www.tungsong.com

ประวัติ


ลักษณะทั่วไป


การเมืองการปกครอง


สถานที่ท่องเที่ยว


ผลการพัฒนาอำเภอในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และปัญหาความต้องการ


วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ และยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอแต่ละด้าน/สาขา


ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข


ข้อเสนอแนะ



















































 
  • การเมืองการปกครอง
  •  
    กิ่งอำเภอช้างกลางแบ่งเขตการปกครองตามลักษณะพื้นที่ออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ดังนี้
     
    ตำบลช้างกลาง
      มี 16 หมู่บ้าน
     
    ตำบลหลักช้าง
      มี   7 หมู่บ้าน
     
    ตำบลสวนขัน
      มี   8 หมู่บ้าน
     
    มีองค์การบริหารส่วนตำบล 3 แห่ง คือ
      1. องค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง
      2. องค์การบริหารส่วนตำบลหลักช้าง
      3. องค์การบริหารส่วนตำบลสวนขัน
     
    มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเขต กิ่งอำเภอช้างกลาง 1 คน
     
  • การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
  •  
    การศึกษา
     
    1. มีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราชเปิดสอนระดับอาชีวะศึกษาชั้นสูง จำนวน 1 แห่ง
     
    2. โรงเรียนสังกัด สปช. จำนวน 19 แห่ง
     
    3. โรงเรียนกรมสามัญศึกษา จำนวน 1 แห่ง
     
    4. โรงเรียนสังกัด สช. จำนวน 4 แห่ง
     
    5. การศึกษาอื่นๆ
    โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนรวม 1 แห่ง
    ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด - แห่ง
    หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 1 แห่ง
     
    ศาสนา
     
    มีวัดทั้งสิ้น 11 วัดซึ่งในจำนวนนี้มีวัดมะนาวหวานอันเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2225 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมษายน 2539 ปัจจุบันมีภิกษุ สามเณร จำนวน ประมาณ 100 รูปโดยพระครูสถิตวิหารธรรม เป็นเจ้าอาวาส
     
  • เศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ
  •  
    อาชีพส่วนใหญ่ของประชาชนกิ่งอำเภอช้างกลาง ประกอบอาชีพการเกษตรจำนวน 3,503 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนยางพารา 54,520 ไร่ สวนผลไม้2,948 ไร่ พื้นที่ทำนา 7,588 ไร่ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กจำนวน 4 แห่ง ร้านค้าทั่วไป จำนวน 134 แห่ง และร้านพาณิชย์บริการ จำนวน 121 แห่ง
    นอกจากนี้ยังมีงานปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นอีก 5 โรง ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลต่าง ๆ ดังนี้
     
      ตำบลช้างกลาง
    จำนวน 3 โรง
     
      ตำบลหลักช้าง
    จำนวน 1 โรง
     
      ตำบลสวนขัน
    จำนวน 1 โรง
     
    สำหรับสวนผลไม้ เกษตรกรกิ่งอำเภอช้างกลาง ได้เร่งรัดปรับปรุงสวนผลไม้ โดยใช้วิทยาการสมัยใหม่มาช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ การใส่ปุ๋ย ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักเป็นการปรับปรุงและบำรุงดิน ควบคู่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบน้ำหยดให้แก่ต้นไม้ด้วย มีการจัดตั้งชมรมชาวสวนผลไม้ และชมรมชาวสวนผลไม้เพื่อการส่งออก ซึ่งคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้ากิ่งอำเภอช้างกลาง จะเป็นศูนย์กลางของตลาดผลไม้อีกแห่งหนึ่ง ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของกิ่งอำเภอช้างกลาง ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลางสาด กระท้อน และผลไม้อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
     
  • การรักษาความสงบเรียบร้อย
  •  
    การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินถือเป็นภารกิจอันสำคัญของกิ่งอำเภอช้างกลาง รวมทั้งปัญหาการแพร่กระจายของยาเสพติดด้วย ซึ่งทางกิ่งอำเภอช้างกลางได้ระดมสรรพกำลังทุกฝ่ายในการป้องกันและปราบปรามให้หมดสิ้น เพื่อความสงบสุขของประชาชนในส่วนรวม หน่วยงานที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อยมีดังนี้
     
    สภอ.กิ่ง อ.ช้างกลาง
     
    ชุดรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน (ชรบ.)
     
    หน่วยบรรเทาสาธารณภัย (อปพร.)
     
    กลุ่มพลังมวลชนในรูปแบบองค์กรอื่น ๆ เช่น กนช. ลสชบ. ทสปช. อสม.กม. อีกจำนวนมาก
     
  • การอนามัย - สาธารณสุข
  •  
    กิ่งอำเภอช้างกลางไม่มีโรงพยาบาลหรือแม้แต่คลีนิคเอกชน เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยจะไปใช้บริการของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง โรงพยาบาลนาบอน โรงพยาบาลลานสกา สุดแล้วแต่อยู่ใกล้โรงพยาบาลไหน การบริการด้านอนามัยขั้นมูลฐานของกิ่งอำเภอช้างกลาง มีสถานนีอนามัยจำนวน 6 แห่ง

    ลำดับ ชื่อสถานีอนามัย ที่ตั้ง จำนวนเจ้าหน้าที่
    1. สภานีอนามัยบ้านหลักช้าง ม.3 ต.ช้างกลาง มี 4 คน
    2. สภานีอนามัยบ้านหลักช้าง ม.6 ต.หลักช้าง มี 2 คน
    3. สถานีอนามัยบ้านใสคา ม.4 ต.สวนขัน มี 1 คน
    4. สภานีอนามัยบ้านควนส้าน ม.6 ต.ช้างกลาง มี 2 คน
    5. สภานีอนามัยบ้านหน้าเหมน ม.10 ต.ช้างกลาง มี 3 คน
    6. สถานีอนามัยบ้านมะนาวหวาน ม.4 ต.ช้างกลาง มี 4 คน

    กลับสู่หน้าแรก