![]() ![]() ![]() |
![]() |
[ ภาคหนึ่ง ] [ ภาคสอง ] [ ภาคสาม ] [ ภาคสี่ ] [ ภาคห้า ] [ ภาคหก ] [ ภาคเจ็ด ] [ ภาคแปด ] [ ภาคเก้า ] [ ภาคสิบ ] |
ภาคหก ผู้ดี ย่อมปฏิบัติการงานดี. |
![]() ![]() ![]() |
หมายความว่า การปฏิบัติการงานดี คือ ทำการงานทุกอย่างอันเป็นหน้าที่ของตนไม่บกพร่อง ไม่คั่งค้าง ทำเสร็จเรียบร้อยด้วยดีตามส่วนของงานอันเป็นหน้าที่นั้น |
![]() หมายความว่า การปฏิบัติการงาน ซึ่งต้องใช้กายเป็นสำคัญ 1. ผู้ดีย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน หมายความว่า ในการกระทำต่าง ๆ ผู้ดีย่อมรักษาระเบียบแบบแผนถือเอาหหลักของเหตุเป็นสำคัญ ไม่ทำตามอำเภอใจโดยไม่มีหลักอันจะเป็นช่องทางให้เกิดความผิดหรือถูกตำหนิได้ |
2. ผู้ดีย่อมไม่ถ่วงเวลาให้ผู้อื่นคอย หมายความว่า ในการนัดหมายเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องทำตนให้เป็นคนตรงต่อเวลา ถ้าทำตนให้เป็นคนผิดเวลาแล้ว ย่อมจะทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนรำคาญด้วย และอาจเสียงานนั้น ๆ ได้ในบางกรณี พลาดเวลาเพียงนาทีเดียว ก็อาจต้องเสียงานหรือต้องเสียเวลาไปหลายวันก็ได้ ดังนั้นจึงควรเป็นคนตรงเวลาเสมอ |
3. ผู้ดีย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย หมายความว่า การตอบจดหมายนั้นเป็นมรรยาทอันดีงาม เพราะถ้าเป็นธุระก็ควรตอบไปให้เสร็จจะได้ไม่ลืม ถ้าเป็นจดหมายเยี่ยมเยือนแสดงมิตรภาพก็ควรรีบตอบแสดงน้ำใจอันดีไปเพื่อให้เขาเห็นว่าเรามิได้ละเลยที่จะรักษามิตรภาพนั้น |
4. ผู้ดีย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า หมายความว่า การงานอันใดที่เป็นของหมู่คณะ ผู้รับทำงานต้องทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปตามที่ได้รับมอบหมาย และการทำงานนั้นต้องไม่ทำแต่เฉพาะต่อหน้าคนเท่านั้น ต้องทำทั้งต่อหน้าและลับหลังหรือการอย่างอื่น เช่น ไปช่วยงานเขา เมื่อมีความรู้ความสามารถจะทำงานอย่างใดได้ ก็ต้องทำงานนั้นทีเดียว เจ้าของจะเห็นหรือไม่ก็ตาม ควรทำจนสุดกำลังความสามารถของเราจึงเป็นการชอบแท้ |
![]() |
![]() หมายความว่า การปฏิบัติการงานด้วยคำพูดเป็นสำคัญ 1. ผู้ดีพูดสิ่งใด ย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ หมายความว่า เมื่อจะพูดคำใดคำนั้นต้องเป็นคำที่ออกจากหัวใจจริง คือ พูดตามที่ได้เห็นได้ฟังได้ทำหรือได้รู้สึก มิใช่เสแสร้งแกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง พูดอย่างใด ต้องเป็นอย่างนั้น เช่นนี้คำพูดนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือได้ |
2. ผู้ดีย่อมไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่าควรจะเป็นได้หรือไม่ หมายความว่า เมื่อจะรับคำเพื่อทำการใดการหนึ่งหรือจะสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเมื่อจะปฏิญาณอย่างใดอย่างหนึ่งกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งใดแห่งหนึ่ง ต้องใคร่ครวญให้แน่แก่ใจก่อนจึงรับคำหรือจึงปฏิญาณ มิใช่ทำแต่สักว่าทำ พูดโพล่ง ๆ ไปโดยมิได้คำนึงให้แน่ชัดว่าจะทำได้หรือไม่ เมื่อรับคำแล้วแม้ว่าจะต้องเสียอย่างใดก็ต้องยอมเสีย ต้องถือหลักว่าเสียชีพอย่าเสียสัตย์ |
