www.tungsong.com
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ
การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
สภาพปัญหาที่สำคัญและข้อจำกัดของอำเภอ
การเร่งรัดพัฒนาเศษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
การเร่งขจัดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
การเร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
การเร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540
การเร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540
ถ้ำตลอดงามตระการ อุทยานน้ำตกโยง โรงงานมากมี สถานีชุมทาง   ศูนย์กลางราชการ ทรงประทานพระคู่เมือง ลือเลื่องแม่กวนอิม

  สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ

       1.1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอทุ่งสง
          สภาพทั่วไป

       ลักษณะที่ตั้ง
       อำเภอทุ่งสง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด นครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณ 60 กิโลเมตร มีเทศบาล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลปากแพรก มีทางหลวงแผ่นดิน 4 สาย ทางหลวงจังหวัด 1 สาย เป็นอำเภอ ที่มีการคมนาคมสะดวก ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง กระบี่ และเป็นชุมทางรถไฟ

       เนื้อที่
       อำเภอทุ่งสงมีพื้นที่ประมาณ 602,977 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 501,860.02 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 8.08 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด (จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,942.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,214,064 ไร่) โดยจำ แนกตามพื้นที่ เป็นรายตำบล ดังนี้

  ตารางแสดงพื้นที่รายตำบลของอำเภอทุ่งสง
  ที่ ตำบล พื้นที่ หมายเหตุ
  ตารางกิโลเมตร ไร่ ร้อยละ
  1 เทศบาล 7,170 4,481.25 0.89  
  2 ชะมาย 21,418 13,386.25 2.67  
  3 ถ้ำใหญ่ 77,963 48,726.88 9.70  
  4 นาหลวงเสน 86,370 53,981.25 10.76  
  5 หนองหงส์ 46,541 29,088.13 5.60  
  6 ควนกรด 40,942 25,588.75 6.10  
  7 นาโพธิ์ 70,000 43,750.00 8.72  
  8 นาไม้ไผ่ 51,395 32,121.25 4.40  
  9 เขาโร 69,670 43,543.75 8.68  
  10 ที่วัง 48,029 30,018.13 5.98  
  11 กะปาง 45,666 28,541.25 5.69  
  12 น้ำตก 140,520 87,825.00 17.50  
  13 เขาขาว 97,293 60,608.13 12.12  
  รวมทั้งสิ้น 602,977 501,860.02 60  

       อาณาเขตติดต่อ
     ทิศเหนือ    จด กิ่งอำเภอช้างกลาง, อำเภอนาบอน และอำเภอลานสกาจังหวัดนครศรีฯ
     ทิศใต้    จด อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
     ทิศตะวันออก    จด อำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
     ทิศตะวันตก    จด อำเภอบางขัน และอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

       ลักษณะภูมิประเทศ
            สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอทุ่งสง มีสภาพพื้นที่เป็น ลูกคลื่นลอนลาดซึ่งประกอบด้วยภูเขาเตี้ย และป่าไม้กระจายทั่วทั้งพื้นที่ โดยในพื้นที่บางส่วนจะมีที่ราบระหว่างเนิน จากลักษณะดังกล่าว จึงทำให้อำเภอทุ่งสงเป็นแหล่งกำเนิด ต้นน้ำตามธรรมชาติหลายสาย คือ

       1.คลองวังหีบ ไหลผ่านตำบลนาหลวงเสน ตำบลหนองหงส์ ตำบลชะมาย ตำบลควนกรด และตำบลนาไม้ไผ่
       2. คลองท่าโหลน ไหลผ่านตำบลนาหลวงเสน ตำบลปากแพรก ตำบลชะมาย ตำบลที่วัง
       3. คลองท่าเลา ไหลผ่านตำบลนาหลวงเสน ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลชะมาย ตำบลที่วัง และตำบลกะปาง
       4. คลองกะปาง ในเขตตำบลกะปาง
       ประชาชนในอำเภอทุ่งสง ได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำดังกล่าวในการอุปโภคและใช้ในการเกษตรกรรมอีกด้วย

