www.tungsong.com



สภาพทั่วไป  l  ด้านสังคม  l  ด้านการเมืองการปกครอง  l  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  l  ด้านเศรษฐกิจ  l  ผลการพัฒนาอำเภอในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาและปัญหาความต้องการ
ผลของการพัฒนาอำเภอในช่วงแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ที่ผ่านมา

ด้านเศรษฐกิจ

อำเภอขนอม มีพื้นที่ทั้งหมด 271,204 ไร่ เป็นพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 76,836 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนยางพารา มะพร้าว กาแฟ และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ทุเรียน เงาะ ส้มโอ ลองกอง ลางสาด เป็นต้น มีการทำนาเป็นบางพื้นที่ รายได้เฉลี่ย ต่อคน/ปี เท่ากับ 20,000.- บาท อาชีพอื่น ๆ ที่สำคัญรองลงมา คือ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม และธุรกิจการบริการ

การกสิกรรม
1. ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีพื้นที่ปลูก 20,281 ไร่ มีผลผลิตปีละ 7,909,590 กิโลกรัม
2.มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญรองจากยางพารา มีพื้นที่ปลูก 19,020 ไร่ มีผลผลิต ประมาณปีละ 7,570,000 กิโลกรัม
3. กาแฟ แม้จะมีพื้นที่ปลูกเพียง 2,900 ไร่ ในเขตท้องที่อำเภอขนอม และมีผลผลิตประมาณ 435,000 กิโลกรัม ก็ตาม แต่เนื่องจากชาวขนอมส่วนหนึ่งได้ไปทำไร่ในเขต จังหวัดชุมพร และสุราษฏร์ธานี จึงกลายเป็นอาชีพที่สำคัญพอ ๆ กับการปลูกยางพารา และมะพร้าวดังกล่าวแล้ว
4.ข้าว เป็นการปลูกเพื่อการบริโภค พื้นที่ปลูกเพียง 3,520 ไร่ ต่อไปจะไม่ใช่อาชีพที่สำคัญ เนื่องจาก ชาวบ้านขายที่ดินให้แก่นายทุนไปมาก และไม่มีการเช่าที่ดินเพื่อการทำนา

การประมง
อำเภอขนอม มีผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 417 ราย คิดเป็นพื้นที่ 2,976 ไร่ ส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีประมาณ 244 ราย พื้นที่ทั้งสิ้น 2,838 ไร่ ที่เหลือเป็นการเลี้ยงตะพาบน้ำ และอื่น ๆ
ในอำเภอขนอมเป็นแหล่งที่มีการทำกิจกรรมจับปลาในทะเล และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอยู่มาก เรือที่ขึ้นทะเบียนที่อื่น ๆ และมาจับสัตว์น้ำในเขต หรือเข้าเทียบท่าที่อำเภอขนอมก็มีมากเนื่องจากคลองขนอมมีแหล่งที่ตั้งที่เหมาะสมจากคลื่นลมจึงมีเรือประมงเข้าเทียบท่า และขึ้นสินค้า สัตว์น้ำ เพื่อนำไปจำหน่าย ณ ตลาดอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก การจัดเก็บเงินอากรการประมง และ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆสามารถนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินนอกงบประมาณในปี 2540 เป็นเงินถึง 142,790 บาท เรือประมง ที่เป็นเรือประเภทอวนลาก มี 100 ลำ เรืออวนลอยกุ้ง 350 ลำ ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง เช่น แพปลา มี 14 แห่ง โรงน้ำแข็ง 6 แห่ง โรงปลาป่น 2 แห่ง ท่าเทียบเรือประมง 1 แห่ง เป็นต้น ในพื้นที่อำเภอขนอม มีโครงการลดราคาน้ำมันเพื่อช่วยเหลือ ชาวประมงตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 มีเรือประมงเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 100 ลำ ปริมาณน้ำมันที่ใช้ ไม่ต่ำกว่า ห้าแสนลิตรต่อเดือน อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการลักลอบทำประมงในระยะห้าม คือ จากชายฝั่ง 3,000 เมตร อยู่บ้าง ปัญหาชาวประมงขนาดเล็กที่เป็นคนพื้นบ้านไม่สามารถหา เลี้ยงชีพได้เพียงพอ และการนำแรงงานคนต่างด้าวมาใช้แรงในพื้นที่จำนวนมาก ส่วนใหญ่ไม่ถูกกฎหมาย

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำการประมง ได้แก่
   1.กลุ่มเกษตรทำการประมงขนอม มีสมาชิก 47 ราย
   2. กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำท้องเนียน มีสมาชิก 46 ราย
   3. สมาคมประมงขนอม มีสมาชิก 69 ราย

