www.tungsong.com

ประวัติ


ลักษณะทั่วไป


การเมืองการปกครอง


สถานที่ท่องเที่ยว


ผลการพัฒนาอำเภอในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และปัญหาความต้องการ


วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ และยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอแต่ละด้าน/สาขา


ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข


ข้อเสนอแนะ
















 
  • ลักษณะทางกายภาพ
  •  
    กิ่งอำเภอช้างกลาง ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 236 ตารางกิโลเมตรมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
     
      ทิศเหนือ
      จดอำเภอฉวาง
     
      ทิศใต้
      จดอำเภอนาบอน
     
      ทิศตะวันออก
      จดอำเภอลานสกา
     
      ทิศตะวันตก
      จดอำเภอนาบอน อำเภอฉวาง
     
  • ลักษณะภูมิประเทศ
  •  
    ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของกิ่งอำเภอช้างกลาง เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา ประกอบด้วย ป่า เป็นป่าละเมาะ และภูเขา พื้นที่โดยทั่วไปปลูกยางพารา สวนผลไม้ และทำนาในเขตพื้นที่ราบลุ่ม เป็นแหล่งต้นกำเนิด แม่น้ำตาปี ได้แก่ คลองจัง คลองมิน คลองจันดีใหลลงสู่คลองฉวาง และมีภูเขาสำคัญได้แก่ เขาหลวง เขาธง เขาเหมม ลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวนี้เป็นสิ่งเอื้ออำนวยและเหมาะต่อการพัฒนาทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นอย่างดียิ่ง
     
  • ลักษณะภูมิอากาศ
  •  
    ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ
        * ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม
        * ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนธันวาคม
     
  • ประชากร
  •  
    กิ่งอำเภอช้างกลางมีประชากรจำนวน 31,043 คน แยกเป็นชาย 15,501 คนเป็นหญิง 15,501 คนโดยเฉลี่ยมีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 150 คนต่อตารางกิโลเมตร ตำบลที่มีประชากรมากที่สุด คือตำบลช้างกลางจำนวน 18,031 คน รองลงมาคือ ตำบลหลักช้างกลาง จำนวน 7,779 คน และตำบลสวนขัน จำนวน 5,233 คน
     
  • พื้นที่และการใช้ประโยชน์
  •  
    สืบเนื่องจากการที่บริเวณกิ่งอำเภอช้างกลางเป็นป่า และต่อมาราษฎรได้เข้ามาทำมาหากิน ทำสวนยาง สวนผลไม้ นาข้าว อาศัยอยู่กันเป็นหย่อม ๆ โดยมีบริเวณพักอาศัยกระจายตัวตามที่ดินทำกิน และเมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น การตั้งบ้านเรือนก็หนาแน่นขึ้น และกระจายไปตามแนวเส้นทางคมนาคม ทำให้บริเวณชุมชนยังขาดการเกาะกลุ่มของชุมชน
    การถึอครองที่ดิน กิ่งอำเภอช้างกลางได้ออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่ราษฎรมีรายละเอียด ดังนี้
        -   โฉนดที่ดิน          จำนวน   92  แปลง
        -   หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( น.ส. 3 ก.)   จำนวน  7,756 แปลง
        -   หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 )   จำนวน  1,243  แปลง
        -   หนังสือสำคัญสำหรับที่หลาวง (น.ส.ล.)   จำนวน  -  แปลง

    กลับสู่หน้าแรก