       ลักษณะภูมิอากาศ
            ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอทุ่งสง สามารถแบ่งออกได้ 2 ฤดู คือ
       1. ฤดูร้อน
            เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม หลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายน และเดือน พฤษภาคม
       2. ฤดูฝน
            เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตก เฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ฝนตกทั่วไป ทำให้ในช่วงฤดูฝนยังมีช่วงความกดอากาศต่ำ ปกคลุมภาคใต้เป็นระยะๆ อีกด้วย ดังนั้น จึงทำให้ฝนตกมาก และเนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยอย่างเต็มที่ ทำให้ฝนตกมากในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ด้วยเหตุนี้ จึงทำ ให้อำเภอทุ่งสงไม่มีหน้าหนาว มีเพียงฤดูร้อน และฤดูฝนที่ยาวนานมาก
       พื้นที่
            พื้นที่ของอำเภอทุ่งสงเป็นที่สูงสลับที่ราบ มีการใช้พื้นที่ในการ เกษตร ได้แก่ การทำสวน ยางพารา การทำนา การปลูกผลไม้ และการทำการอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงานผลิตกระเบื้อง โรงงานผลิตปูนซิเมนต์ ฯลฯ

       เขตการปกครอง
            แบ่งเขตการปกครองตาม พรบ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็นตำบล หมู่บ้าน ดังนี้

  1. ตำบลชะมาย ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน
  2. ตำบลถ้ำใหญ่ ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน
  3. ตำบลที่วัง ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน
  4. ตำบลหนองหงส์ ประกอบด้วย 13 หมู่บ้าน
  5. ตำบลควนกรด ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน
  6. ตำบลนาไม้ไผ ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน
  7. ตำบลเขาโร ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน
  8. ตำบลกะปาง ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน
  9. ตำบลนาหลวงเสน ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน
  10. ตำบลนาโพธิ์ ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน
  11. ตำบลเขาขาว ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน
  12. ตำบลน้ำตก ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน
    รวม 12 ตำบล 108 หมู่บ้าน

       - มีเทศบาล จำนวน 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลปากแพรก
       - มีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 แห่ง คือ
           1. องค์การบริหารส่วนตำบล ชะมาย
           2. องค์การบริหารส่วนตำบล ถ้ำใหญ่
           3. องค์การบริหารส่วนตำบล ที่วัง
           4. องค์การบริหารส่วนตำบล หนองหงส์
           5. องค์การบริหารส่วนตำบล ควนกรด
           6. องค์การบริหารส่วนตำบล นาไม้ไผ่
           7. องค์การบริหารส่วนตำบล เขาโร
           8. องค์การบริหารส่วนตำบล กะปาง
           9. องค์การบริหารส่วนตำบล นาหลวงเสน
         10. องค์การบริหารส่วนตำบล นาโพธิ์
         11. องค์การบริหารส่วนตำบล เขาขาว
         12. องค์การบริหารส่วนตำบล น้ำตก

       ประชากร
            มีประชากรทั้งสิ้น 146,556 คน แยกเป็นชาย 74,266 คน หญิง 72,293 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 182.52 คน/ตารางกิโลเมตร

  ประชากรสามารถแยกเป็นรายตำบลได้ ดังนี้
  ที่ ตำบล ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน) ครัวเรือน
    1. ชะมาย   5,674   5,993   11,667   4,579
    2. หนองหงส์   6,603   6,310   12,913   2,105
    3. ควนกรด   4,630   4,728    9,358   2,001
    4. นาไม้ไผ่   3,985   4,069    8,054   1,678
    5. เขาโร   4,471   4,384    8,855   1,989
    6. กะปาง   9,512   6,327   15,839   4,647
    7. ที่วัง   5,889   5,881   11,770   3,427
    8. นาหลวงเสน   4,453   4,519    8,972   1,846
    9. ถ้ำใหญ่   5,838   5,748   11,586   3,203
  10. นาโพธิ์   2,835   2,896    5,731   1,101
  11. เขาขาว   6,071   6,060   12,131   2,672
  12. น้ำตก  1,282   1,255    2,537     613
  13. เทศบาลตำบลปากแพรก  13,023  14,123   27,146   7,385
    รวมทั้งอำเภอ 74,266 72,293 146,559 37,246
       (ข้อมูล สิ้นสุดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2543)

