![]() |
![]() |
![]() |
3. ชีวิตมีคุณภาพทั้งแผ่นดิน |
ปัจจุบัน คนนครมีจำนวนมาก ประมาณ 1.5 ล้านคน ภาคราชการแม้จะมีหน่วยงานจำนวนมากแต่ศักยภาพยังมีอยู่จำกัดไม่อาจดูแลได้อย่างทั่วถึง และภาคราชการที่เป็นวิชาการ ยังมีการทำงานเพื่อชุมชนน้อย องค์กรชุมชนมีอยู่จำนวนน้อย ขาดความเข้มแข็ง ภาคธุรกิจเองมีการรวมตัวกันยังไม่กว้างขวาง และเข้มแข็งพอ ภาคการเมืองมีสภาวะผูกขาดสูงขาดการเปรียบเทียบแข่งขัน ภาคสื่อมวลชนขาดการรวมตัวและพัฒนาระบบงานให้ทันสถานการณ์ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลทำให้สุขภาพของประชาชน ยังอยู่ในระดับรู้จักดูแลตนเองได้ปานกลาง และประชาชนยังขาดความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงปัญหายาเสพติดได้แพร่หลายสู่เยาวชนรุนแรงขึ้น เด็กและเยาวชนก็ยังอยู่ในภาวะยากลำบากถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและขาดการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม |
เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 "ชาวนครมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีกินดี อยู่เย็นเป็นสุข อยู่รอดปลอดภัย ครอบครัวอบอุ่น มีสายใยผูกพัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสำนึกสาธารณะ" |
แนวทาง |
1. พัฒนาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะของเด็กและเยาวชนให้ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน |
2. สังคมนครอยู่เย็นเป็นสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปลอดยาเสพติด อบายมุข มอมเมา โดยเน้นวิธีชุมชนบำบัด |
3. เสริมสร้างการพัฒนาจิตใจที่สมดุลย์โดยใช้หลักคุณธรรมนำการพัฒนา |
4. เสริมสร้างสถาบันครอบครัว องค์กรชุมชน ตลอดจนองคืกรประชาชนให้เข้มแข็ง มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิต |
5. ส่งเสริมสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้บุคคลชุมชนมีการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต |
6. ประสานงานความร่วมมือระหว่างภาครับกับองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและชุมชน |
7. คืนอำนาจการตัดสินใจการจัดการทรัพยากร และงบประมาณต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนทั้งนี้ไม่เฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
8. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพชีวิตให้ครบถ้วยเพียงพอ และมีประสิทธิภาพทั้งนี้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน |
กลับหน้าแรก |