<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - ข้อมูลเกษตรกรรม


 
  ตาลโตนด
 

        ต้น ตาลโตนดซึ่งเป็นไม้ในตระกูลปาล์ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “ Borass flabellifera “ ต้นสูงประมาณ 20 – 30 เมตร ใบใหญ่แข็งแรง คล้ายฝ่ามือกลาง ก้านใบยาว และมีขอบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ตาลโตนดมี 2 ชนิด คือ

  • ตาลตัวผู้ จะออกดอกเป็นงวงคล้ายมะพร้าว ไม่มีผล แต่เกษตรกรสามารถจะผลิตน้ำตาลจากจากงวงได้โดยการใช้ไม้ไผ่ 2 อันหนีบหรือเรียกกันภาษาพื้นบ้านว่า “คาบตาล ”
  • ตาลตัวเมีย ตาลตัวเมียออกดอกเป็นช่อคล้ายจาก

ในขณะที่ช่อดอกยังอ่อน เกษตรกรสามารถจะผลิตน้ำตาลสดจากจากช่อดอกได้ โดยการใช้ท่อนไม้ไผ่ 2 อันหนีบช่อดอก (คาบตาล) ประมาณ 3 – 4 วัน แล้วจึงใช้มีดคม ๆ เฉือนที่ปลายช่อดอกหรือปลายงวงตัวผู้ เรียกว่า ปาดตาล ก็จะได้น้ำตาลสดย้อยลงมาน้ำตาลสดนี้มีรสหวาน ใช้รับประทานเป็นเครื่องดื่มที่อร่อยมาก หากจะเก็บน้ำตาลสดไว้นาน ก็ควรต้มให้เดือดบรรจุเก็บไว้ในที่เย็น ขณะนี้ได้มีอุตสาหกรรมทำน้ำตาลสดพาสเจอร์ไรซ์บรรจุขวดติดฉลากสวยงาม จนกลายเป็นสินค้าขายในห้างสรรพสินค้า หรือส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย

       การทำน้ำตาลโตนดหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ น้ำผึ้งโตนด ” นั้น มีกระบวนการ ดังนี้

  • เคี่ยวน้ำตาลสดเป็นเวลา 4 – 5 ชั่วโมง เมื่อได้ระเหยน้ำออกไปบางส่วนแล้วจะได้น้ำผึ้งมีสีน้ำตาลแดง เกษตรกรจะเก็บใส่ปี๊บหรือโอ่งไว้ขายต่อไป
  • หากทำการเคี่ยวน้ำผึ้งต่อไปจนแห้งเป็นตังเม เกษตรกรจะทำเป็นน้ำตาลปึก หรือหยอดลงในแว่นใบตาลรูปกลม ๆ เพื่อผลิตเป็นน้ำตาลแว่น
      ช่อดอกตัวเมียจะเจริญเป็นผลตาล มีลักษณะกลม ผิวมีสีเขียวและกลายเป็นสีดำ ขณะที่ยังเป็นลูกตาลอ่อน เกษตรกรอาจจะใช้เปลือกอ่อนกินเป็นอาหาร โดยปรุงเป็นแกงเลียง หรือยำลูกตาล เนื้อของลูกตาลอ่อนใช้กินสด ๆหรือทำเป็นลูกตาลเชื่อมที่อร่อยมาก ลูกตาลที่สุกแล้วสามารถจะแยกเนื้อของเปลือกซึ่งมีสีเหลืองออกมาได้ ชาวบ้านใช้เนื้อเปลือกตาลนี้ผสมกับแป้งทำเป็นขนมตาล เกษตรกรจะใช้ลูกตาลสดเพราะเป็นต้นกล้าเพื่อขยายพันธ์ต่อไป ในช่วงที่ลูกตาลกำลังงอก เกษตรกรจะกะเทาะเปลือกออกเอาเนื้อข้างในที่เรียกว่า “ จาวตาล “ มาบริโภคสด ๆ หรือจะทำเป็นจาวตาลเชื่อ ซึ่งจะกลายเป็นของหวานที่อร่อยมาก

        ต้นตาล เป็นพืชสารพัดประโยชน์ที่แท้จริงเช่นเดียวกับไม้ไผ่ มะพร้าว ฯลฯ เกษตรกรได้ใช้ใบตาลเย็บติดกับไม้ไผ่ทำเป็นจากสำหรับมุงหลังคาทางตาลที่เหลือตากแห้งแล้วใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดีกบตาลที่หุ้มอยู่รอบ ๆ ต้นเพื่อการผลิตใยตาล ใยตาลนี้มีสีดำ เหนียวและแข็งแรงมาก เกษตรกรจึงใช้ใยตาลสำหรับผลิตเชือกไว้ผูกล่ามโค กระบือ นอกจากนี้ก็สามารถใช้ใยตาลสำหรับทำไม้กวาด หรือขายใยตาลให้กับเอกชนที่ทำไม้กวาดใยตาลเป็นอาชีพก็ได้ ต้นตาลที่มีอายุมาก ๆ เช่น 40 – 50 ปีจะเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพและสวยงามยิ่ง เกษตรกรจึงต้องตัดโค่นต้นตาลมาทำเป็นเครื่องเรือน เครื่องเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ

ตาลโตนดเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในที่นาและที่ดอนบางแห่ง ดังนั้นเราจึงพบเห็นต้นตาลส่วนใหญ่ในท้องที่ ๆ มีการทำนา เช่น ในจังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร นราธิวาส สตูล ตรัง และกระบี่ เป็นต้น


[กลับสู่หน้า "ข้อมูลเกษตรกรรม"

[ทำนา]  [มะม่วงหิมพานต์]  [มะพร้าว]  [กาแฟ
[สวนยาง]  [ส้มจุก]  [เงาะ]  [หมาก]  [ปาล์มน้ำมัน]  [ตาลโตนด]  [มังคุด
[สะตอ]  [ทุเรียน]  [พืชไร่และผัก]  [ส้มโอ]  [พืชยืนต้น]  [ลองกอง]  [ไม้ผลเมืองร้อน