  1.2 สภาพทางเศรษฐกิจ
       การเกษตรกรรม
            อำเภอมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 420,385 ไร่ ครอบครัวเกษตร จำนวน 12,796 ครอบครัว

  สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญๆ แยกได้ดังนี้
  ที่ พืชเศรษฐกิจ พืชที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก./ไร่) จำนวนครัวเรือนที่ปลูก
  1. ยางพารา 350,043 300 7,678
  2. ข้าว  59,463 300 2,560
  3. ไม้ผลไม้ยืน  10,879 - 2,558

       การปศุสัตว์
  ข้อมูลจำนวนสัตว์
  สัตว์ที่เลี้ยง จำนวน (ตัว)
  โคเนื้อ 9,758
  โคพื้นเมือง 8,594
  โคนม 91
  กระบือ 73
  สุกร 7,608
  ไก่พื้นเมือง 61,204
  ไก่เนื้อ 60,788
  ไก่ไข่ 12,545
  เป็ดเนื้อ 316
  เป็ดเทศ 2,240
  เป็ดไข่ 1,863
  ห่าน 16
  นกกระทา 6,750

       การอุตสาหกรรม
            มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการจำนวน 39 แห่ง
  ตำบล จำนวนโรงงาน (แห่ง)
  กะปาง 2
  เขาขาว -
  ควนกรด -
  ชะมาย 17
  ถ้ำใหญ่ 5
  ที่วัง 2
  นาโพธิ์ 2
  นาหลวงเสน -
  น้ำตก -
  หนองหงส์ 8
       ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช

       การพาณิชย์
       - มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 13 แห่ง
       - มีธนาคาร จำนวน 11 แห่ง ได้แก่
       ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาตลาดเกษตรและสาขาทุ่งสง, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด, ธนาคารออมสิน, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด, ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด, ธนาคารสหธนาคาร จำกัด และธนาคารทหารไทย จำกัด
       - มีสหกรณ์ จำนวน 27 แห่ง

       การบริการและการท่องเที่ยว
       การบริการ
       - มีโรงแรม จำนวน 15 แห่ง
       - มีสถานบริการและเริงรมย์ จำนวน 12 แห่ง
       การท่องเที่ยว
       มีสถานที่ท่องเที่ยว ที่สำคัญ ได้แก่
       1. วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง หมู่ที่ 7 ต. ถ้ำใหญ่
       2. วนอุทยานน้ำตกปลิว หมู่ที่ 3 ต. ถ้ำใหญ่
       3. วนอุทยานน้ำตกหนานปลิว ต. นาหลวงเสน
       4. สวนสาธารณถ้ำตลอด หมู่ที่ 4 ต. น้ำตก
       5. สำนักสงฆ์ถ้ำตลอด หมู่ที่ 4 ต. กะปาง

  1.3 สภาพทางสังคม
       การศึกษา
  ข้อมูลด้านการศึกษา
  สถานศึกษาสังกัด จำนวน (โรงเรียน) จำนวนห้องเรียน จำนวนครู จำนวนนักเรียน
  สปช. 52 567 750 13,245
  สศ.  8 255 514 8,872
  สช. 11 188 244 6,988
    ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการอำเภอทุ่งสง

    ระบบการศึกษานอกโรงเรียน
       - กลุ่มสนใจ 1 กลุ่ม
       - วิชาชีพระยะสั้น 25 กลุ่ม
       - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 37 แห่ง
       - ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง
    การศึกษาอื่นๆ
       - โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม - แห่ง
       - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด 4 แห่ง
       - หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 12 แห่ง
         การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
         การศาสนา
         ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 144,899 คน ศาสนาอื่นๆ ประมาณ 2,707 คน
         มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา
    วัด, ที่พักสงฆ์ จำนวน 56 แห่ง
    มัสยิด จำนวน 1 แห่ง
    ศาลเจ้า จำนวน - แห่ง
    โบสคริสต์ จำนวน 2 แห่ง

       ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
    1. ประเพณีชักพระ
    2. ประเพณีทำบุญวันสาทเดือนสิบ
    3. ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
    4. ประเพณีสงกรานต์
    5. ประเพณีแห่น้ำสงพระบรมธาตุเจดีย์

       การสาธารณสุข
    1. มีการบริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
         - โรงพยาบาล ขนาด 120 เตียง จำนวน 1 แห่ง
         - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
         - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 22 แห่ง
         - สำนักงานส่วนมาเลเรีย จำนวน 1 แห่ง
         - สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน 16 แห่ง
         - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 16 แห่ง
    2. จำนวนบุคคลากรด้านสาธารณสุข
         - แพทย์ จำนวน    14 คน
         - ทันตแพทย์ จำนวน     3 คน
         - เภสัชกร จำนวน     3 คน
         - พยาบาล จำนวน   105 คน
         - เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน    78 คน
         - เจ้าหน้าที่อื่นๆ จำนวน   167 คน
         - อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 1,415 คน
    3. อัตรการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 60
    4. หอกระจายข่าว จำนวน 78 แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ 84.24

       ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
    1. สถานีตำรวจภูธรอำเภอทุ่งสง
    2. สถานีตำรวจภูธรตำบลกะปาง

  สถิติข้อมูลคดีอาญา ตั้งแต่ปี 2540 - 2542
  ปี พ.ศ. 2540 2541 2542
  ประเทคดี เกิด (คดี) จับ (ราย) ผู้ต้องหา (คน) เกิด (คดี) จับ (ราย) ผู้ต้องหา (คน) เกิด (คดี) จับ (ราย) ผู้ต้องหา (คน)
  คดียาเสพติด 309 309 333 348 348 360 338   361
  คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ 50 30 - 26 115 - 20 14 -
  คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย 97 62 - 106 62 -      
  คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ 152 92 - 163 83 - 105 54  
  คดีที่น่าสนใจ 60 24 - 92 20 - 60 23  
  คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย 617 137 - 626 1,126 - 305 623  

 
1.4 ระบบพื้นฐาน
 
     การคมนาคม
 
     การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
 
     1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (สายเอเซีย ตอนสุราษฎร์ธานี - อำเภอร่อนพิบูลย์) เป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมการติดต่อระหว่างอำเภอทุ่งสง และจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง เช่น อำเภอนาบอน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
     2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 (เขตเทศบาลตำบลปากแพรก - อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง) เริ่มจากเขตเทศบาลตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง ผ่านตำบลชะมาย ตำบลที่วัง ตำบลกะปาง ไปอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
 
     3. ทางหลวงจังหวัด หมายเลข4211 เชื่อมการคมนาคม ระหว่างอำเภอนาบอน ผ่านตำบลหนองหงส์ และมาเชื่อมติดต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ในหมู่ที่ 7 บ้านนาไม้ดัด ตำบลหนองหงส์อำเภอทุ่งสง อำเภอทุ่งสง
 
     4. ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4110 เชื่อมการคมนาคม ระหว่างอำเภทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กับอำเภอทุ่งสง โดยผ่านในพื้นที่ของตำบลเขาขาว ตำบลนาโพธิ์ ตำบลควนกรด มาบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ในหมู่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านหนองหว้า ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง
 
     5. ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4116 เป็นเส้นทางคมนาคมที่แยกจากทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4110 ในหมู่ที่ 5 บ้านโคกบก ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง ผ่านในพื้นที่ตำบลควนกรด ตำบลนาไม้ไผ่ ตำบลเขาโร ไปยังอำเภอบางขัน
 
