|

การให้น้ำและการปฐมพยาบาล การให้น้ำไก่และการปฐมพยาบาล เมื่อหมดอันในการต่อสู้ พี่เลี้ยงหรือมือน้ำ จะนำไก่ไปให้น้ำหรือพานน้ำดังกล่าวแล้ว และจะทำการปฐมพยาบาลให้ไก่มีสภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ๑. การให้น้ำหรือพานน้ำในระหว่างอัน ต้องลูบน้ำให้ตัวเปียกบางจุดเท่านั้น ได้แก่ ใต้ท้อง หน้าอก ใต้ปีก ขา คอด้านหน้า อุดหรือส่วนท้าย แต่ก่อนจะให้น้ำนั้น ต้องใช้วิธีเอาเสมหะและเลือดออกจากลำคอไก่เสียก่อน โดยใช้ขนไก่แข็ง (ขนปีก) ที่เตรียมมา ยอนคอ แล้วหมุนจนติดเสมหะและเลือดที่คั่งค้างอยู่ออกมาจนหมด การให้น้ำระหว่างอันนี้เรียกว่า อัดน้ำ โดยใช้ผ้าชุบน้ำให้ชุ่มแล้วเช็ดใต้ปีกหรือสีข้างของไก่จะต้องไม่ให้น้ำเปียกขน สร้อย คอ ปีกใหญ่ และหาง เพราะจะทำให้ไก่บินไม่คล่อง ขาดความประเปรียวหลบหลีกไม่ทัน ๒. ต้องช่วยกันสำรวจว่ามีบาดแผลตรงใหนบ้าง ถ้ามี บาดแผลต้องใช้เข็มเย็บผ้าและด้ายเย็บบาดแผลที่ถูกแทง เพื่อป้องกันไม่ให้ฟองอากาศเข้าไป อันจะเกิดอาการ พองลม แผลก็จะอักเสบ๓. ฉาบเบื้องหรือคมเบื้อง (โร่เบื้องก็เรียก) ที่แผลเพื่อให้เกิดอาการชาบรรเทาความเจ็บปวดและอักเสบ๔.ถ้าตาเจ็บลืมตาไม่ได้ ต้องล้างตาแล้วเย็บดึงให้ตาเปิดกว้างออก โดยเย็บถ่วงตรงขอบตาล่างเรียกว่า ถ่วงตา ทั้งนี้เพราะไก่กะพริบตาจากล่างขึ้นบนการเย็บที่ใช้เข็มด้ายธรรมดา ถ้าเย็บหนังตาบนกับหนังตาล่างดึงรั้งไว้ให้ตาเปิดเรียกว่า ขลิบตา หรือ ยิบตา และถ้าลูกตาหรือนัยน์ตาแตกต้องเย็บปิดเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกฃ้ำอีก เมื่อเย็บแล้วก็จะทิ้งเงื่อนให้โผล่ออกมา เพื่อเวลาชนคู่ต่อสู้ถูกเงื่อนจะได้รู้ตัวและไหวตัวต่อสู้ได้ทัน
|