![]() ![]() ![]() |
![]() |
[ ภาคหนึ่ง ] [ ภาคสอง ] [ ภาคสาม ] [ ภาคสี่ ] [ ภาคห้า ] [ ภาคหก ] [ ภาคเจ็ด ] [ ภาคแปด ] [ ภาคเก้า ] [ ภาคสิบ ] |
ภาคแปด ผู้ดี ย่อมไม่เห็นแก่ตัวถ่ายเดียว |
![]() ![]() ![]() |
หมายความว่า ในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ท่านเป็นสำคัญ จะเอาแต่ข้างตนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมด้วย ถ้าเอาแต่ส่วนตัวคนอื่นเดือดร้อนไม่ควรแท้
แต่ในทางตรงกันข้าม เอาแต่ประโยชน์คนอื่น ส่วนตัวเดือดร้อน ก็ไม่ควรเหมือนกัน แต่ถ้ารับอาสาเข้าทำประโยชน์ของหมู่คณะ ก็ต้องถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ประโยชน์ส่วนตัวต้องมาเป็นอันดับรอง อย่างนี้จึงเป็นการสมควรแท้
![]() หมายความว่า การแสดงความไม่เห็นแก่ตัวให้ปรากฏโดยการกระทำทางกาย 1. ผู้ดีย่อมไม่พักหาความสบายก่อนผู้ใหญ่หรือผู้หญิง หมายความว่า ในการอยู่ร่วมกันในหมู่ในคณะ ท่านที่เป็นผู้ใหญ่กว่าก็มี ท่านที่เป็นผู้หญิงก็มี ผู้น้อยหรือผู้ชายต้องไม่หาความสบายก่อนผู้ใหญ่หรือผู้หญิง เช่น ในการรับประทาน ต้องช่วยให้ผู้ใหญ่และผู้หญิงได้รับประทานก่อนจึงรับประทานภายหลัง ดังนี้เป็นต้น ย่อมเป็นการควร |
2. ผู้ดีย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใดหมายความว่า ไม่ค่อยช่วงชิงหาโอกาศเพื่อตัวโดยถ่ายเดียว ต้องแลเหลียวถึงผู้อื่นบ้างตามควร เช่น ในการขึ้นรถไม่ควรแย่งกันขึ้น ในการนั่งในที่ซึ่งเขาจัด ไม่ควรแย่งที่นั่งในการดูมหรสพหรือดูอย่างอื่น ไม่ควรแย่งกันดู ควรให้ไปตามลำดับแถว หรือเป็นไปตามปรกติ แต่ไม่ควรยืดยาดโอ้เอ้ล่าช้า ทำให้ผู้อื่นต้องเสียเวลาโดยใช่เหตุต้องทำให้เป็นไปตามควรแก่กาลเทศะ |
3. ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวแย่งผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่งในเมื่อเขาสนทนากัน หมายความว่า เมื่อผู้หนึ่งกำลังสนทนาอยู่กับอีกผู้หนึ่ง ไม่ควรไปแย่งคู่สนทนาเขา โดยที่ไปแย่งเอาเขามาคุยกับเรา หากมีความจำเป็นด้วยธุระจริง ๆ ก็ควรแจ้งให้เขาทราบก่อนและขอโอกาศเขา หากไม่มีความจำเป็นเช่นนั้นแล้ว ไม่ควรทำเป็นเด็ดขาด แม้ในการประกอบธุระอย่างอื่นก็เช่นเดียวกัน |
4. ผู้ดีเป็นผู้ใหญ่ จะไปมาลุกนั่งย่อมไว้ช่องให้ผู้น้อยมีโอกาสบ้าง หมายความว่า ในการนั่งในที่ชุมนุมตามปรกติเขาจัดที่นั่งที่ยืนไว้ ในการยืนแถว ผู้ใหญ่ต้องยืนหน้า ในการนั่ง ผู้ใหญ่ก็ต้องนั่งหน้าเหมือนกัน ในการนี้ทุกคนต้องยืนหรือนั่งตามที่ซึ่งเหมาะแก่ตน ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ไปยืนข้างหลังหรือนั่งข้างหลัง หรือยืนปิดช่อง ก็ทำให้ผู้น้อยไม่สามารถจะนั่งจะยืนหรือจะเดินไปได้ เป็นการไม่สมควรแท้ เพราะฉะนั้นต้องนั่งยืนตามที่ที่เหมาะแก่ตนจึงเป็นการควร |
