![]() ![]() ![]() |
![]() |
[ ภาคหนึ่ง ] [ ภาคสอง ] [ ภาคสาม ] [ ภาคสี่ ] [ ภาคห้า ] [ ภาคหก ] [ ภาคเจ็ด ] [ ภาคแปด ] [ ภาคเก้า ] [ ภาคสิบ ] |
ภาคสิบ ผู้ดี ย่อมไม่ประพฤติชั่ว. |
![]() ![]() ![]() |
หมายความว่า ความชั่วคือความเสียหายสกปรกลามก คนที่ทำอย่างนั้น เรียกว่าประพฤติชั่ว ผู้ดีไม่ควรประพฤติเช่นนั้น ความจริงก็ประพฤติไม่ได้อยู่เอง จึงชื่อว่าผู้ดี ถ้าประพฤติชั่วเข้า ความเป็นผู้ดีก็หมดไป เพราะฉะนั้น ผู้ดีจึงไม่ประพฤติชั่ว ![]() หมายถึงความประพฤติทางกาย คือ เว้นความชั่วทางกาย 1. ผู้ดีย่อมไม่เป็นพาลเที่ยวเกาะกะระรานและกระทำร้ายคน หมายความว่า ผู้ดีย่อมไม่ทำตนให้เป็นพาลเกเรต่อใคร ๆ เข้าตำราว่า ตัวโตกว่าข่มเหงผู้น้อยกว่า มั่งมีกว่าระรานคนจน มีอำนาจกว่าระรานผู้มีอำนาจน้อยกว่า แม้คนเสมอกันก็ไม่ควรเป็นพาล ต้องแสดงตนให้เห็นว่ามีเมตตากรุณาต่อคนทั้งหลายทั่วไป จึงเป็นการสมควร |
2. ผู้ดีย่อมไม่ข่มเหงผู้อ่อนกว่า เช่น เด็กหรือผู้หญิง หมายความว่า เมื่อเห็นสู้ไม่ได้ก็ไม่ควรข่มเหงเขาจะว่าใครต้องว่าต่อหน้า จะสู้รบตบมือกับใครก็ต้องให้โอกาสเขาต่อสู้ มิใช่เห็นเขาอ่อนกว่าด้วยกว่าแล้ว ก็ทำเอาทำเอาเช่นนี้ ไม่เป็นการสมควรเลย กลายเป็นคนข่มเหงเด็ก ข่มเหงผู้หญิง ควรงดเว้น เมื่อเห็นผู้อ่อนกว่าหรือผู้หญิงควรให้ความกรุณาปรานีตามควร จึงเป็นการดี |
3. ผู้ดีย่อมไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน เจ็บอายเพื่อความสนุกยินดีของตน หมายความว่า ไม่ถือเอาความเดือดร้อนของผู้อื่นเป็นความสนุกสนานของตน เช่น เด็กจับจิ้งหรีดมากัดกันเล่นเห็นเป็นสนุกสนาน หรือคนผู้ใหญ่กัดปลา ชนไก่ หรือแหย่คนอื่นเล่น เขาเดือดร้อนเป็นสนุกสนานหรือจับคนมาทรมานเล่น หรือจับมาโกนหัวปล่อยตัวไป เห็นเป็นสนุกสนานเป็นต้น ไม่ดีเลย ไม่ควรทำแท้ |
4. ผู้ดีย่อมไม่หาประโยชน์ด้วยอาการที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หมายความว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนแต่คนอื่นต้องเดือดร้อน ไม่ควรทำเป็นเด็ดขาด |
5. ผู้ดีย่อมไม่เสพสุราจนถึงเมาและติด หมายความว่า อันว่าสุราเมรัยนั้น เป็นของเสพย์ติดให้โทษ ทำผู้เสพให้มึนเมา แต่สุรานั้นบางครั้งก็ใช้เป็นยาได้บ้าง เมื่อมีความจำเป็นจะต้องดื่มบ้าง เช่น ในคราวถูกงูกัด หรือในคราวที่หญิงคลอดบุตร เป็นต้น ก็พึงดื่มกินได้บ้าง หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นก็ดื่มกินได้บ้าง แต่ไม่ควรให้ถึงมึนเมา และไม่ควรดื่มเป็นอาจิณจนติด ในทางที่ถูกนั้น ควรงดเว้นเสียจะดีกว่าเพราะมีแต่โทษโดยส่วนเดียวเท่านั้น |
6. ผู้ดีไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม เช่น กัญชา ยาฝิ่น หมายความว่า อันของยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ย่อมมีแต่โทษ เป็นสิ่งอันเลวทรามต่ำช้า ทำผู้เสพให้กลายเป็นคนเลวทรามไปด้วย ยิ่งมั่วสุมจนติดแล้ว ก็ยิ่งให้โทษมาก ดังนั้นคนสูบฝิ่นกินกัญชา จึงได้รับโทษมากมาย เป็นของควรงดเว้นเด็ดขาด |
