|
|
การทำนา
|
|
|
การ ทำนา เป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของประชาชนในภาคใต้ ด้วยเหตุที่ภาคใต้มีที่ราบตามบริเวณชายฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลองไม่น้อยกว่า 40 สาย จึงทำให้เกษตรกรในบริเวณนี้ทำเป็นอาชีพหลัก ในปีเพาะปลูก พ.ศ.2534 2535 ภาคใต้มีพื้นที่ทำนาทั้งสิ้น 3,096,546 ไร่ แยกเป็นข้าวนาปี (ในท้องถิ่นภาคใต้ทั่วไปเรียกว่า นาหยาม ) 3,010,640 ไร่ และข้าวนาปรัง ( ข้าวนอกฤดู ) อีก 85,906 ไร่ และเมื่อคิดเป็นผลผลิตข้าวทั้งหมดจะอยู่ระหว่าง 0.9 1.0 ล้านตันต่อปี โดยที่ข้าวนาปีจะให้ผลผลิตประมาณ 290 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวนาปรังให้ผลผลิต 413 กิโลกรัมต่อไร่ การทำนาในภาคใต้ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน
ถ้าหากมีเหลือกินเหลือใช้ก็จะจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ในภาพรวมการผลิตข้าวของภาคใต้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในภาคใต้ เพราะปริมาณที่ใช้บริโภคจะอยู่ระหว่าง 1.6 1.7 ล้านตันต่อปี จึงจำเป็นจะต้องสั่งข้าวเข้ามาจากภาคอื่น ๆ ทุกปี
ประเภทการทำนา
การ ทำนาหรือการปลูกข้าวในภาคใต้มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- การทำนาปี
- การทำนาปรัง (ข้าวนอกฤดู)
- การปลูกข้าวไร่
|
|
รูปแบบการทำนา
รูป แบบการทำนาจะมีจะมี 2 วิธีหลัก ๆ คือ
ข้าวนาหว่านคือ ข้าวที่ชาวนาใช้เมล็ดหว่านลงไปในนา หลังจากไถดะแปรแล้ว การไถดะ มักจะเริ่มในต้นฤดูฝน เช่น ในเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม โดยชาวนาจะไถตากดินไว้ 1 2 สัปดาห์ เพื่อทำลายวัชพืช โรคแมลง และไส้เดือนฝอย แล้วจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้เล็กลง กำจัดวัชพืชและศัตรูของข้าว เมื่อฝนตนหรือพบว่าดินมีความชื้นเพียงพอก็ทำการหว่านข้าวลงไป พันธุ์ข้าวที่ใช้ได้แก่ ข้าวนางพญา เผือกน้ำ พวงไร่ เหลือง 152 ข้าวดอกมะลิ และอื่น ๆ พันธุ์ข้าวเหล่านี้จะใช้เวลา 5.5 6.5 เดือนจึงจะเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตจากข้าวนาหว่านจะได้ไร่ละ 30 35 ถัง (300 350 กิโลกรัม) ส่วนการทำนาดำนั้น ชาวบ้านจะต้องตกกล้าไว้ก่อน โดยการเตรียมและทำเทือกไว้ในนาแปลงเล็ก เอาข้าวเปลือกแช่น้ำ 1 คืน และหุ้มคลุมไว้ 2 คืน แล้วจึงนำเมล็ดงอกไปหว่านลงในแปลงตกกล้า คอยควบคุมระดับน้ำเพื่อเลี้ยงข้าวไว้ประมาณ 30 วัน แล้วจึงถอนไปปักดำในนาแปลงใหญ่ที่ได้เตรียมดินทำเทือกไว้ก่อนแล้วเช่นกัน
เมื่อปักดำแล้วจะต้องรักษาระดับน้ำให้อยู่ประมาณ 1 ใน 4 ของความสูงของต้นข้าวหรือไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยและดูแลแปลงนาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ จนถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตของข้าวนาดำจะมากกว่าข้าวนาหว่าน คือได้ข้าวประมาณ 40 60 ถังต่อไร่