5. ผู้ดีในการเลี้ยงดู ย่อมแผ่เผื่อ เชื้อเชิญแก่คนข้างเคียงก่อนตน หมายความว่า ในการเลี้ยงอาหารควรช่วยเหลือให้คนข้างเคียงตนได้อาหารก่อน และในขณะที่กำลังรับประทานอยู่ก็ควรดูแลเพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อเขาบกพร่องบ้าง อย่างนี้จึงเป็นการควร ทั้งนี้นอกจากระเบียบในโต๊ะอาหารที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด เช่น เมื่อเขานำมาให้โดยเฉพาะก็หาควรที่หยิบไปให้คนอื่นก่อนไม่ และในที่นี้จำต้องช่วยแต่ตนเอง |
6. ผู้ดีในที่บริโภค ย่อมหยิบยกยื่นสิ่งของแก่ผู้อื่นต่อ ๆ ไป ไม่มุ่งแต่กระทำกิจส่วนตัว หมายความว่า ในขณะที่กำลังรับประทานร่วมกันอยู่ถ้าเป็นวงใหญ่ อาหารย่อมอยู่ห่างจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในการนี้ผู้ซึ่งอยู่ใกล้ต้องยื่นส่งอาหารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งยังไม่ได้ ถ้าเป็นของที่ต้องเฉลี่ยกันก็ต้องส่งต่อ ๆ กันไปจนทั่งถึง ไม่ควรมุ่งแต่เฉพาะตนท่าเดียวต้องคอยช่วยเหลือกัน ตามโอกาสอย่างนี้จึงเป็นการควร |
7. ผู้ดีย่อมไม่รวบสามตะกลามสี่กวาดฉวยเอาของที่เขาตั้งไว้เป็นกลาง จนเกินส่วนที่ตนจะได้ หมายความว่า ในการเลี้ยงร่วมโต๊ะนั้น ย่อมมีอาหารที่เขาจัดไว้เป็นส่วนกลาง ซึ่งคะเนว่าพอแก่จำนวนคนในวงนั้น ในการนี้ผู้ที่มีโอกาศได้แบ่งก่อนก็ไม่ควรแบ่งเอาเสียมากจนเกินไป จนทำให้ผู้ได้โอกาสแบ่งภายหลังไม่ได้ตามควร หรืออาจไม่ได้เลย หรืออาจไม่ได้เลย หรือแม้ในการนั่งในที่รับแขกตามปรกติ เขามักตั้งพานหมากพลูบุหรี่ไว้ ซึ่งตามปรกติก็พอแก่จำนวนคนในชุมนุมนั้น ในการนี้ก็ต้องไม่ฉวยเอาเสียมากมายจนเกินส่วนที่ตนควรจะได้ เช่น ล้วงเอามาตั้งกำมือหรือหลายมวน เป็นต้น อย่างนี้ไม่เป็นการควร ต้องหยิบเอาแต่เล็กน้อยพอเป็นกิริยาจึงเป็นการควรแท้ |
8. ผู้ดีย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้ หมายความว่า ในยามปรกติก็ตาม ในคราวร่วมรับประทานอาหารก็ตาม เมื่อมีผู้ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่เรา เราต้องรู้จักเพียงพอ หรือรู้จักเกรงอกเกรงใจเขาบ้างมิใช่ว่าเขาให้แล้วก็เอาเสียหมดเท่าไรไม่รู้จักพอ เช่นนี้ก็เกินไป อาจทำให้ผู้ได้พบเห็นเสื่อมความนิยมได้ เพราะฉะนั้นจำต้องรู้ความพอเหมาะพอควร คือต้องรู้จักเพียงพอบ้าง ถ้าเป็นของรับประทานก็เอาแต่พอเท่านั้น ไม่ควรรับเอาจนเหลือซึ่งจะต้องทิ้งเสีย ต้องรู้ความพอเหมาะพอควรอย่างนี้จึงเป็นการควร |
9. ผู้ดีย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนส่วนตัวเสมอไป เช่น ในการเลี้ยงดูหรือใช้ค่าเดินทางเป็นต้น หมายความว่า ในการเดินทางร่วมกันไปเมื่อมีผู้ใดจัดค่าเดินทางให้ จัดค่าอาหารให้ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจให้เขาต้องออกไปฝ่ายเดียว ทางที่ดีที่สุดนั้นควรเฉลี่ยตามส่วนเท่า ๆ กัน เป็นเหมาะแท้ แต่ถ้าเขาไม่ยอมให้เฉลี่ยก็ต้องหาโอกาสตอบแทนเขาบ้างตามควร ไม่ใช่ทำเฉยเมยเอาเขาข้างเดียว ต้องแสดงมิตรจิตมิตรใจตามควรแก่โอกาส |
