![]() ![]() ![]() |
![]() |
[ ภาคหนึ่ง ] [ ภาคสอง ] [ ภาคสาม ] [ ภาคสี่ ] [ ภาคห้า ] [ ภาคหก ] [ ภาคเจ็ด ] [ ภาคแปด ] [ ภาคเก้า ] [ ภาคสิบ ] |
ภาคเก้า ผู้ดี ย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง. |
![]() ![]() ![]() |
หมายความว่า ความสุจริตซื่อตรงนี้เป็นเกราะกันได้เป็นอย่างดี บุคคลควรเอาหลักธรรมข้อนี้เป็นหลักใจของตนดำรงตนอยู่ในความสุจริตซื่อตรงเสมอ ![]() หมายความว่า การแสดงความสุจริตซื่อตรงให้ปรากฏโดยการกระทำทางกาย 1. ผู้ดีย่อมไม่ละลาบละล้วง เข้าห้องเรือนแขกก่อนเจ้าของบ้านเขาเชิญ หมายความว่า เมื่อไปถึงบ้านใดบ้านหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าบ้านเขา ต้องบอกให้เขารู้ และได้รบอนุญาตจากเขาก่อน โดยที่เขาออกมาเชื้อเชิญ ถ้าเขายังไม่เชิญไม่ควรเข้าเป็นเด็ดขาด ถ้าขืนทำ ความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ เพราะเหตุนี้เมื่อจะเข้าบ้านใคร จึงควรรอให้เจ้าของบ้านเชิญเสียก่อน อย่างนี้จึงเป็นการควร |
2. ผู้ดีย่อมไม่แลลอดสอดส่ายโดยเพ่งเล็งเข้าไปตามห้องเรือนแขก หมายความว่า เมื่ออยู่ในบ้านเรือนของใคร ไม่สอดส่ายสายตาเที่ยวดูโน่นดูนี่เป็นทำนองตื่นเต้นหรือเป็นทำนองดูหมิ่น หรือเป็นทำนองดูว่ามีอะไรอยู่ที่ใหน ในลักษณะผู้สอดส่ายอยากรู้อยากเห็น ดังนี้ไม่เป็นการควร ต้องระมัดระวังตาหู สำรวมอยู่เป็นปรกติ ไม่ตื่น ไม่สอดส่าย จึงเป็นการควร |
3. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวฉวยโน่นหยิบนี่ของผู้อื่นดูจนเหลือเกินราวกับว่าจะค้นหาสิ่งใด หมายความว่า เมื่ออยู่ในบ้านเรือนผู้ใด ไม่เที่ยวซอกแซกค้นสิ่งของต่าง ๆ ให้กระจุยกระจายไปตามต้องการ ซึ่งอาจทำให้เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย เพราะทำทีเสมือนหนึ่งมีของต้องห้ามอยู่ในบ้านนั้นหรือจะซ่อนเร้นอะไรไว้ในบ้านนั้น เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังตนจะหยิบจะดูสิ่งใดก็ให้อยู่ในลักษณะที่สุภาพเรียบร้อยควรแก่กาลเทศะ |
4. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูจดหมายของผู้อื่นที่เจ้าของไม่สมประสงค์จะให้ดู หมายความว่า ไม่ควรเปิดดูจดหมายของผู้อื่น ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่เขามอบให้เป็นหน้าที่ขยายความกว้างออกไปเรื่องส่วนตัวของคนอื่นไม่ว่าเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ควรสอดรู้เลยเป็นอันขาดเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของเขา |
5. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวขอหรือดูสมุดพก หรือสมุดจดรายงานบัญชีของผู้อื่น ซึ่งตนไม่มีธุระเกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ หมายความว่า สมุดพกนั้นตามปรกติเขาจดเรื่องต่าง ๆ เป็นส่วนตัว หรือเป็นส่วนที่เจ้าของจะต้องกำหนดจดจำไว้เป็นพิเศษ หรือสมุดจดรายการบัญชีสิ่งต่าง ๆ ทั้งรับทั้งจ่ายอันเป็นส่วนตัวของเขาไม่ควรขอเขาดู หรือไม่ควรไปเที่ยวหยิบดูเฉย ๆ ต้องยับยั้งชั่งใจอย่าเพลอไปทำเข้า จะเป็นการเสียมรรยาทอย่างยิ่ง |
6. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวนั่งที่โต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น หมายความว่า โต๊ะเขียนหนังสือนั้นก็เข้าลักษณะเฉพาะตัวเหมือนกัน เพราะเจ้าของโต๊ะอาจทำหรือเก็บงำสิ่งใดไว้เพื่อประโยชน์ของตนโดยเฉพาะ หรือมีเรื่องเกี่ยกับตนโดยเฉพาะจึงไม่ควรเที่ยวนั่ง ณ ที่นั้น |
7. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวเปิดดูหนังสือตามโต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น หมายความว่า หนังสือซึ่งวางอยู่บนโต๊ะของเขานั้น ภายในหนังสือนั้น อาจมีอะไรซึ่งเจ้าของเขาต้องการสอดไว้เฉพาะตัว หรือมีเรื่องเฉพาะตัวอยู่ในนั้นจึงไม่ควรเที่ยวเปิดดู การทำเช่นนั้นเมื่อไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ดีไป ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นแล้ว ก็อาจถูกระแวงสงสัย เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นการควรเลยที่จะทำ |
8. ผู้ดีย่อมไม่แทรกเข้าหมู่ผู้อื่น ซึ่งเขาไม่ได้เชื้อเชิญ หมายความว่า ตามปรกติบุคคลเราย่อมมีความคุ้นเคยกันเป็นหมู่เป็นพวก และมักจะเป็นไปในบุคคลผู้มีอัธยาศัยใจคอตรงกัน เสมอใจกันกลายเป็นหลายหมู่หลายพวกขึ้น แต่ไม่ใช่เป็นลักษณะแตกหมู่แตกพวก เมื่อคนทั้งหลายกำลังรวมกลุ่มอยู่เช่นนั้นเราไม่ควรเข้าแทรกแซงเลยเป็นอันขาด เว้นไว้แต่เขาเชื้อเชิญ แม้เขาเชื้อเชิญก็ต้องใคร่ควรญโดยชอบด้วยเหตุผล จะควรเพียงใด พึงระวังรักษากิริยาให้สุภาพเรียบร้อย ตามควรแก่กาลเทศะ |
9. ผู้ดีย่อมไม่ลอบแอบฟังคนพูด หมายความว่า ในขณะที่เขากำลังพูดกันอยู่ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในที่ใด ๆ ในห้องก็ดี ในที่แจ้งก็ดี ไม่ควรแอบฟังความที่เขาพูดกัน รวมความว่า เรื่องของคนอื่นแล้วไม่สมควรสอดรู้สอดเห็นเลย |
10. ผู้ดีย่อมไม่แอบดูการลับ หมายความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นความลับ หรือเป็นส่วนตัวเฉพาะของเขา เราไม่ควรดูเรื่องเช่นนั้นเลยเป็นเด็ดขาด |
11. ถ้าเห็นเขาจะพูดความลับกัน ผู้ดีย่อมต้องหลบตาหรือลี้ตัว หมายความว่า อันความลับของใคร ๆ นั้นไม่ควรแสดงอาการสอดแทรกอยากรู้อยากเห็น เกี่ยวกับความลับของผู้อื่น การปลีกตัวเพื่อเปิดโอกาสให้เขาพูดความลับกันได้โดยไม่ต้องระแวงใครย่อมเป็นมรรยาทอันดีอย่างหนึ่ง การเที่ยวสอดรู้สอดเห็นนั้น ถ้าหากความลับนั้นไปเปิดเผยขึ้น เขาก็โทษเราเหมือนระแวงสงสัยว่าเราจะเป็นผู้เปิดเผย ถ้าหากเป็นความลับที่ถึงคอขาดบาดตาย เมื่อเขารู้ว่าเรารู้ เขาก็อาจฆ่าเราก่อน เพื่อปิดความลับของเขาก็ได้ |
12. ถ้าจะเข้าห้องเรือนผู้ใด ผู้ดีย่อมต้องเคาะประตูรหรือกล่าววาจาให้เขารู้ตัวก่อน หมายความว่า เมื่อจะเข้าในที่ใด ต้องแสดงตัวให้เขารู้ก่อน เมื่อจะเข้าห้องใดต้องกระแอมไอหรือเคาะประตู หรือให้สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งให้คนภายในรู้ก่อน ไม่ควรพรวดพราดเข้าไป ซึ่งเป็นการเสียมรรยาท |
