<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - สถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม


 
  สนามชนไก่
 
        สนามชนไก่                   

การขออนุญาตเพื่อขอจัดตั้งบ่อนไก่ นายบ่อนจะต้องไปทำคำร้องถึงนายอำเภอ แจ้งความประสงค์ในการจัดตั้งบ่อนไก่โดยระบุสถานที่และวันเวลาการชนไก่ให้ชัดเจน ทางอำเภอก็จะเสนอเรื่องตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุมัติตามกฎกระทรวงลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2503 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ. การพนันประเภทเดียวกับการชนโค กัดปลา และชนไก่ พุทธศักราช 2478 และระเบียบของ กระทรวงมหาดไทยออกตาม พ.ร.บ. พ.ศ.2525 ตามกฎกระทรวงดังกล่าว อนุญาตให้ชนไก่ได้เดือนละ 2 ครั้ง เริ่มได้เร็วกว่า 06.00 น.และเลิกไม่ช้ากว่า 18.00 น. ในบ่อนห้ามมีการจำหน่ายสุรา ต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัดเมื่อฝ่าฝืนอาจถูกยึดใบอนุญาตบ่อนหรือสนามชนไก่โดยทั่ว ๆ ไป มักจะปลูกเป็นเรือนไม้ หลังคามุงจาก เพื่อคุ้มแดดคุ้มฝนสำหรับไก่และนักเลงไก่แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วหลายแห่งจากโรงเรือนปลูกด้วยไม้เป็นเสาคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้องมีอัฒจันทร์สำหรับคนดูสำหรับคนเล่นก็เป็นคอนกรีตหมดตัวสังเวียนทำเป็นวงกลมก็กว้างขึ้นจากเดิม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เมตรขอบสังเวียนบุด้านในด้วยโฟมหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี เรียกว่า "เปาะ" หรือ "ป้อ"พื้นดินภายในสังเวียนหรือเปาะจะถูกกระทุ้งจนแน่นราบเรียบ ก่อนเริ่มชนทุกครั้งต้องทำความสะอาดและใช้น้ำพรมให้ชุ่มอยู่เสมอ และยังมีพัดลมเพดานติดตั้งไว้เพื่อบรรเทาความร้อนแก่นักเลงชนไก่ภายในบริเวณสนามจะมีห้องน้ำไก่ 1 ห้อง กว้างพอที่จะให้พี่เลี้ยงหรือ "มือน้ำ" ทั้งสองฝ่ายให้น้ำไก่ได้ การให้น้ำไก่ต้องทำในห้องเดียวกัน และน้ำที่จะให้น้ำไก่ก็จะต้องตักมาจากแหล่งเดียวกัน

[กลับสู่หน้า "กีฬาพื้นบ้าน"
 
[ การชนไก่] [ประเภทของไก่] [ไก่ชนไทย] [การเปรียบไก่] [การผสมพันธ์] [สนามชนไก่] [การแข่งขัน]
[การต่อเดือย] [การพนันขันต่อ] [การวางไก่] [การให้น้ำและการปฐมพยาบาล] [เกณฑ์การตัดสิน]
[จุดอันตรายของไก่] [การต่อสู้] [ลักษณะชั่วดีของไก่] [สีของไก่ชน]