม่วง (21,818 ไร่) มะนาว (36,987 ไร่) จำปาดะ (13,602 ไร่) เพราะการปลูกมะม่วงมีปัญหา เรื่องหนอนไชกิ่ง ผลแตก และมะม่วงบางพันธุ์ เช่น เขียวเสวย จะไม่ค่อยออกลูกหรืออกลูกช้ามาก คุณภาพไม่ดีเท่ามะม่วงในภาคกลาง จึงทำให้พื้นที่ปลูกมะม่วงไม่เพิ่มขึ้น มะม่วงเบาเป็นมะม่วงที่มีรสเปรี้ยวที่ใช้ทำยำมะม่วงที่มีรสชาติอร่อยมาก อันที่จริงมะม่วงเบาปลูกง่าย ขึ้นได้ทุกหนทุกแห่งในภาคใต้ แต่มีปัญหาเรื่องหนอนไชกิ่งจึงทำให้ประชาชนปลูกมะม่วงกันไม่มากมะม่วงนาทับของอำเภอจะนะ เป็นมะม่วงที่มีขนาดผลโตที่สุดผลใหญ่ที่สุดอาจจะหนักถึง 1.5 กิโลกรัม

เป็นมะม่วงเปรี้ยวที่ใช้สำหรับทำยำมะม่วง กินกับน้ำปลาหวาน หรือรับประทานผลสุก จำปาดะก็เป็นพืชประจำถิ่นของภาคใต้ที่นิยมบริโภคเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้ ผลผลิตไม่ได้แพร่หลายไปสู่ภาคกลางหรือภาคอื่น ๆ จึงทำให้พื้นที่ปลูกอยู่คงที่ มะนาวนั้นก็เคยผลิตได้พอกินพอใช้ในภาคใต้ ปัจจุบันนิยมปลูกกันมาก โดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช และกระบี่ แต่ประสบกับปัญหาเรื่องโรคขี้กลาก หรือแคงเกอร์ (Canker) จึงทำให้พื้นที่ปลูกไม่เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามไม้ผลซึ่งพื้นที่ปลูกมีแนวโน้มและลดลงได้แก่ ลางสาด ซึ่งมีรสชาติและราคาดีกว่าขนุนปลูกกันเพียง 19,026 ไร่

เพราะเกษตรกรหันไปปลูกทุเรียน มังคุด สะตอ และส้มโอ กล้วยต่าง ๆ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ก็มีแนวโน้มว่าการปลูกจะลดลง เพราะเมื่อก่อนเกษตรกรเคยปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางสงเคราะห์ ขณะนี้ยางเหล่านั้นโตขึ้นจึงต้องหยุดการปลูกกล้วย อนึ่งเนื่องจากพ่อค้าประชาชนประชาชนหันไปซื้อกล้วยจากชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกล้วยไข่จากภาคกลางมากขึ้น จึงทำให้จังหวัดอื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องขยายพื้นที่ปลูก เกษตรกรก็หันไปปลูกไม้ผลเศรษฐกิจที่ให้ราคาดีกว่า จึงทำให้พื้นที่ปลูกกล้วยลดลงเหลือประมาณ 169,900 ไร่ เมื่อเทียบกับ 3 – 4 ปีก่อน ซึ่งมีพื้นที่ปลูกกล้วยถึง 250,000 ไร่


[กลับสู่หน้า "ข้อมูลเกษตรกรรม"

[ทำนา]  [มะม่วงหิมพานต์]  [มะพร้าว]  [กาแฟ
[สวนยาง]  [ส้มจุก]  [เงาะ]  [หมาก]  [ปาล์มน้ำมัน]  [ตาลโตนด]  [มังคุด
[สะตอ]  [ทุเรียน]  [พืชไร่และผัก]  [ส้มโอ]  [พืชยืนต้น]  [ลองกอง]  [ไม้ผลเมืองร้อน