![]() ![]() ![]() |
![]() |
[ ภาคหนึ่ง ] [ ภาคสอง ] [ ภาคสาม ] [ ภาคสี่ ] [ ภาคห้า ] [ ภาคหก ] [ ภาคเจ็ด ] [ ภาคแปด ] [ ภาคเก้า ] [ ภาคสิบ ] |
ภาคสี่ ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก. |
![]() ![]() ![]() |
ข้อนี้หมายความว่า การแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน หรือพูดจาปราศรัย หรือการแสดงน้ำใจ ต้องแสดงในทางที่ส่อให้เห็นว่าน่ารักน่าเคารพน่านับถือบูชา จึงเป็นการสมควร |
![]() คือการแสดงออกทางกาย เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน ที่น่ารักใคร่ น่าพอใจ 1. ผู้ดีย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งอยู่กับพื้น และไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขายืนเดินกัน หมายความว่า เมื่อรวมอยู่ในหมู่คนหรือในชุมนุมชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร เมื่อคนทั้งหลายนั่งอยู่บนพื้นราบ เราเข้าไปยังที่นั้น ต้องนั่งเช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไปต้องเดินเข่าหรือคลานไป ไม่ควรเดินเทิ่ง ๆ ผ่านไป เมื่อคนทั้งหลายนั่งอยู่บนเก้าอี้เราเข้าไปยังที่นั้น ต้องนั่งเก้าอี้เช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไปต้องเดินก้มหลังผ่านไป เมื่อคนทั้งหลายยืนอยู่เราเข้าไป ณ ที่นั้นต้องยืนเช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไป ต้องเดินหลีกไป ถ้าเข้าในที่ปูชนียสถาน เช่น ในโบสถ์ พึงกราบพระด้วยเบญจางคประดิษฐ์อย่างนี้จึงสมควร |
2. ผู้ดีย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น หมายความว่า เมื่อไปหาท่านผู้ใดด้วยธุระอย่างใด เมื่อเสร็จธุระแล้วต้องรีบลากลับ ไม่ควรนั่งอยู่นานเกินไป นอกจากผู้ที่คุ้นเคยใกล้ชิดสนิทสนมกัน |
3. ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์ หมายความว่า เมื่อไปในการศพ ไม่ควรแสดงกิริยารื่นเริงหรือตลกคะนองสรวลเสเฮฮา พึงแสดงอาการสงบ ปลงธรรมสังเวชตามควร |
4. ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยาโศกเคร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง หมายความว่า เมื่อไปในงานรื่นเริง เช่น งานแต่งงาน หรืองานฉลองอื่น ๆ ไม่พึงแสดงอาการโศกเศร้าหงอยเหงาเจ่าจุกให้ปรากฏ แต่ควรแสดงอาการรื่นเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส โดยควรแก่ภาวะของตนจึงเป็นการสมควร |
5. ผู้ดีเมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง หมายความว่า เมื่อไปในงานรื่นเริง เช่น งานวันเกิดหรือในงานปีใหม่ หรืองานฉลองอย่างใด ต้องสนุกสนานในที่ควรสนุกสนานตามสมควร |
6. ผู้ดีเมื่อเป็นเพื่อนเที่ยวย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมลำบากร่วมสนุก หมายความว่า เมื่อไปเที่ยวในที่ใด ถ้าไปกันหลายคนก็พึงมีความกลมเกลียวกันลำบากก็ลำบากด้วยกัน สนุกก็สนุกด้วยกัน ต่างคนต่างช่วยกันทำกิจที่ควรทำตามความสามารถของตน แสดงความร่วมสุขร่วมทุกข์กันตลอดไป ดังนี้การเที่ยวเตร่จึงจะสนุกสนานตามควร |
