<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - ข้อมูลเกษตรกรรม


 
  พืชยืนต้น
 

         การปลูกไม้ยืนต้นอุตสาหกรรม         เป็นกลุ่มของพืชที่สำคัญรองลงมาจากยางพารา พื้นที่ปลูก (เป็นไร่) ของพืชในกลุ่มนี้จากมากไปหาน้อย ได้แก่ มะพร้าว (1,177,251ไร่) ปาล์มน้ำมัน (87,384 ไร่ ) กาแฟ (440,127 ไร่) มะม่วงหิมพานต์ (147,875 ไร่ ) หมาก (110,325 ไร่ ) โกโก้ (13,571) พริกไทย (7,479 ไร่ ) มะขาม (5,659 ไร่) และนุ่น (2,956 ไร่) เมื่อรวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมดจะเท่ากับ 2,776,627 ไร่ (ปีเพาะปลูก พ.ศ.2533 – 2534 ) พบว่าเนื้อที่เพาะปลูกนี้ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.7เมื่อเทียบกับปีเพาะปลูก พ.ศ.2529 – 2530

ถึงแม้ว่าไม้ยืนต้นอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรรองลงมาจากยางพาราก็ตาม แต่พืชในกลุ่มนี้มีหลายชนิดมีข้อจำกัดในเรื่องตลาด เช่น มะพร้าวต้องแข่งตลาดกับปาล์มน้ำมัน ซึ่งปาล์มน้ำมันต้องแข่งขันกับตลาดทางมาเลเซีย กาแฟต้องแข่งกับตลาดต่างประเทศ หมากต้องพึ่งพาตลาดของจีนและไต้หวัน พริกไทยยังมีน้อยและต้องแข่งขันกับตลาดทางภาคตะวันออกของไทย ดังนั้นการปลูกปาล์ม กาแฟ และมะพร้าวจึงเป็นธุรกิจของเกษตรกรรายใหญ่จำนวนไม่มากนัก ในขณะที่หมาก โกโก้ และพริกไทย จะเป็นพืชของเกษตรกรรายย่อยที่จะสามารถขยายการผลิตได้เพิ่มขึ้น


[กลับสู่หน้า "ข้อมูลเกษตรกรรม"

[ทำนา]  [มะม่วงหิมพานต์]  [มะพร้าว]  [กาแฟ
[สวนยาง]  [ส้มจุก]  [เงาะ]  [หมาก]  [ปาล์มน้ำมัน]  [ตาลโตนด]  [มังคุด
[สะตอ]  [ทุเรียน]  [พืชไร่และผัก]  [ส้มโอ]  [พืชยืนต้น]  [ลองกอง]  [ไม้ผลเมืองร้อน