![]() |
![]() หมายความว่า ตั้งใจมั่นในการปฏิบัติงานทุกอย่างซึ่งเป็นหน้าที่ของตน ปักใจลงในการงานนั้น เห็นว่าการงานดีทั้งหลายรู้ได้เมื่อทำเสร็จ มิใช่รู้ได้เมื่อกำลังทำหรือก่อนทำปักใจลงในการงานอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติทางใจด้วยดี 1. ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความสัตย์ในเวลา หมายความว่า ความสัตย์ คือความตรง หรือความจริง หรือซื่อตรง ความซื่อตรงนี้เป็นชีวิตจิตใจอันแท้จริงหาไม่ได้ง่ายนัก โบราณท่านว่าร้อยคนยังหาคนกล้าได้คนหนึ่ง พันคนยังหาคนมีความรู้ได้คนหนึ่ง แต่หมื่นคนแสนคนจะหาคนซื่อตรงได้สักคนหนึ่งยังไม่ได้ซื่อตรงต่อตัว คือไม่ทำชั่ว ซื่อตรงต่อคนอื่น คือไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร ๆ ซื่อตรงต่อเวลาคือตรงเวลาในระยะแรก ระยะกลาง คือเวลาทำงาน ระยะสุดท้าย คือเวลาเลิก ชื่อว่าเป็นคนมีความสัตย์ในเวลา |
2. ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้มีเกียจคร้าน หมายความว่า เมื่อลงมือประกอบการงานแล้วไม่ยอมให้การงานนั้น ๆ คั่งค้างต้องทำให้สำเร็จจนสุดความสามารถ |
3. ผู้ดีย่อมไม่เข้าใจว่า ผู้ดีจะทำอะไรด้วยตนไม่ได้ หมายความว่า การประกอบการงานทุกอย่าง ตามปรกติเราต้องอาศัยกันและกัน การงานจึงสำเร็จไปได้ด้วยดี แต่การงานนั้น ๆ จะมัวแต่พึ่งคนอื่นอยู่ร่ำไปนั้นไม่สมควรตัวเองต้องทำได้เองด้วย การงานจึงสำเร็จไปได้ด้วยดี แต่การงานนั้น ๆ จะมัวแต่ |
4. ผู้ดีย่อมไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย หมายความว่า ตามปรกติคนเรานั้นวันหนึ่ง ๆ จะทำอะไรไปอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องแบ่งเป็นเวลากิน เวลานอน เวลาพัก เวลาเล่น เวลาทำงาน ตามควร เวลาเหล่านี้จำต้องแบ่งให้ถูกส่วน อย่าให้เสียส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ถึงเวลาทำงานก็ต้องทำงาน ถึงเวลาพักเล่นก็ต้องพักเล่น แต่จะเล่นเพลิดเพลินจนลืมตัวเสียการงานก็ไม่เป็นการสมควร |
5. ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความเป็นระเบียบ หมายความว่า ระเบียบแบบแผนข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันใด ที่ได้ตั้งไว้บัญญัติไว้ หรือเคยประพฤติกันมาเป็นธรรมเนียมแล้ว ต้องเป็นผู้รักษาระเบียบนั้นไว้ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนของคนทั้งหลายย่อมคุ้มกันไว้ด้วยระเบียบ ไม่มีระเบียบย่อมระส่ำระสายทันที และไม่ว่าจะทำการงานใด หากได้จัดระเบียบให้ดีแล้วก็จะสะดวกและรวดเร็วเป็นอันมาก ควรจำไว้ว่า ความเป็นระเบียบย่อมงามตาสบายใจให้ความสะดวกตรงข้ามกับความสับสนย่อมรกตารำคาญใจและให้ความขัดข้อง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยไว้ |
