<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - สถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม


 
  การทำสวนยาง
 
        ยาง พารา(Hevea brasilienis) เป็นพืชเมืองร้อนที่ขึ้นได้ดีในภาคใต้ของไทย อาชีพการทำสวนยางเป็นการผลิตทางพืชที่สำคัญที่สุดของเกษตรกรในภาคใต้ เพราะยางพาราสามารถปลูกขึ้นได้ดีทั้ง 14 จังหวัดของภาคใต้ โดยในขณะนี้ในภาคใต้มีพื้นที่ปลูกยางทั้งสิ้นประมาณ 9.4 ล้านไร่ เป็นเนื้อที่ที่ยางให้ผลผลิตแล้ว 6.7 ล้านไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 195 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 1.3 ล้านตัน เมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้วเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกยางพื้นเมืองกันมากยางพันธุ์ดีมีน้อย

ยางพารา


ประวัติ

        ประวัตการทำสวนยางได้กลายเป็นอาชีพและเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคใต้มาเกือบร้อยปี โดยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง ) เจ้าเมืองตรังสมัยนั้นได้เป็นผู้นำเมล็ดยางจากประเทศมาเลเซียมาปลูกที่อำเภอกันตังเป็นต้นแรกในระหว่าง พ.ศ. 2442 –2444 จากนั้นก็ได้มีการนำพันธุ์ยางเข้ามาปลูกหรือขยายพันธุ์จากต้นยางเหล่านี้ไปปลูกกันในหลายจังหวัดภาคใต้ จนเรียกกันติดปากว่ายางพันธุ์พื้นเมือง ยางพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล จึงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hevea brasiliensis ดังกล่าวแล้ว ประชาชนในภาคใต้ได้ปลูกยางพันธ์พื้นเมืองกันมานาน เพราะเป็นยางที่มีความต้านทานต่อดินฟ้าอากาศ ทนต่อโรคใบร่วง โรคเส้นดำ และโรคอื่น ๆ

แต่ทว่ายางพันธุ์พื้นเมืองจะให้ผลผลิตต่ำคือให้ผลผลิตเพียง 60 กิโลกรัมต่อไร่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503 ที่ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางขึ้นทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ให้เงินสงเคราะห์แก่เกษตรกรในการโค่นยางเก่าแล้วปลูกแทนด้วยยางพันธ์ดีที่ให้ผลผผลิตสูงระหว่าง 250 – 350 กิโลกรัมต่อปี ยางพันธุ์ใหม่ที่ทางราชการแนะนำให้ปลูกสมัยนั้น ได้แก่ พันธุ์ยางจากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เช่น พันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM 600) ทีเจไออาร์ (TJIR 1) อาวรอส (AVROS 1659 , 1734) พันธุ์แอลซีบี (LCB 1320 ) พันธุ์จีที (GT 1) พันธุ์พีบี (PB 5/51) และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้พันธุ์ยางที่ทางราชการแนะนำและเป็นที่นิยมของเกษตรกร ได้แก่ พันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 , จีที 1 , อาร์อาร์ไอเอ็ม 623 , พีอาร์ (PR 107 , 261 ) พีบี 235 , 255 และหอหงส์ (KRS) เบอร์ต่าง ๆ

 

แหล่งปลูกยางในภาคใต้

        สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดี โดยให้เงินสงเคราะห์แก่ชาวสวนยางถึงไร่ละ 6,800 บาทเพื่อให้เกษตรกรล้มยางเก่าแล้วปลูกแทนปีละ 3 – 4 แสนไร่ เจ้าหน้าที่ของกองทุนฯ จะแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชแซมในสวนยางหรือจะเลี้ยงสัตว์ก็ได้ ในที่สุดก็จะแนะนำวิธีกรีดยางที่ถูกต้อง การทำยางแผ่นชั้นดี และการแปรรูปยางต่าง ๆ ขณะนี้ผลิตภัณฑ์ยางของไทยจะอยู่ในรูปยางแผ่นหรือยางแผ่นรมควันร้อยละ 80 ยางแท่งร้อยละ 14 ยางเครพ (crepe) ร้อยละ 4 และน้ำยางข้นร้อยละ 2 สำหรับยางแผ่นรมควันนั้นก็มียางแผ่นรมควันชั้น 1 – 2 ประมาณร้อยละ 7 ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ร้อยละ 78 และยางแผ่นรมควันชั้น 4 ร้อยละ 15 ทั้งนี้เพราะเกษตรกรยังไม่ค่อยระมัดระวังเรื่องความสะอาด ใช้น้ำกรดผิดประเภทมีทรายและสิ่งสกปรกในน้ำยาง ขาดน้ำที่จะทำความสะอาด เป็นต้น ในปีเพาะปลูก พ.ศ. 2533 – 2534 จังหวัดที่มีการปลูกยางมากที่สุด เรียงตามลำดับ ดังนี้