7. ผู้ดีย่อมไม่หมกมุ่นในการพนัน เพื่อจะปรารถนาทรัพย์ หมายความว่า การพนันทุกชนิด ไม่ใช่เป็นทางหาทรัพย์ การแสดงหาทรัพย์ ย่อมมีในทางอื่น เช่น การประกอบการงานอันสุจริต เป็นต้น และเศรษฐีการพนันก็ไม่เคยมีปรากฏในโลก ผู้ปรารถนาทรัพย์ จึงไม่ควรหมกมุ่นในทางนั้น คิดดูง่าย ๆ ทรัพย์ที่นำไปเล่นการพนันนั้น ก็เป็นทรัพย์ที่ได้มาด้วยหยาดเหงื่อที่ตนได้ทำการงานต่าง ๆ ทั้งนั้น น้อยนักหนาที่จะใช้ทรัพย์ที่เกิดจากการพนันไปเล่นการพนัน เพราะฉะนั้นควรเว้นให้ได้เด็ดขาด |
8. ผู้ดีย่อมไม่ถือเอาเป็นของตน ในสิ่งที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ หมายความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ของตนแล้วไม่ควรถือเอาทั้งนั้น ไม่ว่าของนั้นจะดีวิเศษอย่างไร จะถือเอาสิ่งใดต้องได้รับอนุญาตก่อนเสมอ แม้ในของที่ได้รับอนุญาตนั้นเล่าก็ควรรู้ประมาณด้วย เพราะบางทีผู้ให้อาจให้ด้วยความจำใจก็ได้ ตามปรกติคนที่มีอำนาจวาสนาหรือสูงศักดิ์ ไม่ควรทักของใครว่าดี หรือซื้อเทียมขอเป็นอันขาดเพราะในการเช่นนั้นผู้ให้อาจให้ด้วยความไม่เต็มใจก็ได้ แต่มีข้อยกเว้นอยู่อย่างหนึ่งที่อาจถือเอาได้โดยไม่ต้องรออนุญาต เช่น การถือวิสาสะ ถือเอาเพราะอาศัยความคุ้นเคย แต่การถือเอาเช่นนั้นต้องเชื่อแน่ว่าเจ้าของรู้แล้วพอใจจึงใช้ได้ นอกนั้นไม่ควรทั้งสิ้น |
9. ผู้ดีย่อมไม่พึงพอใจในหญิงที่มีเจ้าของหวงแหน หมายความว่า ตามปรกติชายหนุ่มหญิงสาว เมื่อเห็นกันเข้าก็อดชอบพอกันไม่ได้ เพราะธรรมชาติชักจูงให้เป็นเช่นนั้น แต่การทำเช่นนั้นหรือรู้สึกเช่นนั้น ควรเป็นคนโสดด้วยกันทั้งสองฝ่ายถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคู่ครองแล้ว ก็ไม่ควรยอมให้ความรู้สึกเช่นนั้นเกิดขึ้น หากเกิดขึ้นก็ควรข่มใจไว้ อย่าให้แสดงออกให้ปรากฏได้ |
![]() |
![]() หมายถึง ความประพฤติทางวาจา ได้แก่การยกเว้นความชั่วทางคำพูด 1.ผู้ดีย่อมไม่เป็นพาลพอใจทะเลาะวิวาท หมายความว่า ไม่ก่อการทะเลาะวิวาทกับใคร ๆ ไม่ว่าผู้นั้นจะโตกว่าหรือเล็กกว่า หรือมีกำลังน้อยกว่าตน เพราะการทำเช่นนั้น จะเป็นเหตุให้ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย แม้เมื่อทราบเหตุที่จะให้ต้องทะเลาะวิวาท ก็ควรระงับยับยั้งชั่งใจไว้ถือเอาความเข้าใจดีต่อกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันเป็นหลัก ทำความรักความอาลัยให้เกิดขึ้นเห็นการแตกร้าวว่าเป็นโทษ เห็นความพร้อมเพรียงว่าเป็นคุณ ควรสมัครรักใคร่กันไว้จะดีกว่า |
2. ผู้ดีย่อมไม่พอใจนินทว่าร้ายกันและกัน หมายความว่า ไม่ตำหนิติเตียนใครลับหลัง ถ้าจำเป็นจะต้องตำหนิติเตียนก็หาโอกาสพูดให้เขารู้ตัวต่อหน้า และในสถานที่อันเหมาะอันควร ไม่ใช้เวลาให้ล่วงไปด้วยการนินทาว่าร้ายกันและกัน ควรพูดแต่คำที่เป็นคุณ เช่น สรรเสริญเขา เป็นต้น แต่สรรเสริญนั้นควรพูดลับหลังจะดีกว่าพูดต่อหน้าอาจกลายเป็นยอไปก็ได้ |
