www.tungsong.com
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ
การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
สภาพปัญหาที่สำคัญและข้อจำกัดของอำเภอ
การเร่งรัดพัฒนาเศษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
การเร่งขจัดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
การเร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
การเร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540
การเร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540
ถ้ำตลอดงามตระการ อุทยานน้ำตกโยง โรงงานมากมี สถานีชุมทาง   ศูนย์กลางราชการ ทรงประทานพระคู่เมือง ลือเลื่องแม่กวนอิม
  การเร่งรัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, โครงการตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ
            อำเภอทุ่งสง มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 13 ป่า รวมเนื้อที่ 264,354 ไร่ สภาพพื้นที่ป่าสงวนใหญ่เป็นควนเขา ยังมีสภาพอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร หลายสาย ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการบุกรุกแผ้วถาง ลักลอบตัดไม้ เพื่อถือครองพื้นที่ป่า ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้พื้นที่ป่าลดลง ทางหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ สำนักงานป่าไม้อำเภอ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นศ. 1 (ทุ่งสง) พยายามจัดทำโครงการปลูกป่าทดแทน ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมา มีการปลูกป่าทดแทนตามโครงการต่างๆ ดังนี้
       1. โครงการปลูกต้นไม้ตามแนวพระราชเสาวนีย์ ดำเนินการในพื้นที่ 12 ตำบล 108 หมู่บ้าน โดยการสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้จากสำนักงานป่าไม้อำเภอทุ่งสง
       2. โครงการปลูกต้นไม้แสนกล้า 5 ธันวามหาราช โดยการปลูก 2 ข้างถนน และสถานที่สำคัญ จำนวน 2,000 ต้น
       3. โครงการปลูกต้นไม้ 9 นาที 9 ล้านต้น เพื่อล้นเกล้า จำนวน 3,009 ต้น
       4. ดูแลบำรุงรักษา พื้นที่ป่าที่ปลูกตามโครงการต่างๆ เช่น
          - โครงการตามนโยบาย 4 ป. จำนวน 3,000 ต้น
          - โครงการ "หลีกไกลสารเสพติด ร่วมจิตปลูกป่าบูชาในหลวง" จำนวน 800 ต้น
          - โครงการคืนต้นไม้ให้แผ่นดิน จำนวน 2,500 ต้น
          - ฯลฯ

     แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่จะดำเนินการต่อไป
       1. ป้องกันการบุกรุกทำลาย และรักษาสภาพป่าในพื้นทีเป้าหมายเร่งรัด ที่มีความสำคัญ อันดับแรก ในการป้องกันรักษาป่า เพื่อมิให้มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น
       2. ออกตรวจปราบปรามจับกุม และสกัดกั้นการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า แผ้วถางป่า ยึดถือครอบครอง อยู่อาศัย
       3. ตรวจสอบการดำเนินการค้าไม้ อุตสาหกรรมไม้ทุกประเภท โรงงาน แปรรูปไม้ และกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไม้ ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย โดยเคร่งครัด
       4. บำรุงรักษาแปลงปลูกป่า และดำเนินการปลูกซ่อม
       5. รณรงค์ปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย
     ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
       ปัญหาอุปสรรค
       1. งบประมาณไม่เพียงพอ
       2. ไม่ได้รับความร่วมมือจากราษฎรในพื้นที่
       3. ยานพาหนะไม่เพียงพอ
       4. ราษฎรบุกรุกที่ป่าสงวนตัดไม้ทำลายป่า
       แนวทางแก้ไข
       1. จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
       2. จัดยานพาหนะให้เพียงพอกับการปฏิบัติงาน
       3. จัดสรรพื้นที่ทำกินให้ราษฎรที่เดือดร้อนเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ ป่าสงวน ตัดไม้ทำลายป่า