www.tungsong.com

ประวัติ


ลักษณะทั่วไป


การเมืองการปกครอง


สถานที่ท่องเที่ยว


ผลการพัฒนาอำเภอในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และปัญหาความต้องการ


วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ และยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอแต่ละด้าน/สาขา


ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข


ข้อเสนอแนะ






























































































































































































































 
  • วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ และยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ แต่ละด้าน/สาขา
  • 1. วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ 5 ปี

    ข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และประชาชนทุกคน จะร่วมมือประสาน พัฒนา ให้บังเกิด

         1. พัฒนาให้กิ่งอำเภอช้างกลางเป็นแหล่งเศรษฐกิจทางการเกษตร และอุตสาหกรรม

         2. พัฒนาให้บริการขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

         3 จัดให้เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรม และศาสนา และเมืองท่องเที่ยว

         4. ส่งเสริมศักยภาพคน ชุมชน ครอบครัว และการศึกษา

         5. ปวงประชาปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน อาชญากรรม ยาเสพติด และอุบัติเหตุ

    2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ และแนวทางการพัฒนา (พ.ศ. 2545 - 2549) เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของอำเภอ จึงกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้

         1.ด้านพัฒนาเศรษฐกิจทางการเกษตรและอุตสาหกรรม

         2. ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

         3. ด้านศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และการท่องเที่ยว

         4. ด้านชุมชน ครอบครัว และการศึกษา

         5.ด้านความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน อาชญากรรม ยาเสพติด และอุบัติเหตุ

  • ด้านพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
  •      1. สภาวะแวดล้อม

           โอกาส

         1) เป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม

         2) สภาพพื้นที่มีศักยภาพ เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิตเกษตร

         3) มีแรงงานเพียงพอ

         4) เกษตรมีความชำนาญ และทักษะในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร

           ข้อจำกัด

         1) เกษตรกรยังทำการเกษตรแบบล้าหลัง

         2) ในบางพื้นที่ยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร เช่น การคมนาคม และแหล่งน้ำการเกษตร

         3) คุณภาพผลผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน

         4) ราคาผลผลิตทางการเกษตรไม่แน่นอน

         5) ขาดข้อมูลข่าวสารทางด้านการเกษตร

  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  •      1. สภาวะแวดล้อม

            โอกาส

         1) มีถนนเชื่อมโยงทุกหมู่บ้าน

         2) มีแม่น้ำลำคลอง ที่มีน้ำไหลตลอดปี

         3) มีฝนตกชุกตลอดปี

           ข้อจำกัด

           1) ถนนที่เชื่อมโยงหมู่บ้านยังไม่ได้ขนาด และไม่สามารถใช้เส้นทางได้ทุกฤดูกาล

         2) แม่น้ำลำคลองมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสมที่จะมาพัฒนามาใช้ประโยชน์

         2. สถานภาพขององค์กร

            จุดอ่อน

         1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดข้อมูลและแผนพัฒนาถนนในระยะยาว

           2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดแผนพัฒนาแหล่งน้ำ

           3) ขาดการประสานงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์

           4) การอนุมัติดำเนินการตามโครงการล่าช้า

           จุดแข็ง

         1) อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการก่อสร้าง

           แนวทางการพัฒนา

         1) ก่อสร้างถนน ปรับปรุงถนนในอำเภอให้สามารถใช้ได้ในฤดูฝนอย่างสะดวกทุกสาย สำหรับการก่อสร้างถนนใหม่ให้เป็นไปตามสถานะทางการคลังของ อบต. และหน่วยงานที่รับผิดชอบของถนนแต่ละสาย

         2) จัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว

         3) ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อขยายเขตไฟฟ้าร่วมกันระหว่าง อบต. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

         3.  ด้านศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และการท่องเที่ยว

           สภาวะแวดล้อม

           โอกาส

         1) มีโบราณสถาน ด้านศาสนา โดยเฉพาะวัดธาตุน้อย และวัดสวนขัน เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