![]() |
![]() หมายความว่า การแสดงความสุจริตซื่อตรงให้ปรากฏทางวาจา 1. ผู้ดีย่อมไม่สอดแทรกไต่ถามธุระส่วนตัวหรือการในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ตน หมายความว่า อันธุระส่วนตัวของเขาหรือการในบ้านของเขา เราไม่ควรซอกแซกถาม ตามปรกติเราถามกันแต่เพียงถึงทุกข์ถึงสุขของกันและกันเท่านั้น เว้นไว้แต่เรามีหน้าที่ เช่น เป็นผู้ใหญ่หรือเป็นเพื่อนสนิทของเขา เพื่อรู้ความเป็นไปของเขา หากมีโอกาสจะช่วยเหลือได้อย่างใดบ้าง หรือเพื่อคลายความห่วงใยในเขา แม้เช่นนั้น ก็ต้องระมัดระวังให้เป็นการเฉพาะจริง ๆ และให้รู้ใจกันจิรง ๆ เท่านั้น นอกนั้นไม่ควรเลย |
2. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวถามเขาว่านั่นเขียนหนังสืออะไร หมายความว่า เมื่อเห็นเขากำลังเขียนหนังสืออยู่ ซึ่งมิใช่หนังสือเปิดเผยในกระดานดำ เป็นหนังสือทำนองจดหมายก็ไม่ควรถามเขา |
3. ผู้ดีย่อมไม่ถามถึงผลประโยชน์ที่เขาหาได้เมื่อตนไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หมายความว่า ไม่ควรถามรายได้ของเขา เช่น ไม่ถามถึงเงินเดือน เป็นต้น นอกจากเป็นผู้มีหน้าที่ต้องการช่วยเหลือ หรือเป็นผู้ที่สนิทสนมคุ้ยเคยกันก็ควรถามได้ แต่ต้องให้เป็นการเฉพาะ |
4. ผู้ดีย่อมไม่เอาการในบ้านของผู้ใดมาแสดงในที่แจ้ง หมายความว่า เรื่องภายในครอบครัวของเขา ซึ่งเรารู้มา แม้ถึงจำเป็นอย่างไร เช่น เขาทำให้เราโกรธ เราก็ไม่ควรนำเอาเรื่องเช่นนั้นของเขามาพูดในที่แจ้ง คือที่ชุมนุมชนโดยที่สุดแม้เรื่องภายในครอบครัวของเราเองก็เช่นกัน ไม่ควรนำมาเปิดเผยในที่แจ้งเป็นอันขาด |
5. ผู้ดีย่อมไม่เก็บเอาความลับของผู้หนึ่ง มาเที่ยวพูดกับผู้อื่น หมายความว่า สิ่งที่เรียกว่าความลับนั้นได้แก่สิ่งที่เขารู้เฉพาะในวงของเขาหรือเฉพาะตัวเขา ความลับแบ่งออกได้เป็นอย่าง ๆ คือ ความลับเฉพาะตัว รู้ได้คนเดียว บุคคลที่ 2 รู้ไม่ได้ ความลับเฉพาะสองคน บุคคลที่สามรู้ไม่ได้ ความลับในครอบครัว คนนอกครอบครัวรู้ไม่ได้ ความลับของหมู่คณะ บุคคลนอกหมู่คณะรู้ไม่ได้ ความลับของประเทศชาติบุคคลต่างประเทศต่างชาติรู้ไม่ได้ เมื่อเรารู้ความลับของใคร ๆ เราก็ไม่ควรพูด ควรถือคำโบราณว่า รู้แล้วพูดไปสองไพเบี้ยรู้แล้วนิ่งเสียตำลึงทอง ดังนี้ |
6. ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงความชั่วร้าย อันเป็นความลับเฉพาะบุคคลในที่แจ้ง หมายความว่า อันธรรมดาบุคคลเรานั้น ย่อมมีทั้งดีทั้งชั่วปะปนกันอยู่ในบุคคลเดียกันก็มีทั้งสองอย่าง เราดูบุคคลเราก็ควรดูทั้งสองอย่าง แต่สิ่งที่เราควรถือเอาก็คือความดีของเขา เราไม่ควรจำเอาความชั่วของเขาไว้ หากเราจะจำได้บ้างเราก็ไม่ควรพูดในที่ใด ๆ แก่ใคร ๆ เลย ถ้าขืนพูดไปก็คือแสดงถึงจิตใจอันชั่วร้ายของเราเอง ดังนั้นจึงไม่ควรพูด |
7. ผู้ดีย่อมไม่พูดสับปลับกลับกลอกตลบตะแลง หมายความว่า เมื่อพูดคำใดแล้วต้องยืนคำนั้น แม้ว่าคำนั้นจะให้โทษแก่เรา เราก็ต้องยอม การพูดกลับไปกลับมา ย่อมไม่ได้รับความนับถือจากใคร ๆ เลย ดังนั้นจึงไม่ควรพูด |