7. ผู้ดีเมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับแขกและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของบ้านหรือเจ้าถิ่น ต้องต้อนรับแขกผู้มาถึงบ้านหรือถิ่นของตนด้วยความยินดี ไม่ว่าแขกนั้นจะเป็นอย่างไร การต้อนรับนี้แยกทำออกได้เป็น 2 วิธี วิธีที่ 1 ต้อนรับด้วยเครื่องต้อนรับต่าง ๆ เช่น น้ำร้อน น้ำร้อน หรือด้วยข้าวปลาอาหาร หรือด้วยสิ่งอื่น ตามความสามารถของเจ้าถิ่น วิธีที่ 2 ต้อนรับด้วยน้ำใสใจจริง แขกมีภาวะอย่างไร ก็รับรองให้เหมาะแก่ภาวะของแขกและด้วยน้ำใจอันงามของเจ้าถิ่น ดังนี้จึงเป็นการสมควร |
8. ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยามึนตึงต่อแขก หมายความว่า เมื่อแขกมาถึงบ้านตน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเช่นไร ตั้งต้นแต่พระสงฆ์องค์เจ้า โดยที่สุดแม้คนขอทน มาถึงบ้านตนแล้ว ต้องต้อนรับด้วยอาการอันยิ้มแย้มแจ่มใส ต้องถือหลักว่า แขกผู้มาถึงเรือนตนนั้นเป็นผู้นำมงคลมาให้ จึงควรต้อนรับมงคลนั้น ดังนี้จึงเป็นการสมควร |
9. ผู้ดีย่อมไม่ให้แขกคอยนานเมื่อเขามาหาหมายความว่า เมื่อแขกมาหา ต้องรีบให้ได้พบโดยเร็ว ตื่นอยู่ก็ดี หลับอยู่ก็ดีหรือกำลังทำกิจอยู่ก็ดี ควรให้โอกาสแกแขกได้ทุกเวลา และพยายามให้ได้พบโดยเร็วที่สุด ไม่ควรให้แขกต้องคอยอยู่นาน และไม่ควรแสดงให้แขกทราบว่า มีกิจธุระอันจำต้องทำเป็นอันขาด |
10. ผู้ดีย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกนั่งอยู่ หมายความว่า ขณะที่แขกกำลังนั่งอยู่ในบ้าน ไม่ควรจ้องดูนาฬิกา เพราะการทำเช่นนั้น เท่ากับเป็นการไล่แขกให้กลับโดยทางอ้อม จึงไม่ควรทำหากมีธุระจำเป็น เช่น นัดไว้กับผู้อื่น ก็ควรแจ้งให้แขกทราบ และขอโทษแขก ถึงอย่างไรก็ตาม แขกก็คงไม่ปรารถนาจะให้เราต้องเสียเวลาเช่นนั้น ต้องแสดงให้ปรากฏเสมอว่า ยินดีต้อนรับตลอดเวลา และควรขอบคุณแขกผู้มาเยี่ยมเยียนตนด้วย |
11. ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใด ในเวลาเมื่ออยู่เฉพาะหน้าผู้หนึ่ง หมายความว่า ขณะกำลังสนทนาปราศรัยอยู่กับผู้ใด หรืออยู่ในกลุ่มใดไม่ควรทำบุ้ยใบ้ หรือกระซิบกระซาบกับใคร เป็นการเฉพาะตัว ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งหรือคนหนึ่งที่ร่วมอยู่นั้นไม่รู้ เพราะทำการเช่นนี้อาจทำให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องนั้นมีความระแวงสงสัยไปต่าง ๆ นานาได้ หากมีความจำเป็นจะต้องทำเช่นนั้น ก็ควรงดไว้จนกว่าจะได้โอกาสจึงทำ เพื่อมิให้เกิดความระแวงสงสัยในใจกันและกัน |
12. ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาอันโกรธเคืองหรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก หมายความว่า ในขณะที่อยู่ต่อหน้าแขกหรืออยู่รวมกับคนต่างถิ่น หรืออยู่ในที่ชุมนุมชน ไม่ควรแสดงกิริยาอาการอันโกรธเคืองผู้ใดผู้หนึ่ง หรือดุด่าว่ากล่าวคนรับใช้ของตนต่อหน้าคนทั้งหลายเหล่านั้น โดยเฉพาะต่อหน้าแขกที่มาถึงบ้านตนแล้ว ไม่ควรจะทำโกรธเคืองหรือดุดันคนรับใช้ของตนเลย |
13. ผู้ดีย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน หมายความว่า เมื่อพบปะบุคคลใด ๆ ก็ตาม ไม่ควรจ้องดูบุคคลผู้นั้นจนผิดปรกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ถูกจ้องดูนั้นเห็นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ได้ แม้จำเป็นต้องดู ก็ดูเพียงเพื่อกำหนดหมายจำหน้าจำตากันไว้เท่านั้น |
14. ผู้ดีย่อมต้องรับส่งแขกเมื่อไปมา ในระยะอันสมควร หมายความว่า เมื่อแขกมาถึงบ้านเรือนตนต้องต้อนรับด้วยความยินดี เมื่อแขกกลับต้องส่งแขกในระยะทางพอควร แสดงให้เห็นความยินดีต้อนรับขับสู้ของเจ้าถิ่น ทั้งนี้เป็นการผูกใจกันได้เป็นอย่างดี |
![]() |
![]() คือกล่าวถ้อยคำอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่นับถือ 1. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขาตั้งแต่งไว้ในบ้านที่ตนไปสู่ หมายความว่า เมื่อไปถึงบ้านใด ได้เห็นสิ่งใดซึ่งตั้งแต่งไว้ในที่นั้น ไม่ควรเที่ยวตำหนิติเตียนให้เป็นที่กระเทือนใจเจ้าของบ้าน ถ้าเห็นทำไว้ไม่เหมาะไม่ควร ก็น่าจะหาทางช่วยเหลือโดยปรึกษาหารือหรือถามเหตุผลดูก่อน ควรแก้ก็ช่วยแก้ ควรเปลี่ยนแปลงก็ควรเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ขยายความกว้างออกไปในเวลาไปช่วยงานเขาหรือไปในงานเขา เมื่อเห็นอะไรที่เขาทำไว้ขัดหูขัดตา หรือไม่เหมาะไม่ถูกก็ต้องหาทางช่วยจัดช่วยทำ ช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่นั่งตำหนิติเตียน ซึ่งไม่เป็นการสมควรเลย |
2. ผู้ดีย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง หมายความว่า การกล่าวสรรเสริญรูปกายกันโดยตรงนั้นผู้ฟังจะเกิดความอายกระดากไม่สมควรเลย |
3. ผู้ดีย่อมไม่พูดฝให้เพื่อนเก้อกระดาก หมายความว่าเมื่อพบเพื่อนแม้รู้เรื่องของเพื่อนว่าเป็นอย่างไรหรือผู้นั้นเกิดพลาดพลั้งอย่างใดขึ้น ก็ไม่ควรพูดให้เพื่อนต้องเก้อหรือกระดาก พึงพูดจาด้วยอาการอันยิ้มแย้มแจ่มใสผูกใจกันอัน เป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่อันสนิทสนม จึงเป็นการสมควร |
4. ผู้ดีย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเคาะแคะสตรีกลางที่ประชุม หมายความว่า เมื่ออยู่ในที่ประชุมชนมากด้วยกันมีทั้งชายทั้งหญิง ในที่เช่นนั้นไม่ควรพูดจาเกาะแกะสตรีให้ได้อาย หรือให้มีความกระดากอายโดยกระการใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะล้อเล่นเพื่อสนุกสนานหรือเพื่ออะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องยกย่องให้เกียรติยศสตรีในที่เช่นนั้น จึงเป็นการสมควร |