การปศุสัตว์
จำนวนประชากรสัตว์ในอำเภอขนอม มีดังนี้
  1. โค 2,210 ตัว
  2. กระบือ 627 ตัว
  3. สุกร 1,389 ตัว
  4. เป็ด 4,927 ตัว
  5. ไก่ 27,395 ตัว
  6. สุนัข 2,431 ตัว
  7. แมว 1,722 ตัว
ปริมาณสัตว์เลี้ยง ในพื้นที่อำเภอขนอมลดลงการเลี้ยงในเชิงธุรกิจทางการค้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นอาหาร

โครงการสำคัญของปศุสัตว์อำเภอ
  • ส่งเสริมการเลี้ยงโคและกระบือ
  • การปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร
  • สนับสนุนธุรกิจตลาดกลาง โค กระบือ
  • ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่พื้นเมือง, เป็ดเทศ)
  • ป้องกันกำจัดโรคสัตว์ และสัตว์แพทย์เคลื่อนที่
  • การควบคุมมลภาวะที่เกิดจากสัตว์ บริเวณชายหาดอำเภอขนอม

  • การอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
    อุตสาหกรรม ในเขตอำเภอขนอม เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน การพลังงาน (บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย–ขนอม) ซึ่งใช้งบลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐวิสาหกิจ และเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับกิจการประมง โดยเป็นการผลิต น้ำแข็ง ปลาป่น โรงกลึง อู่ซ่อมต่อเรือ จากการสำรวจ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏว่าในปี 2540 อำเภอขนอม มี โรงงาน ทั้งสิ้น 43 โรง เงินทุน 19,673,268,000.- บาท มีคนงาน 760 คน
    โรงงานในท้องที่อำเภอขนอม จำแนกได้ดังนี้
       1.โรงน้ำแข็ง 6 โรง
       2.โรงปลาป่น 2 โรง
       3.โรงกลึง 2 โรง
       4.อู่ซ่อมรถยนต์ 4 แห่ง
       5.อู่ซ่อม/ต่อเรือ 2 แห่ง
    หากพิจารณา ยอดเงินลงทุนแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว เงินลงทุนเพื่อการอุตสาหกรรม ที่อำเภอขนอม สูงที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่หากดูลักษณะการกระจายตัวของ อุตสาหกรรมในประเภทต่าง ๆ ไม่สามารถจะแข่งขันกับอำเภอเมืองและอำเภอทุ่งสง ได้
    สำหรับกิจการเหมืองแร่ในเขต มีแหล่งแร่ ประเภท หินปูน โดโลไมต์ ที่อุตสาหกรรมและโดโลมิติคไลฆ์สโตน อยู่มาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลล้อมรอบด้วย ภูเขาจึงอุดมด้วยสินแร่ดังกล่าวอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีราษฎรไม่ได้มองเฉพาะการผลิตแร่แต่เพียงอย่างเดียว ได้มองลึกลงไปด้วยว่า ภูเขาเหล่านี้เป็นเสมือนเกาะกำบังให้บ้านเมืองพ้นจากลมพายุ ต่าง ๆ อีกประการหนึ่ง การขุดทำลายภูเขาจะเป็นการทำให้เกิดฝุ่นละอองกระทบด้านบริเวณรอบข้าง และกระทบถึงแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ รวมทั้งทัศนียภาพ โดยรวมอีกด้วย


    จำนวนผู้ขอประทานบัตร
       1.ประทานบัตร แปลง เนื้อที่
       2.คำขอประทานบัตร แปลง เนื้อที่
       3.คำขอต่ออายุ ประทานบัตร แปลง เนื้อที่
       4.เหมืองแร่ที่ทำการเหมืองแร่ในปัจจุบัน แปลง

    การสหกรณ์
    สหกรณ์ เป็นองค์กรธุรกิจแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการ โดยกลุ่มบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันในการที่จะขจัดความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ และสังคมในหมู่สมาชิก ถือหลักความสมัครใจ หลักประชาธิปไตย และหลักความยุติธรรม หลักช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    ในท้องที่อำเภอขนอม มีสหกรณ์อยู่หลายแห่ง ดังนี้

    ชื่อสหกรณ์ จำนวนสมาชิก (คน) ทุนเรือนหุ้น (บาท) การรวบรวมเงินฝาก (บาท)
    สหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านสวนโชว์ จำกัด
    60
       60,000    4,119,977
    สหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านเขาวังทอง จำกัด
    74
       68,500 455,982
    สหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านคลองวัง จำกัด
    41
       21,500    -
    สหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านท่าน้อย จำกัด
    12
        60,000    1,096,734
    สหกรณ์การเกษตรขนอม จำกัด        659     4,408,040    -
    รวมทั้งสิ้น        954     -    -

