<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - สถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม


 
  การวางไก่
 
        การวางไก่    การวางไก่เมื่อทั้งสองฝ่ายนำเงินเดิมพันรวมทั้งค่าน้ำไปวางไว้กับนายบ่อน และตกลงกติกาปลีกย่อยกันแล้ว เจ้าของไก่ทั้งสองจะนำไก่เข้าไปในห้องน้ำเพื่อ แต่งไก่ ให้พร้อมที่จะชนคือให้น้ำหรือพานน้ำเช็ดหน้าเช็ดตา เมื่อถึงสัญญาณจะมีคนตีเครื่องบอกสัญญาณ คือ เหลาะ หรือ เกราะ แต่ในปัจจุบันนี้บางแห่งใช้นกหวีด มือน้ำหรือเจ้าของไก่ทั้งสองก็จะนำไก่ของตนเข้าสังเวียน ก่อนชนจะต้องเช็ดล้างไก่อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามตรวจสอบดูว่าไม่มีการใช้ยาหรือสิ่งที่เป็นพิษทาตัวไก่ให้ฝ่ายตรงข้ามได้รับพิษนั้น ฃึ่งจะดูละเอียดเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความละเอียดถี่ถ้วนของแต่ละคน จากนั้นก็ล้างแข้งล้างเดือยโดยใช้น้ำของสนามหรือของบ่อน มีน้ำผสมผงฃักฟอกมาขัดถูบริเวณแข้งไก่และเดือยไก่ แล้วล้างด้วยน้ำมะนาวอีกทีหนึ่ง เสร็จแล้วจึงเริ่มปล่อยไก่เข้าต่อสู้กัน โดยส่งไก่ของตนให้กรรมการกลางเป็นผู้ปล่อย เรียกตามภาษานักเลงไก่ชนว่า "วางไก่" ในการนั่งของมือน้ำที่เอาไก่เข้าสังเวียนแล้วเพื่อเช็ดล้างแสดงความบริสุทธิ์ มือน้ำที่มีความเชื่อแบบโบราณจะนั่งในทิศทางที่เป็นมงคล ฃึ่งมีอยู่หลายครูหลายตำราฃึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า ตัวอย่างเช่น ทั้งสองฝ่ายจะเลือกนั่งในทิศทางให้ถูกตำราด้วย คือจะไม่นั่งหรือปล่อยไก่ใน ทิศผีหลวง หรือหลาวเหล็ก เช่น วันอาทิตย์ห้ามหันหน้าไปสู่ทิศพายัพ จันทร์ห้ามทิศบูรพา อังคารห้ามอีสาน พุธห้ามอุดร ฟฤหัสบดีห้ามทักษิณ ศุกร์ห้ามประจิม เสาร์ห้ามอาคเนย์ ฯลฯ

[กลับสู่หน้า "กีฬาพื้นบ้าน"
 
[ การชนไก่] [ประเภทของไก่] [ไก่ชนไทย] [การเปรียบไก่] [การผสมพันธ์] [สนามชนไก่] [การแข่งขัน]
[การต่อเดือย] [การพนันขันต่อ] [การวางไก่] [การให้น้ำและการปฐมพยาบาล] [เกณฑ์การตัดสิน]
[จุดอันตรายของไก่] [การต่อสู้] [ลักษณะชั่วดีของไก่] [สีของไก่ชน]