5. ผู้ดีย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคลหมายความว่า เมื่อเห็นใคร ๆ มีร่างกายบกพร่องหรือผิดแปลก หรือไม่สมส่วน ก็ไม่ควรตำหนิติเตียนค่อนแคะเขา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าจำเป็นต้องขอโทษเขาก่อนจึงควรกล่าวเช่นนั้น ดังนั้นจึงเป็นการควร |
6. ผู้ดีย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ หมายความว่า เมื่อได้พบผู้หนึ่งผู้ใด จะเป็นเพื่อนสนิทก็ตาม ไม่สนิทก็ตาม เป็นผู้ใหญ่ก็ตาม เป็นเด็กด็ตาม แม้รู้ว่าเขามีความร้ายหรือเรื่องไม่ดี หรือเคราะห์ไม่ดี หรือโชคไม่ดีอยู่ ก็ไม่ควรกล่างถึงการร้ายเช่นนั้นโดยพลุ่งโพล่งออกมาให้เขาตกใจ เมื่อรู้อยู่เช่นนั้นควรพูดเอาใจ หรือพูดหาทางแก้ไขให้เบาใจ จึงเป็นการควร |
7. ผู้ดีย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันน่าอายน่ากระดากโดยเปิดเผย หมายความว่า เมื่อได้พบปะใครคนใดคนหนึ่งซึ่งรู้จักคุ้นเคยกันหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเป็นที่น่าอายนากระดาก เช่นเขาเป็นแผลที่หน้า หรือเห็นเขาแต่งกายไม่เรียบร้อย หรือเห็นเครื่องนุ่งห่มของเขาขาด หรือเปรอะเปื้อน หรืออย่างอื่นใดก็ไม่ควรที่จะทักให้เป็นที่น่าอายน่ากระดาก หากมีความจำเป็นจะต้องบอกก็ควรหาทางกระซิบกระซาบให้รู้โดยเฉพาะ เพื่อเขาได้โอกาสแก้ไขเสียได้ทันท่วงทีอย่างนี้จึงเป็นการสมควร |
8. ผู้ดีย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟังหมายความว่า เมื่อแขกมาถึงเรือนตนหรือถิ่นตน ไม่ควรนำเอาเรื่องที่น่าอายน่ากระดากเล่าให้เขาฟัง เช่น เล่าเรื่องอันพาดพิงถึงตัวเขาหรือเล่าเรื่องอันเขามีส่วนเกี่ยวข้องและเรื่องนั้นก็น่าจะทำให้เขาได้อยหรือมีความกระดากเป็นต้น นี้ไม่เป็นการสมควรแท้ |
9. ผู้ดีย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ หมายความว่า เมื่ออยู่ในวงสนทนากันไม่ว่าจะมากคนหรือน้อยคน ไม่ว่าจะคุ้นเคยกันหรือไม่ก็ตาม ไม่ควรนำเอาเรื่องใด ๆ ของใคร ๆ ที่อยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาปิดบังซ่อนเร้นมาพูดให้เขาได้อายหรือเจ็บใจ เช่น เรื่องความผิดหวังของคนเรื่องการสอบไล่ตก หรือเรื่องมิดีมิร้าย หรือเรื่องที่เขาพลาดพลั้งที่ตนรู้อยู่เพราะการเล่าเรื่องเช่นนี้ไม่สมควรแท้ ควรหาเรื่องอย่างอื่น ซึ่งเมื่อเล่าแล้วทำให้เขาเกิดความสนใจ หรือมีความยินดีปรีดา จึงเป็นการสมควร |
10. ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงการอัปมงคลในงานมงคล หมายความว่า ในขณะที่ไปในงานมงคล เช่น งานแต่งงานก็ไม่ควรเล่าถึงเรื่องผัวเมียแตกกัน ทะเลาะวิวาทกันจนถึงหย่าร้างกัน หรือไปในงานทำบุญวันเกิด ก็ไม่ควรเล่าถึงเรื่องตาย หรือเรื่องความพินาศต่าง ๆ ต้องหาเรื่องที่เป็นมงคลมาเล่าสู่กันฟังจึงเป็นการสมควร |
![]() |
![]() |
![]() |
ภาคสาม ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคารวะ | กลับหน้าแรก | ภาคห้า ผู้ดี ย่อมเป็นผู้มีสง่า | ![]() |