<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - ข้อมูลเกษตรกรรม


 
  มังคุด
 

         มังคุด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia mangostana เป็นพืชที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นราชินีของไม้ผลเมืองร้อนเพราะมีรสชาติหวาน ชุ่ม อร่อย เป็นที่ต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศมาก เปลือกของผลใช้ทำสีย้อมผ้า และทำยาฆ่าเชื้อ ยาแก้โรคบิด หรือท้องร่วงได้ มังคุดเป็นพืชประจำท้องถิ่นของภาคใต้ เพราะปลูกได้ในทุกจังหวัด เป็นไม้ที่เติบโตช้า คือต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 8 ปี จึงจะได้ผลผลิต มังคุดมีอยู่พันธุ์เดียว และขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด แต่ขณะนี้มีการทดลองขยายพันธุ์โดยการเสียบยอดมังคุดบนต้นพวา

เพื่ออยู่ระยะของการให้ผล (ผลจากการทดลองระยะต้นปรากฏว่ายังไม่ได้ผล) การปลูกมังคุดควรเตรียมดินเหมือนกับการปลูกไม้ผลอื่น ๆ คือขุดหลุมขนาดกว้างยาว ลึก ประมาณ 50 เซนติเมตรหรือมากว่า ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 – 2 กระป๋องนมและปุ๋ยคอก 1 – 2 ปุ้งกี๋ ผสมกับดินแล้วกลบลงในหลุมระยะปลูกที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 8 – 10 เมตร การปลูกมังคุดในภาคใต้ยังไม่ทำเป็นสวนเดี่ยว ๆ โดยเฉพาะ แต่จะปลูกร่วมกับพืชอื่น ๆ เช่น เงาะ ทุเรียน กาแฟ มะพร้าวและหมาก เพราะมังคุดวัยอ่อนชอบร่มเงา และความชุ่มชื้นสูง

        มังคุดปลูกได้ดีใน 14 จังหวัดภาคใต้ แต่นิยมปลูกกันมากในจังหวัด ชุมพร (46,386 ไร่) รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (24,968 ไร่ ) ระนอง (5,766 ไร่ ) สุราษฎร์ธานี (5,116 ไร่ ) นราธิวาส (4,145 ไร่ ) และในจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งเมื่อรวมพื้นที่ปลูกมังคุดแล้วจะมีประมาณ 99,178 ไร่ มังคุดให้ผลผลิตตั้งแต่ 200 – 1,767 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังพัฒนาระบบการผลิตและสนับสนุนการส่งออกมังคุดในภาคใต้ จึงคาดว่าการปลูกมังคุดจะมีลู่ทางที่แจ่มใส และพื้นพื้นที่ปลูกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

มังคุด


[กลับสู่หน้า "ข้อมูลเกษตรกรรม"

[ทำนา]  [มะม่วงหิมพานต์]  [มะพร้าว]  [กาแฟ
[สวนยาง]  [ส้มจุก]  [เงาะ]  [หมาก]  [ปาล์มน้ำมัน]  [ตาลโตนด]  [มังคุด
[สะตอ]  [ทุเรียน]  [พืชไร่และผัก]  [ส้มโอ]  [พืชยืนต้น]  [ลองกอง]  [ไม้ผลเมืองร้อน