![]() ![]() ![]() |
![]() |
[ ภาคหนึ่ง ] [ ภาคสอง ] [ ภาคสาม ] [ ภาคสี่ ] [ ภาคห้า ] [ ภาคหก ] [ ภาคเจ็ด ] [ ภาคแปด ] [ ภาคเก้า ] [ ภาคสิบ ] |
ภาคห้า ผู้ดี ย่อมเป็นผู้มีสง่า. |
![]() ![]() ![]() |
ข้อนี้หมายความว่า ผู้ดีต้องรู้จักภาวะของตัว จะเดินเหินนั่งลุก ก็ควรมีท่าทางให้สง่าผ่าเผย เช่น ไม่นั่งหลังงอ หรือทำซอมซ่ออย่างนี้ไม่ควรแท้ แต่ก็ต้องระมัดระวังอย่าให้กลายเป็นข่มเพื่อนหรือแสดงความยิ่งใหญ่ของตนเองเกินไป |
![]() หมายความว่า การแสดงกิริยาท่าทางให้สง่าผ่าเผยสมภูมิสมฐาน 1. ผู้ดีย่อมมีกิริยาอันผึ่งผายองอาจ หมายความว่า ต้องยืน เดิน นั่งนอนให้เหมาะสม เช่นต้องยืนตัวตรง เดินตัวตรง นั่งตัวตรง ไม่ยืนชิดผู้ใหญ่จนเกินไป ไม่เดินเร็วหรือช้าเกินไป ไม่นั่งหลังขดหลังงอ ทั้งนี้เป็นการช่วยให้ส่วนของร่างกายทุกส่วนทำงานได้ตามสภาพของมันด้วย แต่ต้องระวังมิให้เกิดท่าทางที่จะกลายเป็นหยิ่งหรือจองหอง จึงควรให้สุภาพเรียบร้อยเท่าที่ควร |
2. ผู้ดีจะยืนนั่ง ย่อมอยู่ในระดับอันสมควรไม่เป็นผู้แอบหลังคนหรือหลีกเข้ามุม หมายความว่า เมื่อจะยืนจะนั่งในชุมนุมชน ในหมู่ในพวก ต้องยืนนั่งตามลำดับอันสมควรแก่ตน คือควรอยู่หน้าต้องอยู่หน้า ควรอยู่หลังต้องอยู่หลัง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไปอยู่ข้างหลัง เท่ากับเป็นการกีดกันที่ยืนที่นั่งของผู้น้อย ในเวลาเข้าแถวปรกติต้องไปตามลำดับผู้ใหญ่ผู้น้อย แต่ถ้าในแถวคอยต้องไปตามลำดับก่อนหลังอย่างนี้จึงสมควร |
3. ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้านงกเงิ่นหยุด ๆ ยั้ง ๆ หมายความว่า ในชุมนุมชนต้องมีความองอาจ ความแกล้วกล้า จะมีคนมากก็ตาม คนน้อยก็ตาม ต้องทำประหนึ่งว่าเหมือนไม่มีคนแสดงอาการทุกอย่างให้เป็นปรกติ การที่จะให้มีความกล้าหาญได้นั้นต้องเป็นผู้สนใจในวิชาความรู้ ต้องเป็นผู้สนใจในขนบธรรมเนียมประเพณีต้องเป็นผู้สนใจในระเบียบแบบแผน และต้องหมั่นเข้าร่วมชุมนุมในที่ซึ่งตนจะเข้าร่วมได้ตามกาลเทศะ มิฉะนั้นแล้ว ก็อดจะสะทกสะท้านบ้างไม่ได้ ไม่มาก็น้อย เมื่อมีอาการอย่างนั้น จำต้องข่มใจหรือนึกถึงความรู้ ความสามารถของตัวที่มีอยู่แล้วนำออกใช้ในเวลาเช่นนั้น ก็อาจทำให้หายสะทก สะท้าน แสดงกิริยาอาการได้เป็นปรกติ |
![]() |
![]() หมายความว่า การใช้วาจาให้เหมาะสมเป็นสง่า 1. ผู้ดีย่อมพูดจาฉะฉานชัดถ้อยความ ไม่อุบอิบอ้อมแอ้ม หมายความว่า ต้องพูดให้เสียงดังพอควรแก่ผู้ฟัง พูดชัดเจนให้ได้เรื่อง ไม่อุบอิบอ้อมแอ้มให้ผู้ฟังต้องฉงนสนเทห์หรือซักถาม |
![]() |