3. ผู้ดีย่อมไม่พอใจพูดส่อเสียดยุยง หมายความว่า ไม่ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน ตามปรกติการยุยงอาจมีได้ด้วยผู้ยุปรารถนาจะให้เขารักตน การทำตนให้เขารักด้วยวิธีนี้เป็นวิธีการที่เลวทรามต่ำช้า ไม่ควรทำเลย พูดไปก็เสียศักดิ์ศรีตนเองไม่ควรแท้ |
4. ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้สอพลอประจบประแจง หมายความว่า ไม่ควรทำตนให้ผู้ใหญ่หรือใคร ๆ ชอบพอรักใคร่ด้วยวิธีการประจบสอพลอ คืออ้างเอาแต่สิ่งที่ไม่จริงมาพูด หรือคอยส่งเสริมซ้ำเติมผู้อื่นเพื่อให้ผู้ฟังพอใจรักใคร่ตน ควรเป็นผู้ทำงานตามหน้าที่ให้สุดความสามารถ ถือเอางานเป็นสำคัญอย่าถือเอาการประจบสอพลอเป็นหลัก ความดีที่ติดตัวนั้น อยู่ที่การทำงานตามหน้าที่เมื่อได้ทำงานตามหน้าที่แล้ว ใครจะรู้ไม่รู้ไม่สำคัญเลย |
5. ผู้ดีย่อมไม่แช่งชักให้ร้ายผู้ใด หมายความว่า ผู้ดีต้องคิดดี คือต้องปราถนาความสุขแก่คนและสัตว์ทั่วไปต้องมีความกรุณาปรานีให้ผู้น้อย ไม่ปรารถนาร้ายแก่แม้เขาจะไม่เป็นไปตามปากเรา แต่ก็เป็นเครื่องแสดงน้ำใจอันร้ายกาจของตัวเราเอง |
![]() |
![]() หมายถึง ความประพฤติทางใจ ได้แก่การเว้นความชั่วทางใจ 1. ผู้ดีย่อมไม่ปองร้ายผู้อื่น หมายความว่า เมื่อถูกใครว่าให้เจ็บใจ หรือถูกทำร้ายด้วยประการใด ก็ไม่ปองร้ายเขาผู้นั้น เป็นแต่เพียงเจ็บแล้วจำพยายามมิให้มีเรื่องเช่นนั้นอีก พยายามหลีกเลี่ยงให้ไกลแสนไกล หรือหาทางผูกสมัครรักใคร่กับผู้นั้นได้ก็จะดียิ่งขึ้น เพราะเหตุว่าการปองร้ายผู้อื่นอาจเป็นทางให้ประกอบอาชญากรรม ซึ่งจะเท่ากับทำร้ายตนเองในที่สุด |
2. ผู้ดีย่อมไม่คิดทำลายผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน หมายความว่า ไม่คิดหาความสุขเหนือความทุกข์ยากของคนอื่น ไม่หาความมั่งมีเหนือความยากจนของคนอื่น ไม่หาความเป็นใหญ่ด้วยการเหยียบย่ำคนอื่น สิ่งใดที่เป็นประโยชน์แก่ตน แต่ต้องทำลายผู้อื่นต้องเว้นเด็ดขาด |
3. ผู้ดีย่อมมีความเหนี่ยวรั้งใจตนเองหมายความว่า ตามปรกตินั้นใจของคนมีกิเลส ย่อมแส่หาอารมณ์และส่ายไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คือ ความรัก ความชัง ความหลง และสิ่ทั้งหลายอันแวดล้อมตนอยู่เล่า แต่ละอย่างล้วยยั่วยวนชวนให้เกิดอารมณ์ทั้งนั้น สิ่งที่ดีที่ง่ายย่อมยั่วให้รัก สิ่งที่ไม่ดีไม่งามย่อมยั่วให้ชังสิ่งอันมีอย่างนั้นย่อมยั่วให้หลง เมื่อประสบอย่างนั้นต้องเหนี่ยวรั้งใจไว้ไม่ให้ส่ายไปตามอารมณ์เหล่านั้น รักษาใจให้เป็นปรกติไว้อย่างนี้จึงชอบจึงควร |
4. ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีความละอายแก่บาป หมายความว่า คำว่าบาป คือ ความชั่วความเสียหาย ความไม่ดี เกิดมาเป็นคนต้องศึกษาอบรมให้รู้จัก บาป บุญ คุณ โทษ ประโยช์ ไม่ใช่ประโยชน์ เมื่อรู้แล้วควรเว้นสิ่งอันเป็นโทษเสีย แม้ใจเห็นผิดคิดเห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี เห็นผิดเป็นชอบก็ควรละอายต่อสิ่งอันเป็นบาปบ้าง ไม่ควรทำบาปด้วยอาการอันหน้าด้าน ควรงดเว้นให้ห่างไกล เว้นได้ก็เป็นศรีแก่ตนเอง |
![]() |
![]() |
ภาคเก้า ผู้ดี ย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง | กลับหน้าแรก |