     6. ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4151 เป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมระหว่างทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4116 กับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 403 ในหมู่ที่ 3 บ้านโคกบก ตำบลควนกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
     ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก ที่ใช้ในการติดต่อกับจังหวัด อำเภอ และตำบล ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีทางหลวงส่วนท้องถิ่นและถนนโครงการข่ายต่างๆ แยกจากทางหลวงดังกล่าว เข้าสู่แต่ละตำบล ของอำเภอทุ่งสงได้โดยสะดวก

 
     การโทรคมนาคม
    - มีที่ทำการไปรษณีย์ 1 แห่ง
    - สถานีวิทยุกระจายเสียง 3 แห่ง

 
     การติดต่อสื่อสาร
    - จำนวนหมายเลขโทรศัพท์ในพื้นที่ 5,888 หมายเลข
    - จำนวนครัวเรือนที่ใช้ 5,481 หมายเลข
    - ความต้องการใช้โทรศัพท์ 786 หมายเลข

 
     การสาธารณูปโภค
 
   1. ไฟฟ้า
    - จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 28,222 ครัวเรือน
    - จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 8,426 ครัวเรือน
 
   2. ประปา
    - ปริมาณการผลิตน้ำประปา(การประปาส่วนภูมิภาค) 8,000 ลบ.ม./วัน
    - จำนวนผู้ที่ใช้น้ำที่ผลิต 8,447 ครัวเรือน
    - ความต้องการใช้น้ำทั้งอำเภอ 6,500 ลบ.ม./วัน

  1.5 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
     1. แหล่งน้ำธรรมชาติ
       อำเภอมีแหล่งน้ำธรรมชาติทีสำคัญ ได้แก่ คลองวังหีบ, คลองท่าโหลน, คลองท่าเลา, คลองกะปาง
       2. ทรัพยากรป่าไม้
       อำเภอมีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ, ป่าควนออกบ้านน้ำตก, ป่าไสเกาะธง, ป่าน้ำตกโยง, ป่าหนองคล้า, ป่าหนองหว้า, ป่าคลองเคียน, ป่าคอลงปากแพรก, ป่าอ่าวกราย, ป่าช่องกะโสม - วังญวน - ควนประ, ป่าปลายคลองวังหีบ, ป่าห้วยเหรียง, ป่าเขาขาว, ป่าหนองหงส์ - ควนกรด

  1.6 ศักยภาพและโอกาสของอำเภอ
       อำเภอทุ่งสง หากมองในภาพรวม พอที่จะสรุป ศักยภาพและปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนา อำเภอในอนาคตได้ดังนี้
       1. อำเภอทุ่งสง เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม ทั้งทางรถไฟ และรถยนต์ เป็นเส้นทางผ่านไปสู่จังหวัดทางภาคใต้ตอนล่าง และเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของอำเภอทุ่งสง และจังหวัดใกล้เคียง มีเส้นทางคมนาคม เชื่อมติดต่อได้ทุกจังหวัด และ อำเภอ ทำให้มีความสะดวกในการสัญจรไปมา ติดต่อค้าขายกังต่างจังหวัด อำเภอ ได้ดี
       2. อำเภอทุ่งสง ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะยางพารา และสวนผลไม้ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมการเกษตรในอนาคต
       3. อำเภอทุ่งสง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ สลับภูเขาสูง เป็นแหล่งต้นน้ำลำคลองหลายสาย มีป่าไม้ค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นการเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรม
       4. อำเภอทุ่งสงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่สำคัญหลายแห่ง ประชาชน อำเภอ และจังหวัดใกล้เคียง เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อนครั้ง หากมีการพัฒนาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ ของจังหวัดและประเทศในอนาคต ส่งผลให้ประชาชนในท้องที่ มีการประกอบอาชีพเสริมมีรายได้เพิ่มขึ้น
       5. อำเภอทุ่งสง มีสถานศึกษาทุกระดับ ประชาชน ส่วนใหญ่มีความรู้ และตื่นตัวในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การประกอบอาชีพ และอื่นๆ ทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นไปด้วยดี