![]() ![]() ![]() |
![]() |
[ ภาคหนึ่ง ] [ ภาคสอง ] [ ภาคสาม ] [ ภาคสี่ ] [ ภาคห้า ] [ ภาคหก ] [ ภาคเจ็ด ] [ ภาคแปด ] [ ภาคเก้า ] [ ภาคสิบ ] |
ภาคสอง ผู้ดี ย่อมไม่ทำอุจาดลามก. |
![]() ![]() ![]() |
![]() ในข้อนี้หมายถึงการแสดงอาการที่กระทำด้วยกายในทางที่เสียหาย ซึ่งผู้ดีไม่ควรทำไม่ว่าในที่ใด ๆ ทั้งสิ้น แยกออกได้ดังนี้ 1. ผู้ดีย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวอันสะอาดและแต่งโดยเรียบร้อย หมายความว่า เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มนั้นจะเป็นชนิดใดก็ตาม ต้องระวังไม่ให้เหม็นสาบ จนเข้าใกล้ใครก็เป็นที่รำคาญของคนทั้งหลาย การแต่งตัวก็ต้องนุ่งห่มให้สมส่วน เป็นนักเรียนก็ต้องแต่งอย่างนักเรียน เป็นเด็กก็ต้องแต่งอย่างเด็ก ไปงานอะไรก็ต้องแต่งให้เหมาะแก่งานนั้น ๆ ไม่ปล่อยให้มีอะไรน่ารังเกียจ เช่น เปรอะเปื้อนสกปรกโสมม หรือผิดระเบียบ ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยตามโอกาสนั้น ๆ |
2. ผู้ดีย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง หมายความว่า การแต่งตัวนั้นมีความจำเป็นจะต้องเปลือยกายบางส่วน เช่น ก่อนสวมเสื้อต้องเปลือยกายส่วนนั้น แล้วผลัดของเก่าออกเอาของใหม่แทน ในเวลาเช่นนี้ควรทำในที่มิดชิดปิดบัง เพื่อมิให้เป็นที่อุจาดตาของคนทั้งหลาย เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงออกสู่ที่แจ้ง |
3. ผู้ดีย่อมจิ้มควักล้วงแคะแกะร่างกายในที่ประชุมชน หมายความว่า ขณะที่อยู่ในที่ประชุม ไม่จิ้มฟันในโต๊ะอาหาร ไม่แปรงฟันในโต๊ะอาหาร ไม่ควักล้วงภายในเครื่องแต่งตัวตามร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่แคะแกะหรือเการ่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หากมีความจำเป็นก็พึงปลีกตัวออกจากที่ประชุมนั้นก่อนจึงทำ |
4. ผู้ดีย่อมไม่กระทำการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง หมายความว่า กิริยาอาการบางอย่างซึ่งควรจะทำในที่ลับ ก็ต้องทำในที่ลับ อย่าไปทำในที่แจ้ง อาจกลายเป็นลามกอนาจารก็ได้ แม้มีความจำเป็นก็ควรหาทางหลีกเลี่ยงเท่าที่สามารถจะทำได้ เช่น การถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการที่ควรต้องทำในที่ลับ ก็ควรทำในที่ลับ เมื่อมีความจำเป็นแต่หาห้องลับไม่ได้ ก็ควรหาที่กำบังคน เพื่อมิให้เป็นการอุจาดตาของผู้พบเห็น ดังนี้เป็นต้น แม้การอย่างอื่นก็โดยทำนองนี้ |
5. ผู้ดีย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ประชุมชน หมายความว่า อาการที่หาวเรอนั้นเป็นการแสดงออกตามธรรมชาติ แต่เพราะเหตุที่การหาวเรอนั้นต้องอ้าปาก ปากเปิดมองเห็นอวัยวะภายในปาก ขณะที่อยู่ในที่ประชุมแสดงอาการอย่างนั้น ก็ทำให้ผู้ที่เห็นเกิดความสะอิดสะเอียน เหตุนี้จึงควรต้องระมัดระวังไว้เสมอ หากอาการเช่นนั้นจะมีขึ้น ก็ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากไว้ก่อน หรือปลีกตัวออกจากหมู่ชั่วขณะหนึ่ง ยิ่งในขณะที่กำลังรับประทานอาหารด้วยแล้วยิ่งจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ |
6. ผู้ดีย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง หมายความว่า การไอจามเป็นอาการอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป เมื่อจะไอหรือจามไม่ว่าจะอยู่ในที่ใด ๆ ต้องพยายามให้เสียงไอจามนั้นเบาที่สุดที่จะเบาได้ และต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าป้องปิดปากไว้ให้ทันท่วงที ถ้าสามารถจะเอาผ้านั้นชุบระเหยอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ยิ่งดีมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกระจายของโรค หรือป้องกันมิให้ฝอยน้ำลายกระเซ็นออกไปถูกต้องใครหรือของสิ่งใดได้ |
7. ผู้ดีย่อมไม่บ้วนขากด้วยเสียงอันดังหรือให้เปรอะเปื้อนเป็นที่รังเกียจ หมายความว่า ตามปรกติน้ำลายไม่ควรบ้วนไม่ว่าในที่ใด ๆ เว้นแต่เมื่อถึงคราวจำเป็น ก็ไม่ควรให้มีเสียงถ่มขากเลยเป็นอันขาด แม้ที่บ้วนเล่า ก็ต้องดูว่าควรหรือไม่ควร ถ้าอยู่ในรถ ในเรือโดยสาร ไม่ควรบ้วนหรือถ่มทางหน้าต่าง แม้อยู่ในบ้านเรือน ก็ไม่ควรบบ้วนหรือถ่มทางหน้าต่าง หากไม่มีที่บ้วนโดยเฉพาะ ก็ควรใช้กระดาษหรือผ้าซับไว้เฉพาะตน แม้มีที่บ้วนที่ถ่มโดยเฉพาะ ก็ต้องทำให้มิดชิดเพื่อมิให้เป็นการแพร่เชื้อน้ำลายเช่นนั้น |
8. ผู้ดีย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมูมมามในการบริโภค หมายความว่า ในการบริโภคอาหารนั้น ต้องการความสะอาดมาก หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เห็นเป็นสิ่งสกปรกมีอยู่แล้วก็ทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ เป็นต้นว่าไม่ควรรีบตักแบ่งอย่างลุกลน ไม่ควรตักเลอะเทอะออกขอบจานของกลางหรือหกราดส่วนในจานตนเองก็ไม่ควรตักมากเกินไป และไม่ควรตักสุม ๆ ปนชนิดกัน จะรับประทานก็ไม่คำโตจนเกินไป และไม่ควรให้มีเสียง เช่น เคี้ยวดังหรือซดน้ำดัง ไม่ควรพูดคุยเวลาอาหารอยู่ในปาก |
9. ผู้ดีย่อมๆไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือตน หมายความว่า ขณะที่กำลังรับประทานอาหารอยู่นั้น เมื่อจะหยิบอาหารสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ผลไม้หรือผักหรือของอื่นส่งให้ผู้อื่น ไม่ควรจับต้องสิ่งนั้นด้วยมือ ควรใช้ช้อนหรือส้อมกลางที่มีอยู่นั้นส่งให้ หรือหยิบทั้งภาชนะส่งให้ ทั้งนี้เพื่อกันความสกปรกอันอาจมีได้ |
10. ผู้ดีย่อมไม่ล่วงล้ำข้ามหยิบของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่น ซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งได้ หมายความว่า ขณะที่กำลังบริโภคร่วมกันอยู่นั้นจะต้องการของสิ่งใด ไม่ควรหยิบยกข้ามหรือผ่านหน้าผู้อื่น หากมีความจำเป็นจะต้องหยิบยกจริง ๆ ก็ควรขอประทานโทษเขาแล้วขอให้ช่วยหยิบส่งให้ก็น่าจะดูขึ้น แต่ระเบียบในโต๊ะอาหารที่ถูกต้องนั้นควรบอกให้ผู้รับใช้หยิบส่งให้ |
11. ผู้ดีย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาใช้ในการบริโภค เช่น ถ้วยน้ำ หรือผ้าเช็ดมือ เป็นต้น หมายความว่า ในการรับประทานอาหารนั้นมีของที่ใช้รวมกันก็มี มีของที่ใช้เฉพาะคนก็มี เช่น ภาชนะใส่อาหารกลางรวมกัน แต่เครื่องใช้เฉพาะตนคือ ช้อนส้อม ถ้วยน้ำ ผ้าเช็ดมือ ของที่ใช้เฉพาะเช่นนี้ต้องระมัดระวังอย่าละลาบละล้วงไปใช้ของผู้อื่นเข้า เพราะของเหล่านี้เป็นของประจำเฉพาะตัวของแต่ละคนจึงไม่ควรใช้ปะปนกัน |