6. ผู้ดีย่อมเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชา เมื่ออยู่ในหน้าที่ หมายความว่า ในกลุ่มคนที่ร่วมงานกันมีหน้าที่อยู่สองอย่าง คือหน้าที่บังคับอย่างหนึ่ง หน้าที่ทำตามอย่างหนึ่ง เราต้องรู้รัวเราว่า เรามีหน้าที่เช่นไร เมื่อรู้แล้วต้องทำตามหน้าที่นั้น เช่น มีหน้าที่บังคับก็ต้องบังคับ มีหน้าที่ทำตามก็ต้องทำตาม เรามีหน้าที่อย่างใดต้องรักษาหน้าที่นั้นให้บริบูรณ์ไม่บกพร่อง จึงสมควร |
7. ผู้ดีย่อมมีมานะในการงาน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก หมายความว่า ตามปรกติการงานที่เราทำต้องมีอุปสรรคความขัดข้อง ทั้งนั้น การงานเล็กมีอุปสรรคเล็ก การงานใหญ่มีอุปสรรคใหญ่ การงานดีมีความขัดข้องมากตามส่วนของการงานนั้น ๆ ในการทำงานถ้าปล่อยให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำแล้ว ย่อมมีความย่อท้อเกิดขึ้น ระงับความย่อท้อไม่ได้การงานก็ไม่สำเร็จ ถ้าไม่มีความย่อท้อการงานก็สำเร็จได้ด้วยดี เพื่อความสำเร็จของงานต้องตัดความย่อท้อเสีย ต้องไม่คิดถึงความลำบากยากเย็น ต้องถือหลักโบราณว่า ต้องอดเปรี้ยวกินหวาน เมื่อได้ทำการงานสำเร็จแล้วก็จะมีความสบายภายหลัง |
8. ผู้ดีย่อมเป็นผู้ทำอะไรทำจริง หมายความว่า ว่าเมื่อได้ลงมือทำอะไรแล้ว ต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เช่น เรียนหนังสือ ก็ต้องเรียนให้ถึงที่สุดของวิชาตามชั้นนั้น ๆ ต้องไม่หยุดเสียกลางคัน เป็นต้น เมื่อเป็นกิจการใหญ่ ๆ ต้องทำเรื่อยไปจนสำเร็จ |
9. ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้ดึงดันในที่ผิด หมายความว่า ตามปรกติการทำ คำพูด ความคิดของคนเราย่อมมีได้ทั้งผิดทั้งถูก เราเองก็มีทั้งผิดทั้งถูก เพราเราเองเมื่อสำคัญผิดก็เห็นผิดได้ เมื่อเห็นผิดได้ก็ทำผิดได้ พูดผิดได้ คิดผิดได้ แต่เมื่อรู้ว่าผิดแล้วเลิกเสียก็ใช้ได้ แต่ถ้ารู้ว่าผิดแล้ว ยังขืนดึงดันก็เสียหาย เพราะฉะนั้นเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อรู้ว่าผิดแล้วก็อย่าดึงดันรหรือขืนทำลงไปจึงจะเป็นผลดี |
10. ผู้ดีย่อมปราถนาความดี ต่อการงานที่ทำอยู่เสมอ หมายความว่า เมื่อทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งต้องหวังความเจริญในการงานนั้น ต้องคอยหมั่นตรวจตราพินิจพิจารณาให้รอบคอบอย่าทำสักแต่ว่าให้พ้นไปวันหนึ่ง ๆ หรือคราวหนึ่ง ๆ และต้องหมั่นดูว่าการนั้น ๆ เป็นไปตามความหวังของตนหรือไม่เมื่อเห็นว่าไม่เป็นไปตามความหวัง ต้องหาทางแก้ไข เมื่อแก้ไขไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลง หรือหาบุคคลที่สามารถทำให้เป็นไปตามความหวัง ไม่กักงานนั้นไว้เสียคนเดียวแล้วตนไม่สามารถทำได้ การงานนั้นก็เสียไป อย่างนี้จึงจะชอบ |
![]() |
![]() |
ภาคห้า ผู้ดี ย่อมเป็นผู้มีสง่า | กลับหน้าแรก | ภาคเจ็ด ผู้ดี ย่อมเป็นผู้ใจดี | ![]() |