10. ผู้ดีย่อมไม่ลืมที่จะส่งของซึ่งคนอื่นได้สงเคราะห์ให้ตนยืม หมายความว่า เมื่อยืมของเขามาใช้ควรรีบส่งคืนเขาทันทีเมื่อเสร็จธุระแล้วนอกจากนั้นแล้ว ยังต้องรักษาให้คงสภาพอยู่เช่นเดิม ถ้าขาดจำนวนหรือเสื่อมเสียด้วยประการใด ต้องจัดการให้คงสภาพตามเดิม ไม่ใช่ทำลืม ถ้าไม่ส่งคืนย่อมเป็นการเสียแท้ หรือไม่ส่งจนเขาต้องทวงคืนก็ไม่ควร ต่อไปจะยืมเขาไม่ได้อีก หรือไม่กล้าไปยืมเขาเป็นการตัดทางตนเอง ในทางตรงกันข้ามถ้าเขายืมเราไม่ส่งคืน เมื่อมายืมอีก เราก็ไม่ให้อีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมื่อยืมของต้องรักษาให้คงสภาพและต้องส่งคืนทันทีเมื่อเสร็จธุระแล้ว หรือตามสัญญาที่ให้ไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควร |
11. ผู้ดีเมื่อได้รับสิ่งของหรือเลี้ยงดู ซึ่งเขาได้กระทำแต่ตนย่อมต้องตอบแทนเขา หมายความว่า เมื่อได้รับอุปการะจากผู้ใดก็ไม่ลืมบุญคุณของท่านผู้นั้น และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณท่านตามกำลังความสามารถของตนเช่นพ่อแม่เลี้ยงเรามา ต้องเลี้ยงท่านตอบ ครูอาจารย์สอนวิชาความรู้เรามา ต้องสนองคุณท่าน เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนฝูงสงเคราะห์เรา เราต้องสงเคราะห์ตอบ เป็นต้น ดังนี้ จึงเป็นการสมควร |
![]() |
![]() หมายความว่า การแสดงความไม่เห็นแก่ตัวให้ปรากฏทางวาจา 1. ผู้ดีย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้ใด เพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน หมายความว่า ในขณะที่เขากำลังร่วมชุมนุมกันอยู่ เราไม่ควรจะแยกผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งอยู่ในชุมนุมนั้นออกไปจากหมู่ ล เพื่อจะไปพูดความลับอย่างใดอย่างหนึ่งเลยเป็นอันขาด หากมีความจำเป็นรีบด่วน ก็ควรจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้นั้นเข้าใจเอง และปลีกตัวออกไปเอง แล้วเราก็หาโอกาสพูดในเวลานั้น หากไม่ได้โอกาสก็จำต้องปล่อยไปก่อน ไม่ควรแยกออกมาเช่นนั้นซึ่งอาจเป็นที่ระแวงสงสัยของบุคคลอื่นได้ |
2. ผู้ดีย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องตนถ่ายเดียว จนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่นได้ หมายความว่า ในการสนทนาปราศรัยกันนั้น ไม่ควรยกเอาแต่เรื่องของตนเองมาพูด จนกลายเป็นว่าสนใจแต่เรื่องของตนคนเดียว ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเบื่อหน่ายหรือรำคาญ เพราะไม่มีโอกาสฟังหรือพูดเรื่องอื่น และในชุมนุมเช่นนั้น ควรเป็นผู้ฟังมากกว่าเป็นคนพูดควรให้โอกาสคนอื่นพูดมากกว่าตน เราจะได้ยินได้ฟังเรื่องแปลก ๆ เพิ่มขึ้นดังนี้ |
