<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - ข้อมูลเกษตรกรรม


 
  มะพร้าว
 

       มะพร้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีปลูกมากในจังหวัดภาคกลาง ภาคใต้ และชายฝั่งตะวันออกแถบชนบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด มะพร้าวนอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ยังแปรรูปขายเพื่อเป็นวัตถุดินในการอุตสาหกรรมได้หลายชนิด


ลักษณะโดยทั่วไป

       มะพร้าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera สามารถปลูกได้ในแทบทุกภาคของประเทศไทย แต่โดยปกติแล้วมะพร้าวจะขึ้นได้ดีในแถบที่ฝนตกชุก อากาศอบอุ่น หรือค่อนข้างร้อนต้องการแสงมากในการเจริญเติบโต

       มะพร้าวขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะที่สุดคือ ดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศได้ดี สามารุอุ่นน้ำได้ดี สำหรับดินที่อยุ่ริมแม่น้ำหรือทะเลซึ่งมีน้ำขึ้นลงทำให้น้ำใต้ดินมีความเคลื่อนไหว ก็เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของมะพร้าวเช่นกัน ปริมาณน้ำฝนควรไม่น้อยกว่า 500 มิลลิเมตรต่อปี และควรตกสม่ำเสมอ

 

การทำสวนมะพร้าว

        มะพร้าว ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera เป็นพืชเศรษฐกิจดั้งเดิมของภาคใต้ เพราะภาคนี้มีมีฝนตกชุกมีพื้นที่ชายทะเลที่ยาวทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันจึงเหมาะต่อการเจริญเติบโตของมะพร้าวอย่างยิ่ง มะพร้าวปลูกมากที่สุดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (340,590 ไร่) รองลงไปได้แก่ ชุมพร (303,486 ไร่ ) นครศรีธรรมราช (175,199 ไร่ ) ปัตตานี (73,247 ไร่) นราธิวาส (67,538 ไร่) กระบี่ (56,802 ไร่) สงขลา (32,630 ไร่ ) ในจังหวัดอื่น ๆ เนื่องจากการทำสวนมะพร้าวเป็นอาชีพที่ทำง่ายจึงไม่มีการปรับปรุงวิธีการผลิตมากนัก ทางตรงกันข้ามมะพร้าวมีคู่แข่งที่สำคัญคือ ปาล์มน้ำมัน และพืชตระกูลถั่วอื่น ๆ ( ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ) ตลอดจนการพัฒนาของเมือง

และที่อยู่อาศัย จึงทำให้พื้นที่ที่ปลูกมะพร้าวลดลงจากปี พ.ศ. 2529 – 2530 ซึ่งมีถึง 1,390,261 ไร่ เหลือเพียง 1,177,851 ไร่ ในปี พ.ศ. 2533 – 2534 แต่ทว่าเกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตขึ้นได้ คือ เพิ่มจาก 651 ผลต่อไร่เป็น 743 ผลต่อไร่ ในช่วงปีดังกล่าว มะพร้าวในภาคใต้เกือบทั้งหมดเป็นพันธ์พื้นเมืองซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ปลูกหรือขึ้นเองโดยธรรมชาติขาดการบำรุงรักษาเป็นมะพร้าวที่มีอายุมาก จึงอยู่ในสภาพสวนที่เสื่อมโทรมเป็นส่วนใหญ่ ให้ผลผลิตมีมีปริมาณและคุณภาพต่ำ ในปัจจุบันทางราชการได้พยายามคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวโดยศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และนำมะพร้าวจากต่างประเทศมาศึกษาทดลอง พบว่ามะพร้าวพันธุ์มา เป็นมะพร้าวที่ดีพันธุ์หนึ่ง ที่ทางราชการกำลังส่งเสริมให้เกษตรปลูกมากขึ้น
        เนื่องจากมะพร้าวมีคู่แข่งจากพืชน้ำมันอื่น ๆ ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องพัฒนาวิธีการปลูก เช่น การเลือกใช้มะพร้าวพันธุ์ดี การดูแลรักษาสวน เช่น การปลูกพืชคลุมดิน การใส่ปุ๋ย การปราบวัชพืช และการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตจากสวนโบราณมาเป็นการผลิตแบบพัฒนาถาวร และยั่งยืน เช่น การปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว อันได้แก่ การทำสวนมะพร้าวคู่กับสวนลองกอง สวนมะพร้าวคู่กับโกโก้ มะพร้าวและกาแฟ มะพร้าวและสับปะรด มะพร้าวและพืชผักต่าง ๆ หรือจะเป็นการเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้ เช่น การเลี้ยงไก่ สุกร โค แพะ แกะ เพื่อเป็นการใช้เนื้อที่อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เกษตรกรและทำให้มีปุ๋ยไว้ใส่ในสวนมะพร้าวต่อไป ผลผลิตของมะพร้าวประมาณร้อยละ 35 ใช้สำหรับบริโภค

เช่น ทำขนม คั้นกะทิเพื่อต้มแกง เคี่ยวน้ำมันและอื่น ๆ ส่วนที่เหลือจะใช้ในรูปของอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ หนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคหรือผลิตภัณฑ์เพื่อแปรรูปสำหรับใช้รับประทาน เช่น อุตสาหกรรมทำมะพร้าวแห้ง อุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง อุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว และสองผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยมะพร้าว อุตสาหกรรมทำแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมถ่านจากกะลามะพร้าว อุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวชนิดอื่น ๆ และอุตสาหกรรมทำไม้แปรรูปจากต้นมะพร้าว เป็นต้น การปลูกมะพร้าวมีปัญหาอยู่บ้างเกี่ยวกับศัตรูคือ ด้วงเจาะยอดมะพร้าว แต่ก็เป็นปัญหาที่เกษตรกรสามารถแก้ไขได้ด้วยความช่วยเหลือของกรมส่งเสริมการเกษตร


[กลับสู่หน้า "ข้อมูลเกษตรกรรม"

[ทำนา]  [มะม่วงหิมพานต์]  [มะพร้าว]  [กาแฟ
[สวนยาง]  [ส้มจุก]  [เงาะ]  [หมาก]  [ปาล์มน้ำมัน]  [ตาลโตนด]  [มังคุด
[สะตอ]  [ทุเรียน]  [พืชไร่และผัก]  [ส้มโอ]  [พืชยืนต้น]  [ลองกอง]  [ไม้ผลเมืองร้อน