![]() หมายความว่า การแสดงน้ำใจอันงามให้ปรากฏ 1. ผู้ดีย่อมมีความรู้จักงามรู้จักดี หมายความว่า ต้องฝึกตาให้รู้จักดู ต้องฝึกหูให้รู้จักฟัง ต้องฝึกจมูกให้รู้จักดม ต้องฝึกลิ้นให้รู้จักลิ้ม ต้องฝึกกายให้รู้จักจับต้อง ต้องฝึกใจให้รู้จักงามอย่างไรดีอย่างไร แล้วฝังจิตใจในความดีความงามนั้นให้แน่นแฟ้น เมื่อได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ก็สามารถเปรียบเทียบให้รู้ได้เลือกเอาแต่สิ่งที่ดีที่งาม นี้จึงสมควร |
2. ผู้ดีย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวางเข้าใหนก็ได้ หมายความว่า ต้องรู้จักเข้าสังคม คบกับบุคคลได้ทุกชนิดโดยการสังเกตและรอบรู้ เช่น รู้ว่าบุคคลนั้น ๆ มีฐานะอย่างไร ตนมีฐานะอย่างไร รู้จักกล่าวขณะใดควรพูดเป็นเรื่องราว หรือพูดเล่นเพื่อสนุกไม่ถือตัวและแสดงความเมตตากรุณา รู้จักอดทนและให้อภัย และรู้จักรับผิดเมื่อผิดพลาด |
3. ผู้ดีย่อมมีอัชฌาสัยเป็นนักเลง ใครจะพูดหรือเล่นอันใดก็เข้าใจและต่อติด หมายความว่า ต้องวางใจเป็นนักกีฬา คือรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักผิด รู้จักถูก รู้จักยกโทษให้ผู้อื่น มองคนทั้งหลายแต่ในทางที่ดีที่ชอบ มีความอดทน ฟังคนอื่นให้เข้าใจ และรู้จักพูดเล่นต่อติดกับเขาได้ไม่นิ่งเฉยเสีย |
4. ผู้ดีย่อมมีความเข้าใจไหวพริบ รู้เท่าถึงการณ์ หมายความว่า ต้องเป็นพหูสูตร คือเรียนรู้ดี ผู้ที่เรียนรู้ดีนั้นประกอบด้วยลักษณะดังนี้ 1. จำได้ 2. คล่องปาก 3. ขึ้นใจ 4. เข้าใจ คนที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่ารู้ดี คนที่มีความรู้ดีนั้นเมื่อได้พบได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมรู้เท่าถึงการณ์นั้น นี้กล่าวเฉพาะในส่วนที่เรียนรู้เอาได้ ส่วนไหวพริบอันแท้จริงนั้น เกิดจากธรรมชาติเดิม คือปัญญาเดิมตั้งแต่เกิด มีมาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น ปัญญาใหม่ คือวิชาความรู้ที่เล่าเรียน นั้นใครเรียนอย่างใด ก็รู้อย่างนั้น เรียนดีรู้ดี ความรู้ดีย่อมทำให้รู้เท่าถึงการณ์ได้ |
5. ผู้ดีย่อมมีใจองอาจกล้าหาญ หมายความว่า ต้องมีใจแกล้วกล้าอดทน ไม่ย่อท้อในภัยอันตรายอันจะมีมาซึ่งหน้า เช่น เป็นนักรบก็จะไม่กลัวตาย หาญสู้ศัตรูเพื่อประเทศชาติของตน เป็นคนธรรมดาก็ไม่ย่อท้อในกิจการทุกอย่างอันเป็นหน้าที่ของตน เพื่อรักษาเกียรติประวัติที่ดีไว้ เช่น เป็นนักเรียน เป็นครู เป็นแพทย์ ก็ต้องอดทนกล้าหาญที่จะทำกิจของตน ๆ ไม่ทำใจฝ่อหรือขลาดกลัวโดยไม่สมควร |
![]() |
![]() |
ภาคสี่ ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก | กลับหน้าแรก | ภาคหก ผู้ดี ย่อมปฏิบัติการงานดี | ![]() |