    ในจำนวนสหกรณ์ทั้งหมด สหกรณ์การเกษตรขนอม จำกัด มีการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้าง ก้าวหน้า โดยในปีปัจจุบันมี ยอดเงินฝาก 7,561,408.- บาท สามารถปล่อยกู้แก่สมาชิก 17,745,217.- บาท ทำธุรกิจหมุนเวียนโดย จำหน่ายวัสดุและอุปกรณ์การเกษตร 21,514,471.- บาท นอกจากนี้ ยังมี สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสวนโชว์ จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจหมุนเวียนบ้างเล็กน้อย โดยมียอดเงินฝาก 14,851.- บาท และจำหน่ายวัสดุและอุปกรณ์การเกษตรอีก 11,535.- บาท สหกรณ์อื่น ๆ ยังอยู่ในระหว่างเริ่มต้น
    ในส่วนสมาชิกสหกรณ์นั้นมีข้อสังเกตว่า
    1.สมาชิกสหกรณ์ยังให้ความสนใจด้านข่าวสารข้อมูลน้อยมาก ไม่เห็นความสำคัญ ในเรื่องข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร และการตลาด
    2. เกษตรกรยังขาดความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือตนเอง หวังพึ่งแต่การช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ
    3. การรวมกลุ่มในรูปองค์กรชุมชนยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ ขาดผู้นำและการร่วมมือกันอย่างแท้จริง

    แรงงาน
    จากการสำรวจของสำนักงานสาธรณสุขอำเภอ ตัวเลขประชากร วัยแรงงานและอัตราส่วนพึ่งพิง ดังนี้
    ปี (พ.ศ.) วัยแรงงาน (15-59)จำนวน (คน) ร้อยละ ประชากรทั้งหมด (คน) อัตราส่วนพึ่งพิง
    2535 17,629 68.13 25,875 44.48
    2539 17,353 67.05 25,881 43.60
    2540 16,386 64.48 25,411 46.68
    2541 15,511 63.51 24,422 47.52

    หมายเหตุ   จำนวนประชากรจากที่ทำการปกครองอำเภอ ในปี 2541 ทั้งหมด รวม 26,494 คน

    เป็นการยากที่จะรู้ข้อมูลด้านการจ้างงาน เนื่องจากไม่มีการสำรวจโดยตรง อย่างไรก็ดี ประมาณว่ามากกว่า ร้อยละ 80 เป็นแรงงานภาคเกษตรกรรม (การกสิกรรม, การประมง, เลี้ยงสัตว์) ส่วนแรงงานในภาคธุรกิจ และบริการมีประมาณ ร้อยละ 20 ในจำนวนแรงงานทั้งหมด น่าจะมีผู้ว่างงาน อยู่จำนวนหนึ่ง จึงเป็นผลจากการไม่มีงานทำหลังจบการศึกษา และเป็นผู้ว่างงานจากฤดูกาลเกษตร
    ในภาคการประมง ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างชัดเจนผู้ประกอบการต่าง ๆ ได้จ้างงานคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบ และโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นจำนวนมาก แรงงานต่างด้าวสัญชาติ มอญ พม่า และกัมพูชา รวมแล้วประมาณว่ามีอยู่ในท้องที่ ประมาณ 3,000 คน แรงงานเหล่านี้ ไม่ทำเฉพาะการประมงเท่านั้นยังทำนากุ้ง งานก่อสร้าง กรีดยาง เป็นต้น ปัญหาในการควบคุมมีมากขึ้น
    สำหรับกำลังแรงงาน ที่เป็นคนไทยส่วนหนึ่งมักจะจัดให้อยู่ในประเภทว่างงานแอบแฝงได้ โดยปกติไม่นิยมทำงานรับจ้างแม้จะมีงานรออยู่ก็ตาม ประกอบกับค่าครองชีพในอำเภอขนอมค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอำเภอข้างเคียง แรงงานจึงมักปฏิเสธงานจ้าง ในขณะที่นายจ้างก็นิยมจ้าง แรงงานต่างชาติที่มีราคาถูกกว่า สำหรับแรงงานอพยพที่มาจากที่อื่น ๆ ส่วนใหญ่มาจากภาคอีสาน โดยเข้าทำงานภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่