8. ผู้ดีย่อมไม่ใช้คำสบถติดปาก หมายความว่า ในขณะที่พูดนั้นเขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามเถอด ขอแต่ให้พูดให้เขาเข้าใจก็แล้กัน ในเวลาเช่นนั้นไม่ควรใช้คำสบถอย่างใดอย่างหนึ่งเลย โดยที่สุดแม้พูดว่า ถ้าไม่เชื่อให้ไปถามคนนั้นคนนี้ก็ไม่ควร ต้องพยายามระมัดระวังให้มากที่สุด หรือแม้ที่สุด เมื่อถามอะไรใคร เขาตอบแล้วฟังเข้าใจแล้วก็ควรพอใจแล้ว ไม่ควรไปย้ำคำเขาอีกว่าจริงหรือแน่หรืออีก เพราะคำเช่นนั้น เป็นการแสดงว่าไม่เชื่อเขา ถ้าหากไม่เชื่อก็ควรอยู่แต่ในใจของเรา |
9. ผู้ดีย่อมไม่ใช้คำมุสา หมายความว่า ไม่ควรพูดคำเท็จเลยถ้าจำเป็นต้องพูดก็พึงนิ่งเสียหรือหลีกเลี่ยงเสีย พูดคำใดคำนั้นเป็นคำจริง คือ พูดตามเห็นตามรู้ ความจริงพูดเท็จนี้ยากกว่าพูดจริง เพราะต้องคิดสร้างเรื่องเอาใหม่ทั้งหมด ส่วนคำจริงนั้นพูดง่าย คือเห็นอย่างไรรู้อย่างไรก็พูดไปอย่างนั้น ดังนั้นจึงควรพูดแต่คำจริง เพราะคำจริงเป็นคำที่ไม่ตาย |
![]() |
![]() หมายความว่า การแสดงความสุจริตซื่อตรงให้ปรากฏด้วยความคิด 1. ผู้ดีย่อมไม่เป็นคนต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง หมายความว่า ต่อหน้าอย่างไร ลับหลังต้องอย่างนั้น ไม่ควรทำอย่างคนโบราณว่าต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโกหรือหน้าไว้หลังหลอก ต้องทำตรงไปตรงมาทั้งต่อหน้าและลับหลัง จึงสมควรแท้ |
2. ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความไว้วางใจของผู้อื่น หมายความว่า เมื่อได้รับความไว้วางใจแล้ว ควรรักษาความไว้วางใจนั้นไว้ให้เขาไว้ใจได้อย่างแท้จริงมิใช่ว่าเขาไว้ใจแล้วก็เที่ยวเปิดเผยเรื่องอันปกปิดดังนี้ใช้ไม่ได้ ต้องรักษาความไว้วางใจที่เขาได้ให้แก่ตนจึงจะสมชื่อ |
3. ผู้ดีย่อมไม่แสดงหาประโยชน์ในทางผิดธรรม หมายความว่า เรื่องประโยชน์นี้ใคร ๆ ก็ต้องการ แต่การแสวงหาประโยชน์ต้องแสดงหาโดยความเป็นธรรม ถ้าแสวงหาผิดธรรมแล้ว ประโยชน์ที่ได้เพราะความผิดธรรมนั้น ย่อมจะเผาตน ทำตนให้เดือดร้อน เพราะมีปรโยชน์เช่นนั้น เช่น คนร่ำรวยเพราะโกงเขาฉ้อเขา ในที่สุดจะต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรทำเลย |
4. ผู้ดีย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเที่ยงตรงหมายความว่า ความเที่ยงตรงนี้ ย่อมบันดาลให้คนเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะอย่างไร ถ้ามีความเที่ยงตรงแล้วย่อมได้รับความเคารพนับถือทั่วไป ควรพยายามวางตนอยู่ในลักษณะนี้ อธิบายคำว่าเที่ยงตรง คือความยุติธรรมถือหลักธรรมเป็นใหญ่ เช่น เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นในระหว่างคน 2 คน เราจะเป็นผู้ตัดสินก็ต้องตัดสินโดยปราศจากอคติ 4 ประการ ได้แก่ ความลำเอียงเพราะรัก เพราะโกรธ เพราะกลัว และเพราะหลง ผู้มีใจเป็นกลางไม่เข้ากับคนผิดจึงได้ชื่อว่าเป็นคนเที่ยงตรง |
5. หมายความว่า |
![]() |
![]() |
ภาคแปด ผู้ดี ย่อมไม่เห็นแต่แก่ตัวถ่ายเดียว | กลับหน้าแรก | ภาคสิบ ผู้ดี ย่อมไม่ประพฤติชั่ว | ![]() |