 

  • จังหวัดสงขลา 1.48 ล้านไร่
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี   1.28 ล้านไร่
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช   1.13 ล้านไร่
  • จังหวัดตรัง 1.12 ล้านไร่
  • จังหวัดนราธิวาส 0.94 ล้านไร่
  • จังหวัดยะลา 937,659 ไร่
  • กระบี่ 621,252 ไร่
  • พังงา 595,200ไร่
  • พัทลุง 413,534 ไร่
  • ปัตตานี 302,423 ไร่
  • สตูล 248,065 ไร่
  • ชุมพร 219,064 ไร่
  • ภูเก็ต 112,602 ไร่
  • ระนอง 59,517 ไร่
 

ตลาดการค้ายางในภาคใต้

        เมื่อปี พ.ศ. 2536 ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งและ เปิดตลาดกลางยางพาราขึ้นที่บริเวณศูนย์วิจัยยางสงขลา อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบและเป็นตลาดการค้าขายยางที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ นอกจากนี้ก็ยังมีโรงงานรมยางของกลุ่มเกษตรกรและของเอกชนโรงงานอุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน ( 22 โรง)

โรงงานยางแท่ง โรงงานแปรรูปเป็นน้ำยางข้น โรงงานทำผลิตภัณฑ์ยาง โรงงานผลิตแปรรูปไม้ยางพารา และมีบริษัทส่งออกยางพาราหลายบริษัท ที่ทำธุรกิจซื้อยางจากเกษตรกรส่งไปขายต่างประเทศ โดยใช้บริการของท่าเรือน้ำลึกสงขลา ภูเก็ต กันตัง สุราษฎร์ธานี ชุมพร อีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าอาชีพการทำสวนยาง เป็นอาชีพที่สำคัญของประชาชนในภาคใต้ และเป็นแหล่งรายได้สำหรับประเทศชาติโดยส่วนรวมอีกด้วย

 

อาชีพเสริม

        เมื่อปี พ.ศ. 2536 ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งและ เปิดตลาดกลางยางพาราขึ้นที่บริเวณศูนย์วิจัยยางสงขลา อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบและเป็นตลาดการค้าขายยางที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ นอกจากนี้ก็ยังมีโรงงานรมยางของกลุ่มเกษตรกรและของเอกชนโรงงานอุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน ( 22 โรง)

โดยเกษตรกรจะเลือกที่ตั้งกลุ่ม จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำยางแผ่นชั้นดี แล้วนำน้ำยางมาทำยางแผ่นที่นี่ ภายใต้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ศูนย์วิจัยยางหรือกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อได้ยางแผ่นคุณภาพคุณภาพดีแล้ว เกษตรกรก็จะนำยางไปขายที่กลุ่มขายยาง ซึ่งจะได้ราคาดีกว่าการขายให้แก่พ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้าในเมือง


[กลับสู่หน้า "ข้อมูลเกษตรกรรม"

[ทำนา]  [มะม่วงหิมพานต์]  [มะพร้าว]  [กาแฟ
[สวนยาง]  [ส้มจุก]  [เงาะ]  [หมาก]  [ปาล์มน้ำมัน]  [ตาลโตนด]  [มังคุด
[สะตอ]  [ทุเรียน]  [พืชไร่และผัก]  [ส้มโอ]  [พืชยืนต้น]  [ลองกอง]  [ไม้ผลเมืองร้อน