    การท่องเที่ยว
    อำเภอขนอม ถือได้ว่าเป็นสถานที่ ที่เหมาะที่สุดสำหรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามธรรมชาติ เนื่องจากมีชายหาดยาวประมาณ 38 กิโลเมตร ตลอดแนวชายฝั่งทะเล และชายหาดค่อนข้างกว้าง เมื่อมองจากแหล่งที่ตั้งแล้ว นับจากอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึงนครศรีธรรมราช ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวบนแผ่นดินในเขตฝั่งอ่าวไทย ที่ใดที่จะมีหาดทรายยาว และสวยงามเท่าที่อำเภอขนอม ในปัจจุบันได้มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านที่พักสำหรับ นักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ในเพลาเบรีสอร์ท สุภาโรยัลบีช ขนอมโกลเด้นบีช อลงกตรีสอร์ท ตาลคู่รีสอร์ท ขนาบน้ำ จี.บี.รีสอร์ท ระเบียงทรายรีสอร์ท
    สถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอขนอม แบ่งออกได้หลายประเภท ได้แก่
    1. ประเภทชายหาด ได้แก่ หาดในเพลา หาดหน้าด่าน หาดท้องยาง หาดท้องหยี หาดแขวงเภา หาดท้องโหนด หาดท้องชิง
    2. ประเภทถ้ำ ได้แก่ ถ้ำเขากรด ถ้ำเขาวังทอง ถ้ำเขาพระ
    3. ประเภทน้ำตก ได้แก่ น้ำตกเสม็ดชุน น้ำตกธารทอง น้ำตกหินลาด น้ำตกท่าน้อย
    4. ประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุ ได้แก่ เจดีย์หินปะการังเขาธาตุจันทน์ พระพุทธรูปวัดใน พระพุทธรูปวัดจันทน์ พระพุทธบาทจำลองวัดเขาขนอม ชุมชนโบราณวัดเจดีย์หลวง
    5. แหล่งท่องเที่ยวในทะเล ได้แก่ เกาะราบ เกาะวังใน เกาะนอก เกาะแตน แม้จะเป็นสถานที่นอกเขตอำเภอขนอม แต่ก็สามารถเข้าถึงจากฝั่งอำเภอขนอมได้โดยง่าย รวมทั้งการไปยัง เกาะสมุย และเกาะพงัน
    การท่องเที่ยวในเขตอำเภอขนอม สามารถส่งเสริมให้เป็นแหล่งรายได้หลัก ของประชาชนชาวขนอมได้ทั้งภูมิประเทศ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองการมี จิตใจต้อนรับผู้มาเยือนจากต่างถิ่นล้วนแต่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญ อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องการคิดค่าบริการค่อนข้างแพง การขาดเอเยนซีทัวร์ การขาดการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ ต่าง ๆ เหล่านี้ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว

    การเงินการคลัง
    สถาบันการเงินหลักของอำเภอขนอม ประกอบด้วย ธนาคาร 5 ธนาคาร ได้แก่
    1.ธนาคารออมสิน
    2.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    3.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    5.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    พร้อมทั้งมีธุรกิจประกันภัย อีก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด และ บริษัท ประกันชีวิตศรีอยุธยา จาร์ดี ซีเอ็มจี จำกัด
    ปริมาณเงินฝากเมื่อสิ้นสุดเดือน ธันวาคม 2542 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น…….ล้านบาท เทียบกับปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ ……..สำหรับปริมาณสินเชื่อ เมื่อสิ้นสุดเดือน ธันวาคม 2542 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น………………….ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ…….


    สถานะการคลังอาจแสดงได้คร่าว ๆ ดังนี้

    ปี ภาษีสรรพากร
    จัดเก็บได้
    ภาษีสรรพสามิต
    จัดเก็บได้
    2539 25,684,759 -
    2540 25,684,759 310,844,457
    2541 35,255,868 390,454,412
    2542 34,262,730 -

    งบประมาณของหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ปี 2541 จำแนกได้ดังนี้

    สถานที่ งบประมาณ (บาท) หมายเหตุ
    อบต. ขนอม 3,559,000 -
    อบต. ควนทอง 2,552,000 ไม่รวมเงินอุดหนุน
    อบต. ท้องเนียน 3,969,756 -
    เทศบาลตำบลขนอม 3,623,000 -

    อย่างไรก็ตาม ยอดภาษีสรรพากรนั้น ประเภทนิติบุคคลยังคงขยายตัว ส่วนยอดภาษีสรรพสามิต เป็นการจัดเก็บจากแหล่งพลังงาน คือ การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย (ขนอม)


    [ หน้าแรก ]



    ออกแบบและบันทึกข้อมูลโดย นางสาวสุภาพร ญาณสูตร
    E-mail : syannasut@hotmail.com