3. ผู้ดีย่อมไม่นำธุระตนเข้ากล่าวแทรกในเวลาธุระอื่นของเขาชุลมุน หมายความว่า เมื่อคนทั้งหลายกำลังทำธุระชุลมุนวุ่นวายอยู่เช่นนั้น ไม่ควรนำธุระของเราเข้าไปแทรกแซงขึ้นในขณะนั้น ต้องรอจนกว่าผู้อื่นจะหมดธุระก่อนจึงพูดถึงธุระของเราต่อไป |
4. ผู้ดีย่อมไมกล่าววาจาติเตียนของที่เขาหยิบยกให้ว่าไม่ดีหรือไม่พอ หมายความว่า เมื่อใครให้อะไรแก่เรา ไม่ว่าของนั้นจะเป็นของรับประทานหรือของใช้ก็ตามเราไม่ควรติเตียนสิ่งนั้นโดยประการใดประการหนึ่ง เช่นว่าไม่ดีหรือไม่พอ เป็นต้น ถึงแม้จะรู้สึกเช่นนั้นก็ต้องเก็บไว้ในใจจึงจะควร |
5. ผู้ดีย่อมไม่ไต่ถามราคาของที่เขาหยิบยกให้แก่ตน หมายความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งนำสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งมาให้เรา เราไม่ควรถามราคาของนั้นในขณะนั้นเป็นอันขาด แม้มีความปรารถนาจะรู้ก็ควรหาทางอื่นที่จะสืบถามไม่ใช่ถามกับตัวผู้ให้เอง |
6. ผู้ดีย่อมไม่แสดงราคาของที่จะหยิบยกให้แก่ผู้ใดให้ปรากฏ หมายความว่า เมื่อจะให้อะไรแก่ใคร ไม่จำเป็นต้องแสดงราคาสิ่งนั้นให้ปรากฏแก่เขา เพราะถึงอย่างไรก็ตามเขาอาจรู้ได้เองที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะสิ่งของนั้น ย่อมแสดงถึงน้ำใจผู้ให้เท่านั้นว่ามีน้ำใจเพียงใด บางทีของอาจน้อย แต่น้ำใจมากก็ย่อมเป็นที่ชื่นใจของคนผู้รับได้เหมือนกันดังนี้ |
7. ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันโอ้อวดตนและลบหลู่ผู้อื่น หมายความว่า การพูดโอ้อวดย่อมทำให้ผู้ฟังหมดความเมตตาปราณี และยิ่งเป็นการลบหลู่คนอื่นด้วยแล้ว ยิ่งไม่สมควรอย่างแท้จริง เช่นพูดว่าตนดีอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นการพูดยกตนอวดตน ถ้าพูดว่าตนดีกว่าคนนั้นคนนี้ นี้เป็นการลบหลู่คนอื่น ถ้าพูดทั้งโอ้อวดตนและลบหลู่คนอื่นย่อมเป็นการไม่สมควรแท้ต้องถ่อมตนและยกย่องคนอื่นจะดีกว่า |
![]() |
![]() หมายความว่า การแสดงความไม่เห็นแต่แก่ตัวถ่ายเดียวให้ปรากฏในทางใจ 1. ผู้ดีย่อมไม่มีใจมักได้เที่ยวขอของเขาร่ำไป หมายความว่า เมื่อเห็นของเขาทำไว้สวย ๆ งาม ๆ น่าดูน่าชมก็เกิดอยากได้ เมื่อหาเองไม่ได้ ความมักได้เข้าครอบงำก็ขอเขา ต้องการเมื่อไรขอเมื่อนั้น ขอเขาร่ำไป ตามปรกติมีคำเตือนว่า ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ถูกขอ ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ขอ ควรหลีกเลี่ยงจากคำเตือนนี้อย่าให้มีขึ้นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ไม่ควรขอของของใคร ๆ ทั้งสิ้นหากจำเป็นต้องขอก็ขอแต่พอเหมาะพอควร และควรขอแต่เฉพาะบุคคลที่เขายอมให้ขอเท่านั้น แม้ในบุคคลเช่นนั้น ก็ต้องขอสิ่งที่ควรขอเท่านั้นอย่างนี้จึงเป็นการควร |