         2) มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญ ได้แก่ น้ำตกท่าแพ น้ำตกบ้านนา สามารถพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้

           ข้อจำกัด

         1) ขาดการประชาสัมพันธ์

         2) ป่าไม้ถูกทำลาย

         3) ประชาชนขาดจิตสำนึก

         4) ขาดงบประมาณ

           สถานภาพขององค์กร

            จุดอ่อน

         1) งบประมาณในการบริหารมีน้อย

         2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีศักยภาพในการบริหาร

         3) เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง

           จุดแข็ง

         1) รัฐธรรมนูญและกฎหมาย กำหนดให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการดูแล รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         2) มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งอยู่ในพื้นที่ทำให้สามารถประสานการปฏิบัติงานด้านป้องกัน และปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         3) ราษฎรให้ความสนใจในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และศรัทธาในโบราณสถานด้านการศาสนา ดังกล่าว

           แนวทางการพัฒนา

         1) ส่งเสริมให้ประชาชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

         2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับ ททท. ในการบริการการท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม

    4. ด้านชุมชน ครอบครัว การศึกษา

           สภาวะแวดล้อม

            โอกาส

         1) สถานศึกษาในอำเภอในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา สามารถรองรับที่จะเข้าเรียนได้อย่างเพียงพอ

         2) รัฐบาลมีเงินทุนสำหรับการศึกษาภาคบังคับ

         3) ท้องที่ชนบทมีอากาศบริสุทธิ์ มีพืชปราศจากสารพิษ

         4) ประชาชนให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

            ข้อจำกัด

         1) ประชาชนมีรายได้น้อย ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งบุตรศึกษาถึง ป.6

         2) ประชาชนขาดความรู้ด้านสาธารณสุข และรัฐจัดสรรงบประมาณ ไม่เพียงพอ

            สถานภาพขององค์กร

            จุดอ่อน

         1) หลักการบริหารกิจการ กำหนดจากส่วนกลาง

         2) ชุมชนและโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันน้อย

         3) ขาดบุคลากรและสถานบริการสาธารณสุขไม่เพียงพอ

         4) องค์กรให้ความสำคัญน้อย

            แนวทางการพัฒนา

         1) ใน อบต. มีบทบาทในการสนับสนุนสถานศึกษา เด็กก่อนวัยเรียน

         2) ส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียน

         3) พัฒนาบริการทางด้านสาธารณสุข

    5. ด้านความปลอดภัย

            สภาวะแวดล้อม

            โอกาส

         1) รัฐบาลทุกสมัย เน้นหนักในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

         2) มีหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และด้านป้องกันปราบปรามยาเสพติดเป็นการเฉพาะ

         3) กระแสต่อต้านยาเสพติด เป็นกระแสโลก

            ข้อจำกัด

         1) ชุมชนกลัวอิทธิพล

         2) เยาวชนเอาเยี่ยงอย่างทำให้มีการระบาดของการเสพยาเสพติด

         3) รักพวกพ้อง ทำให้เกิดการปกปิดการกระทำผิดกฎหมาย

            สภาพภาพขององค์กร

           จุดอ่อน

         1) หน่วยงานรับผิดชอบขาดการประสานงาน

         2) ขาดงบประมาณ

         3) บุคลากรของหน่วยงานของรัฐบาลส่วนบกพร่องทางจริยธรรม ใช้อำนาจโดยมิชอบ

           จุดแข็ง

    1) มีกฎหมายบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2) มีกำลังตำรวจ และพนักงานฝ่ายปกครองอยู่ในทุกระดับตำบลและ หมู่บ้าน

           แนวทางการพัฒนา

    1) ส่งเสริมให้หมู่บ้านปลอดยาเสพติดทุกหมู่บ้าน ในระดับประชาคมหมู่บ้าน

    2) เพิ่มบทบาทของประชาชน และฝ่ายปกครองให้มีส่วนร่วมในการป้องกันความสงบเรียบร้อยในชีวิตและทรัพย์สินร่วมกับตำรวจ


    กลับสู่หน้าแรก