<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - ข้อมูลเกษตรกรรม


 
  ปาล์มน้ำมัน
 
        ปาล์มน้ำมันซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elaeis guineensis เป็นพืชที่ปลูกกันมากในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียสำหรับประเทศไทยได้เริ่มปลูกปาล์มน้ำมันกันประมาณ 20 ปีนี้เอง โดยนำปาล์มพันธุ์เทเนร่า (Tenera) มาจากมาเลเซียปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่นับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะขณะนี้ผลผลิตจากปาล์มน้ำมันของไทยมีส่วนแบ่งในตลาดน้ำมันพืชสูงที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชทั้งหลาย เพราะมีการนำน้ำมันปาล์มไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง สามารถนำไปใช้ทดแทนน้ำมันอื่น ๆ ได้ เช่น
  • น้ำมันถั่วเหลือง
  • น้ำมันถั่วลิสง
  • น้ำมันมะพร้าว
  • น้ำมันเมล็ดฝ้าย
  • น้ำมันเมล็ดนุ่น
  • และใช้แทนไขมันสัตว์ได้เป็นอย่างดี

ทะลายหรือผลปาล์ม

 

พื้นที่การทำสวนปาล์ม

       การผลิตปาล์มน้ำมันทั้งหมดของประเทศไทยอยู่ในภาคใต้โดยเกษตรกรใน 12 จังหวัด (ยกเว้นยะลาและปัตตานี) ได้ปลูกปาล์มน้ำมันกันตั้งแต่รายละ 10 – 6,000 กว่าไร่ จังหวัดที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดตามลำดับดังนี้ คือ

  • กระบี่ 390,413 ไร่
  • สุราษฎร์ธานี 291,830 ไร่
  • ชุมพร 66,897 ไร่
  • สตูล 44,070 ไร่
  • ตรัง 39,585 ไร่
  • พังงา 11,346 ไร่
  • สงขลา 10,074 ไร่
  • นครศรีธรรมราช 2,875 ไร่
  • ระนอง 1,079 ไร่
  • ภูเก็ต 200 ไร่
  • พัทลุง 70 ไร่
  • นราธิวาส 10 ไร่

        รวมเป็นเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งสิ้น 858,449 ไร่ ( ปี พ.ศ. 2535) และมีผลผลิตเฉลี่ย เท่ากับ 2,172 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเมื่อคิดเป็นปริมาณน้ำมันปาล์มจะเท่ากับ 250 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับราคาซื้อขายของผลปาล์มทะลาย จะอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ1.50 –2.50 บาท และราคาน้ำมันดิบจะอยู่ระหว่าง 10 – 14 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันมี 3 ประเภทด้วยกันคือ

  • ประเภทบริษัท ซึ่งมักจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มขนาดใหญ่เป็นพัน ๆไร่
  • ประเภทเกษตรกรทั่วไป ซึ่งมีพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 1 – 150 ไร่
  • ประเภทสมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกนิคม ซึ่งมีเนื้อที่ถือครองประมาณ 22 ไร่ต่อครัวเรือน

แต่ถ้าจะแบ่งตามขนาดของเนื้อที่ถือครองจะ พบว่า

  • มีบริษัทเอกชน 62 รายหรือร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นผู้ทำสวนปาล์มขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 4,500 – 6,000 ไร่ต่อบริษัท
  • เกษตรกรที่ทำสวนปาล์มขนาดใหญ่ขนาด 200 ไร่ขึ้นไป มีอยู่ 210 ราย (ร้อยละ4.6 )

  • ทำสวนขนาด 50 – 200 ไร่ มีอยู่ 510 ราย (ร้อยละ11.3 )
  • และเกษตรกรจำนวนมากที่สุด 3,746 รายหรือร้อยละ 82.7 จะทำสวนปาล์มขนาดเล็กซึ่งต่ำกว่า 50 ไร่

         เนื่องจากการผลิตปาล์มน้ำมันมีคู่แข่งอยู่มาก รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะจำกัดเนื้อที่ปลูกไว้ประมาณ 9 แสนไร่

        โดยจัดให้มีการจดทะเบียนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เร่งการค้นคว้าวิจัยในเรื่องพันธุ์ การดูแลรักษา และการแปรรูปเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะผลผลิตปาล์มน้ำมันใน ประเทศไทยยังต่ำกว่าผลผลิตของมาเลเซียและอินโดนีเซียอีกมาก


[กลับสู่หน้า "ข้อมูลเกษตรกรรม"

[ทำนา]  [มะม่วงหิมพานต์]  [มะพร้าว]  [กาแฟ
[สวนยาง]  [ส้มจุก]  [เงาะ]  [หมาก]  [ปาล์มน้ำมัน]  [ตาลโตนด]  [มังคุด
[สะตอ]  [ทุเรียน]  [พืชไร่และผัก]  [ส้มโอ]  [พืชยืนต้น]  [ลองกอง]  [ไม้ผลเมืองร้อน