2. ผู้ดีย่อมไม่ตั้งใจปรารถนาของรักเพื่อนหมายความว่า ของ ๆ เพื่อนไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์รหรือเป็นข้าวของใด ๆ ก็ดีซึ่งเพื่อนรักมาก เราไม่ควรมีจิตรปรารถนาอยากได้ของเขาเพราะควรเห็นใจว่าเขารักเขาก็ต้องหวง หากไปคิดปรารถนาเข้าแล้วอาจกระทำผิดลงไปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ |
3. ผู้ดีย่อมไม่พึงใจการหยิบยืมข้าวของทองเงินซึ่งกันและกันหมายความว่า ตามปรกติเมื่อมีความจำเป็นก็ต้องหยิบยืมกันบ้าง แต่ไม่ควรพอใจในการทำเช่นนั้นตลอดไป เพราะการทำเช่นนั้น อาจเป็นเหตุให้แตกสามัคคีหรือผิดใจกันได้ ยิ่งเป็นเงินเป็นทองด้วยแล้ว ไม่เป็นการบังควรแท้ การหยิบยืมเพื่อการลงทุนค้าขายยังพอทำเนา แต่ก็ต้องทำเป็นครั้งเป็นคราว และควรส่งคืนตามกำหนด แต่การหยิบยืมเขามากินมาใช้ไม่เป็นการบังควรเลยเป็นอันขาด ดังนั้น จึงไม่ควรพอใจก่อหนี้สินเสียเลยจะดีกว่า |
4. ผู้ดีย่อมไม่หวังแต่จะพึ่งอาศัยผู้อื่นหมายความว่า ตามปรกติเมื่อคนเราอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นพวก ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกัน แต่เราจะหวังแต่จะพึ่งพาอาศัยเขาถ่ายเดียวย่อมไม่เป็นการสมควร ต้องพยายามอาศัยตนเองให้ได้ทุกอย่าง ควรให้ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จด้วยลำแข็งของตัว โดยที่สุดแม้พ่อแม่ซึ่งเป็นที่พึ่งอาศัยของเรานั้น ท่านก็ยังมีวันถึงเวลาแก่เฒ่า และในกาลนั้น เราก็ต้องให้ท่านได้อาศัยบ้าง ไม่ควรตั้งหน้าตั้งตาอาศัยท่านโดยส่วนเดียว ดังนี้จึงเป็นการควร |
5. ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยงงอนทอดเทการงานตนให้ผู้อื่นหมายความว่า การงานอันใดซึ่งเป็นหน้าที่ของตนจะมาก็ตามน้อยก็ตาม ต้องทำให้เสร็จตามกำหนด ไม่ควรปัดความรับผิดชอบให้คนอื่น แม้การประกอบการงานร่วมกัน ก็มิบังควรเกี่ยงงอนกัน ต้องช่วยกันจัดช่วยกันทำจนสุดกำลังความสามารถด้วยกัน ดังนี้จึงควร |
6. ผู้ดีย่อมรู้คุณผู้อื่นที่ได้ทำแล้วแก่ตน หมายความว่า เมื่อได้รับอุปการะจากใครแม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่ควรลืมบุญคุณเขา ควรบูชาด้วยกายวาจาใจ เมื่อยังไม่มีโอกาสจะทดแทนก็ทำในใจไว้ เมื่อมีโอกาสเมื่อใด จงรีบตอบสนองทันที นี้จึงเป็นการควร |
7. ผู้ดีย่อมไม่มีใจริษยา หมายความว่า เมื่อเห็นใครได้ดีก็พึงพลอยยินดีกับเขา ไม่ตั้งหน้าตั้งตาคิดริษยาตัดรอนเขา คนที่อิจฉาริษยาเขานั้น ถ้าเป็นใหญ่กว่าเขา ก็เท่ากับลดตัวลงมาต่ำกว่าเขา ถ้าเป็นผู้น้อยกว่าเขาก็เท่ากับยกตนขึ้นเหนือลม ไม่เป็นการดีเลย ควรพลอยยินดีกับเขาเมื่อเขาได้ดีจึงเป็นการควร |
![]() |
![]() |
ภาคเจ็ด ผู้ดี ย่อมไม่เห็นแต่แก่ตัวถ่ายเดียว | กลับหน้าแรก | ภาคเก้า ผู้ดี ย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง | ![]() |