12. ผู้ดีย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตน เช่น ช้อนส้อมไปตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง หมายความว่า ในการรับประทานอาหารร่วมกันหลาย ๆ คนนั้น เขาแยกของใช้ไว้เป็นของเฉพาะตัวก็มี เป็นของใช้ร่วมกันก็มี ถ้าว่าถึงช้อนส้อมแล้วเขามีเฉพาะตัวทีเดียว และเขามีช้อนกลางประจำไว้ตามภาชนะอาหารนั้น ๆ ในการนั้นต้องใช้ช้อนกลางร่วมกันคือใช้ช้อนกลางแบ่งอาหารจากชามกลางมา ไม่ควรใช้ช้อนส้อมของตนไปตักอาหารแบ่งมาใส่ภาชนะของตน ทั้งนี้ก็เพื่อกันความสกปรกอันมีได้เพราะทำเช่นนั้น |
13. ผู้ดีย่อมระวัง ไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน หมายความว่า ในการพูดจาสนทนาปราศรัยกันตามปรกตินั้น ควรใช้เสียงพอเหมาะไม่ดังเกินไป ไม่เบาเกินไป และในการพูดนั้นก็ไม่ควรยื่นหน้ายื่นตาเข้าไปพูดจนใกล้ชิดกันนัก เพราะอาจได้กลิ่นลมปาก ซึ่งอาจเหม็นจนผู้อื่นเหลือทนก็ได้ หรือมิฉะนั้นฝอยน้ำลายอาจกระเซ็นเข้าหากันก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงควรอยู่ในที่เหมาะและไม่ตรงหน้าใกล้ชิดจนเกินพอดี ทั้งนี้เพราะกันความเบื่อหน่ายของกันและกัน เพื่อกันความรังเกียจกันและกัน อันอาจมีได้ เพราะเหตุที่แสดงกิริยาเช่นนั้น |
![]() |
![]() ข้อนี้หมายถึงการไม่พูดคำลามกหรือพูดถึงสิ่งอันลามกในที่ประชุมชนหรือในขณะกำลังรับประทานอาหาร แยกออกได้ดังนี้ 1. ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน หมายความว่า การกล่าวถ้อยคำใด ๆ ซึ่งเป็นการพูดถึงสิ่งโสโครกต่าง ๆ เช่น ของเน่าของเหม็น หรือพูดถึงสิ่งสกปรกต่าง ๆ ในที่ประชุมชน ไม่เป็นการสมควรแท้ ความจริงการพูดคำเช่นนั้นไม่ว่าในที่ใด ๆ ในเวลาใด ๆ กับบุคคลใด ๆ ย่อมไม่เป็นมงคลแก่ปากของตนเลยเพราะอย่างนี้จึงต้องพูดแต่สิ่งที่ดีงามในที่ทุกสถานและในกาลทุกเมื่อ |
2. ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งที่ควรปิดบังในท่ามกลางประชุมชน หมายความว่า สิ่งที่ควรปิดบังนั้นได้แก่สิ่งที่ควรละอาย หรือเรื่องที่เปิดเผยให้คนอื่นรู้จะเกิดความเสียหายแก่ตน แก่หมู่หรือแก่ชาติบ้านเมือง จึงไม่นำมาพูดในท่ามกลางประชุมชน เพราะเป็นเรื่องที่ควรสงวนไว้พูดเฉพาะแก่บุคคลที่จะไม่เป็นภัยอันตรายแก่ตนและใคร |
![]() |
![]() ข้อนี้หมายถึงความคิดเห็นแต่ในความบริสุทธิ์สะอาดอันมีอยู่ในใจของเรา เราควรตั้งความคิดเห็นนั้นในทางที่ชอบที่ควรคือ 1. ผู้ดีย่อมพึงใจที่จะรักษาความสะอาด หมายความว่า ความสะอาดมีอยู่ 3 ทาง คือ สะอาดกาย สะอาดวาจา และสะอาดใจ ถ้าแบ่งประเภทอย่างนี้ หมายถึงความดีงามหรือความไม่ทุจริตทางกาย วาจา และใจ อีกอย่างหนึ่ง ความสะอาดแบ่งได้เป็น 2 ทาง คือ สะอาดภายนอก ได้แก่ ความสะอาดของร่างกาย เครื่องใช้ บ้านเรือน และความเป็นอยู่ กับสะอาดภายใน ได้แก่ความสะอาดในจิตใจ ที่ว่าผู้ดีย่อมพึงใจจะรักษาความสะอาดนั้น แสดงว่าความสะอาดกาย วาจา และใจ ก็ตาม ความสะอาดภายนอกและภายในก็ตาม จะมีขึ้นได้ก็ด้วยความรู้ความเข้าใจ และเจตนาหรือความพึงพอใจจะให้มีขึ้น ผู้ดีจึงควรศึกษาให้รู้เรื่องความสะอาดและตั้งใจรักษาความสะอาดในทุกวิถีทาง |
![]() |
![]() |
ภาคหนึ่ง ผู้ดีย่อมรักษาความเรียบร้อย | กลับหน้าแรก | ภาคสาม ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ | ![]() |