ด้านโครงสร้างพื้นฐาน |
การไฟฟ้า |
ปัจจุบันมีผู้ใช้ไฟรวม 6,311 ราย (รวมไฟฟ้าเพื่อการเกษตร) ไฟฟ้าชั่วคราวและไฟฟ้ารายใหญ่ |
- ครัวเรือนทั้งสิ้น มี 8,256 หลังคาเรือน |
- มีไฟฟ้าใช้ 5,372 หลังคาเรือน |
- ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ 2,886 หลังคาเรือน |
การโทรศัพท์ |
ปัจจุบันได้ให้การบริการทั้งสิ้น 2,288 หมายเลข มีตู้บริการโทรศัพท์สาธารณ 53 ตู้ ยังมีคู่สาย และยังไม่ได้เปิดให้ใช้อีก 272 หมายเลข |
การประปา |
สำนักงานประปาขนอมเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีกำลังผลิต 100 ลบ.ม./ช.ม. (2,400 ลบ./วัน) จำนวนผู้ใช้น้ำ 662 ราย ใช้แหล่งน้ำหลักจากคลองบางคู และแหล่งน้ำสำรองจากน้ำตกเม็ดชุน พื้นที่จ่ายน้ำอยู่ในเขตชุมชนเทศบาลตำบลขนอม ชุมชนควนทอง และท้องเนียน บางส่วน |
ปัญหาที่ประสบในช่วงหน้าแล้ง/ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำจืดในคลองบางคูตำบลควนทอง มีน้อย มีน้ำเค็มทะลักเข้าในคลองบางคูซึ่งขณะนี้ การประปาขนอมได้วางเป้าหมายจะก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำใหม่ เหนือเขื่อนกั้นน้ำ ของท้องถิ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนอกจากนั้น ยังมีเป้าหมายในการจัดหาที่ดินสำรองเพื่อการขุดสระในอนาคตไว้ใช้ในการสำรองน้ำในยามขาดแคลน จึงปรับปรุงระบบทรายกรองน้ำ เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น |
การคมนาคมสื่อสาร |
เส้นทางสายหลักได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 4014 แยกจากทางหลวงหมายเลข 401(ท่าศาลา สุราษฎรธานี) ที่คลองเหลง เข้าสู่ อำเภอขนอม |
เส้นทางถนนสามารถจำแนกตามประเภทได้ดังนี้ |
1. ถนนคอนกรีต 13 สาย ระยะทาง 9.80 ก.ม.
2. ถนนลาดยาง 14 สาย ระยะทาง 67.80 ก.ม.
3. ถนนลูกรัง 39 สาย ระยะทาง 63.00 ก.ม.
การคมนาคมทางรถสามารถไปถึงทุกหมู่บ้านโดยสะดวก
ส่วนบริการขนส่งทางน้ำ ปัจจุบันมีท่าเรือ โดยสาร (เรือเฟอร์รี่) 1 แห่ง และเรือสำหรับขนส่งสินค้า (แร่) 1 แห่ง
การติดต่อสื่อสารภายในอำเภอ สามารถใช้การติดต่อทางโทรศัพท์ และวิทยุสื่อสารในเครือข่ายของทางราชการ หรือการส่งไปรษณีย์โทรเลขซึ่งเป็นของอำเภอ
เส้นทางการเดินรถและอัตราค่าโดยสารระหว่างขนอมกับที่ต่าง ๆ
เส้นทาง ประเภท ค่าโดยสาร
ขนอม กรุงเทพฯ รถปรับอากาศ 383.- บาท
ขนอม นครฯ รถตู้ 50.- บาท
ขนอม สุราษฎร์ รถตู้ 50.- บาท |
แหล่งน้ำ |
แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองขนอม ซึ่งถือเป็นลำคลองสายหลัก นอกจากนี้ยังมีลำคลองสายสั้น ๆ ที่ช่วยในการระบายน้ำจากเชิงเขาออกสู่ทะเลอีกหลายสาย
แหล่งน้ำขนาดเล็กอื่น ๆ ได้แก่
1. บ่อน้ำตื้น 1,472 แห่ง
2. สระน้ำ
. แห่ง
3. บ่อบาดาล 33 แห่ง
4. ฝาย, ทำนบ 14 แห่ง
5. ประปาหมู่บ้าน 5 แห่ง |
โครงการชลประทานในเขตพื้นที่ ได้แก่ |
1.แหล่งน้ำใช้ทั้งเพื่อการเกษตรกรรมถือได้ว่ามีความเพียงพอสำหรับการใช้สอยโดยปกติ เนื่องจากปริมาณฝนตกมีมาก
2.สำหรับแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะเพื่อการประปา ยังคงมีแหล่งน้ำจากเขา เช่น คลองเพลา คลองท่าน้อย คลองเปร็ต เป็นต้น ที่อาจพัฒนาได้อีก |
[ หน้าแรก ] |
 |
ออกแบบและบันทึกข้อมูลโดย นางสาวสุภาพร ญาณสูตร E-mail : syannasut@hotmail.com |