www.tungsong.com
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ
การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
สภาพปัญหาที่สำคัญและข้อจำกัดของอำเภอ
การเร่งรัดพัฒนาเศษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
การเร่งขจัดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
การเร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
การเร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540
การเร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540
ถ้ำตลอดงามตระการ อุทยานน้ำตกโยง โรงงานมากมี สถานีชุมทาง   ศูนย์กลางราชการ ทรงประทานพระคู่เมือง ลือเลื่องแม่กวนอิม
  1.การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
     อำเภอทุ่งสงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล (12 อบต.) 108 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล
  มีพื้นที่ประมาณ 802.977 ตารางกิโลเมตร
  หรือประมาณ 501,860.02 ไร่
  มีประชากรทั้งสิ้น 14,559 คน
  เป็นชาย 74,266 คน
  เป็นหญิง 72,293 คน
  มีจำนวนครัวเรือน 37,246 ครัวเรือน

     ความเป็นมา
          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา สวนผลไม้ รับจ้างและทำนา จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานครัวเรือน (จปฐ) เมื่อปี พ.ศ.2542 ปรากฏว่า ประชากรมีรายได้ประมาณ 19,589 บาท ต่อคนต่อปี ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยกำลังประสบสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง โดย เฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์)ถือเป็น 1 ใน 8 นโยบายเน้นหนักในการพัฒนาจังหวัดฯ ซึ่งอำเภอทุกอำเภอได้ถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้
  ผลการดำเนินการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของอำเภอทุ่งสง ภายใต้กลยุทธ 7 ประการและแนวทางปฏิบัติ 9 มาตรการ สรุปได้ ดังนี้
          (1) การเกษตรผสมผสาน(ทฤษฏีใหม่) วนเกษตร เกษตรอย่างยั่งยืน เกษตรปลอดสารพิษ การพัฒนาแหล่งน้ำขนนาดเล็กที่ประชาชนมีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยีพึ่งตนเองที่เหมาะสมกับท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างพลังงานทดแทน
             -  ดำเนินการตามโครงการรวมน้ำ+ใจ ถวายในหลวง พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 7 ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2542 ได้รับงบประมาณจากสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นค่าขุดสระสำหรับเก็บกัดน้ำ และเลี้ยงปลา จำนวน 10 สระ เป็นเงิน 130,000 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ต่อมาปี 2543 ได้ขยายผลอีก 10 สระ ผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอีก 10 คน รวมเป็น 20 คน ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการเลี้ยงปลา และปลูกผัก หักค่าใช้จ่ายแล้ว ประมาณ 20,000 บาท/คน/ปี
             -  ดำเนินการโครงการเกษตรผสมผสาน ในความรับผิดชอบของสำนักงานเกษตรอำเภอ จำนวน 135 แห่ง
          (2) กลุ่มออมทรัพย์รูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งสร้างเครือข่ายทุกระดับเพื่อระดมทุนเป็นเงินทุนหมุนเวียน
              -  มีกลุ่มออมทรัพย์ 19 กลุ่ม สมาชิก 1,669 คน เงินสัจจะทั้งสิ้น 4,981,336 บาท และมีกลุ่มออมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างทดลองอีก 4 กลุ่ม สมาชิก 310 เงินสัจจะทั้งสิ้น 160,750
              -  โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ดำเนินการในพื้นที่ 24 หมู่บ้าน มีงบประมาณหมุนเวียน 6,720,000 บาท
             -  มีการรวมกลุ่มของประชาชนในรูปแบบสหกรณ์ จำนวน 22 สหกรณ์ สมาชิก 10,663 คน เงินทุน 378,502,000
          (3) กลุ่มอาชีพและการแปรรูปสินค้าเกษตร รวมทั้งสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน
             -  มีกลุ่มอาชีพจำนวน 29 กลุ่ม สมาชิก 393 คน มีเงินทุนหมุนเวียน ดำเนินการทั้งสิ้น 885,000 บาท
          (4) ลานค้าชุมชน ตลาดนัดชุมชน ร้านค้าริมทาง ลานค้าริมทาง การสร้างเครือข่ายร้านค้าชุมชนและการตลาดของสินค้าชุมชน
             -  มีตลาดนัดชุมชนซึ่งดำเนินการในพื้นที่ 7 ตำบล 8 หมู่บ้าน รวม 8 แห่ง
             -   มีร้านค้าขายของที่ระลึกริมทาง 1 แห่ง (ตำบลหนองหงส์)
             -  มีศูนย์สาธิตการตลาด 2 แห่งได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนเป็นเงินทุนหมุนเวียนจากกรมการปกครอง จำนวน 200,000 บาท 1 แห่ง คือ ศูนย์สาธิตการตลาด หมู่ที่ 6 ตำบลหนองหงส์
          (5)  การสร้างประชาคมทุกระดับ
             -  จัดตั้งประชาคมหมู่บ้าน 108 หมู่บ้าน ประชาคมตำบล 12 ตำบล ประชาคมอำเภอ 1 ประชาคม
          (6) การสร้างศูนย์ศึกษา และการพัฒนาด้านการเกษตร
             -  จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
          (7) การพัฒนาแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทย ให้ได้มาตรฐาน เพื่อทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
             -  สร้างสวนสมุนไพรจำนวน 19 แห่ง
           ผลการดำเนินงานเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน พึ่งตนเอง ในรอบปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจากผลการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ)ปรากฏว่าประชาชนอำเภอทุ่งสงมีรายได้ 22,941 บาท ต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2540 จำนวน 3,082 บาท
     แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่จะดำเนินการต่อไปปี 2544
          (1)  ขยายผลการดำเนินงานโครงการรวมน้ำ + ใจ ถวายในหลวงเพิ่มขึ้นอีก 10 ครัวเรือน รวมกับสมาชิกเดิมเป็น 30 ครัวเรือน
          (2)  ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รวมทั้งกิจกรรมเครือข่าย ให้มีความก้าวหน้ามั่นคง เข้มแข็ง และยั่งยืน
             -  ดำเนินการโครงการเกษตรผสมผสาน ในความรับผิดชอบของสำนักงานเกษตรอำเภอ จำนวน 135 แห่ง
          (3)  ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนากลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้มีความเข้มแข็งสามารถบริการจัดการกลุ่มได้โดยตัวเอง
          (4)  ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามาร่วมกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ ให้มากที่สุด
          (5)  ฝึดอบรมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน กขคจ. ด้านการบริหารจัดการเงินกองทุน 24 หมู่บ้าน
          (6)  จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเพิ่มอีก 1 ศูนย์
          (7) ดำเนินโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ
          (8)  ส่งเสริมและขยายผลโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก
          (9)  โครงการเกษตรยังชีพ
          (10)  โครงการประมงหมู่บ้าน
          (11)  โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก และอื่น ๆ ในครัวเรือน
     ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
          -  ปัญหาอุปสรรค์
             1)  ขาดงบประมาณสนับสนุน
             2)  ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม ที่รัฐให้การสนับสนุน
             3)  การตลาด
          -  แนวทางการแก้ไข
             1)  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการ (หน่วยงานส่วนภูมิภาค/อบต./อบจ.)
             2)   ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของโครงการที่รัฐให้การสนับสนุน
             3)   ดำเนินการโดยอาศัยกระบวนการประชาคม