  เกษตรกรจะอาศัยน้ำฝนเป็นหลักและและจะใช้วิธีการทำนาหว่านเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นไปที่ลุ่มซึ่งเหมาะสมต่อการทำนาดำ โดยทั่ว ๆ ไปเกษตรกรจะไม่คอยดูแลแปลงนามากนัก พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์พื้นเมือง และมีพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์พื้นเมือง และมีพันธุ์ข้าวที่ทางราชการส่งเสริมบ้าง จังหวัดที่มีการทำนาปีจากมากไปหาน้อย ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ตรัง ชุมพร สตูล กระบี่ ยะลา ระนอง พังงา และภูเก็ต การทำนาอีกแบบหนึ่งคือการทำนาปรัง (นานอกฤดู) ซึ่งเป็นการทำนาครั้งที่สองหรือครั้งที่สาม โดยอาศัยน้ำจากชลประทานหรือแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก การทำนาแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกพืชแซมในสวนยาง สวนปาล์ม สวนผลไม้หรือบนเนินต่าง ๆ ผลผลิตของข้าวไร่จะได้ประมาณ 25 50 ถังต่อไร่
|
|
วัฒนธรรมการทำนา
การทำนาเป็นวัฒนธรรมเกษตรที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้ ซึ่งสืบทอดวิธีการดั้งเดิมไว้ให้เห็นมาถึงปัจจุบันวัฒนธรรมการใช้โค กระบือในการทำนาในภาคใต้นั้น ในภาคใต้ตอนบนคือ ในอำเภอเมืองบางท้องที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชตลอดจนอำเภอทางตอนเหนือของจังหวัด และจังหวัดในภาคใต้ตอนบนทั้งหมดใช้กระบือไถนาและเหยียบนา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยเฉพาะอำเภอไชยา อำเภอพุนพิน อำเภอท่าฉาง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแหล่งหนึ่งของภาคใต้ใช้ควายไถนากันเป็นพื้น ส่วนในเขตอำเภอปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ และจังหวัดภาคใต้ตอนล่างซึ่งจะใช้โคไถนา
เกษตรกรจึงนิยมใช้โค และกระบือเพื่อไถนากันทั่วไป การไถนาในจะเริ่มต้นในช่วงฤดูฝนโดยชาวนาจะทำพิธีแรกนาขวัญเสียก่อน ซึ่งอาจจะทำเป็นนาหว่านหรือนาดำก็ได้มีการ ลงแขก ( ออกปาก ) ให้คนมาช่วยไถนา หว่านข้าวดำนา และเก็บเกี่ยวด้วยก็ได้ ผู้ที่ออกปากให้คนมาลงแขกจะต้องเตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงคนอื่น ๆ ที่มาช่วยทำนา บางคนมีนาแต่ไม่มีคนทำ บางคนทำนาเป็นแต่จะไม่มีนาทำ จึงได้มีข้อตกลงที่เรียกว่า ทำนาหวะ เกิดขึ้นซึ่งหมายถึงวิธีที่ฝ่ายหนึ่งออกมา และวัสดุการปลูกต่าง ๆ อีกฝ่ายหนึ่งก็ออกแรงเพื่อทำการไถ่หว่าน เพาะปลูกและดูแลต่าง ๆ เมื่อข้าวสุกระยะเก็บเกี่ยวก็มีการแบ่งครึ่งนาออกเป็น 2 ส่วน สำหรับเจ้าของนาและคนทำนาต่างคนต่างก็เก็บเกี่ยว
|
|
วิธีการเก็บเกี่ยวข้าว
ข้าวของตนเอง ในอดีตจนถึงปัจจุบันหลายท้องที่ที่นิยมใช้แกะเพื่อเก็บข้าวทีละรวง แล้วมัดเป็นฟ่อนเรียกว่าเลียงข้าว โดยใช้ต้นข้าวเป็นเกลียวแทนเชือก การใช้แกะเก็บข้าวได้ปฏิบัติกันมาหลายชั่วอายุกัน แม้ว่าการเก็บเกี่ยวแบบนี้จะชักช้า ใช้แรงงานและเวลามาก แต่ชาวนาก็มีเหตุผลในการใช้แกะหลายประการ กล่าวคือชาวนาในภาคใต้ใช้พันธุ์ข้าวหลายพันธุ์ข้าวในนาสุกไม่พร้อมกันเพราะมีการทำทั้งนาดำและนาหว่านเนื้อที่แปลงนามีขนาดเล็ก มีคันนาแบ่งเนื้อที่ที่ออกเป็นแปลง ๆ บางครั้งน้ำในนายังแห้งไม่หมด เกษตรกรจึงต้องเลือกเก็บเกี่ยวข้าวเป็นส่วน ๆ ไป แม้แต่ในนาแปลงเดียวกันจะมีทั้งรวงข้าวที่สุกหมดแล้ว
ข้าวที่กำลังสุกและบางต้นยังแตกแขนงกำลังออกรวงมาใหม่ ดังนั้นชาวนาจึงต้องใช้แกะเพื่อเลือกเก็บเอาเฉพาะข้าวที่สุกก่อน พบว่านาแปลงจะมีการเก็บข้าว 2 3 ครั้งจึงจะหมด |