www.tungsong.com
กลับหน้าแรก
ด้านกายภาพ
การเมือง การปกครอง
เศรษฐกิจ
สังคม
โครงสร้างพื้นฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติ
ศักยภาพและโอกาส
วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์
 
วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอปากพนัง
  พลเมืองใฝ่เรียนรู้อยู่เป็นนิจ
 
-  ปัจจุบัน ประชาชนปากพนังได้รับการศึกษาค่อนข้างสูง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอัตราการเรียนต่อสูงทุกระดับ และพื้นฐานเด่นประกอบกับการมีภาวะผู้นำ ทำให้คนปากพนังใฝ่เรียนรู้ ช่างคิด มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีความจริงใจ
-  เป้าหมาย พ.ศ. 2550 อำเภอปากพนังต้องใช้การศึกษานำการพัฒนาสู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิผล มีความรับผิดชอบสูง ไม่หลงวัตถุ และมีใจยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น มีจิตสาธารณะ นำปัญหาสู่ประชาคม เป็นนักจัดการที่ดี เคารพในกฏกติกาของสังคม มีการจัดระบบการทำงานในการบริการผู้อื่น
  ร่วมสานกิจพัฒนารักษาถิ่น
 
-  ปัจจุบัน อำเภอปากพนังมีพื้นที่และจำนวนประชากรมากที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือมีทั้งหมด 17 ตำบล 135 หมู่บ้าน มีหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมเต็มพื้นที่ ประกอบด้วย เทศบาลเมือง 1 แห่ง มีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 17 แห่ง และมีประชาคมทุกหมู่บ้าน ตำบล แต่ที่ผ่านมาการพัฒนาทุกองค์การ มีลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่ประสานสอดคล้องกับเท่าที่ควร เป้าหมาย พ.ศ. 2550 ประชาคมอำเภอปากพนัง ต้องรวมตัวเป็นกลุ่มองค์การประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการจัดการปกครองท้องถิ่นอย่างมีระบบ มีศักยภาพในการบริหารจัดการสูงโดยประสานเชื่อมโยงทุกพื้นที่ทั่วทั้งอำเภอ
  ชีวิตมีคุณภาพทั้งแผ่นดิน
 
-  ปัจจุบัน ยังมีการทำงานเพื่อชุมชนค่อนข้างน้อย ประกอบกับองค์การชุมชนมีอยู่จำนวนน้อย และยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ภาคธุรกิจยังไม่มีการรวมตัวและไม่มีความเข้มแข็งพอ ภาคการเมืองยังอยู่ในระบบผูกขาด ภาวะเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ยังไม่ดีพอ ประชาชนยังต้องดูแลสุขภาพได้ในระดับปานกลาง และยังขาดความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งปัญหายาเสพติดได้แพร่กระจายไปสู่เด็กและเยาวชนอย่างรุนแรง เด็กยังขาดการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม บุคคลผู้สูงอายุขาดการดูแลและถูกทอดทิ้ง ทำให้คุณภาพชีวิตเสื่อมลงทุกขณะ
-  เป้าหมาย พ.ศ. 2550 อำเภอปากพนังต้องเป็นอำเภอที่มีประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น มีความปลอดภัยในชีวิตสูง มีสายใยผูกพัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีจิตสำนึกสาธารณะ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
  เป็นท้องถิ่นวัฒนธรรมค้ำสังคม
 
-  ปัจจุบัน อำเภอปากพนังมีมรดกทางวัฒนธรรม มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตที่ดีงามที่มีคุณค่ามากมาย แต่ยังไม่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาให้สังคมเข้มแข็ง ผู้คนมีจิตสาธารณะน้อยมาก กลุ่มชุมชนมีสภาพอ่อนแอและมีเครือข่ายน้อย ไม่สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรม และนำมรดกทางวัฒนธรรมมาฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และก่อให้เกิดวัตถุนิยมบริโภคนิยม
-  เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 อำเภอปากพนังต้องมีองค์กรหลายระดับและชัดเจน มีการเชื่อมโยงเครือข่ายในท้องถิ่น ให้ชุมชนมีความเกื้อกูล สร้างสรรค์มีสัมพันธภาพที่ดี ทั้งในชุมชนด้วยกันเองและระหว่างชุมชน สังคมมีค่านิยมถือความถูกต้อง ดีงาม ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตและสังคม ทั้งโกลแต่ไม่ตามกระแสโลกที่ทำให้ตกต่ำและอ่อนแอทางวัฒนธรรมมีเครือข่ายเพื่อพัฒนาในลักษณะที่ดี ระหว่าง บ้าน สถาบันศาสนา สถานศึกษา ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคราชการ และสื่อมวลชน ฯลฯ และมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มความสามารถ
 
ปัจจุบัน อำเภอปากพนัง เป็นอำเภอที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางเศรษฐกิจไม่ว่าการเกษตร การประมง อุตสาหกรรรม พาณิชยกรรม ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง มีผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมมากมาย เหมาะในการพัฒนา มีอัตราการออมสูง มีกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนหลายกลุ่ม มีรายได้จาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเต็มพื้นที่ในเขตน้ำเค็ม แต่มีปัญหาที่กระทบคือด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในชนบท และที่สำคัญก็คือยังขาดประสิทธิภาพในการจัดการน้ำเพื่อประกอบอาชีพ มีปัญหาในเรื่องแนวเขตน้ำจืด น้ำเค็ม เพื่อการประมงเลี้ยงกุ้งและภาคเกษตรกรรม
-  เป้าหมาย ปี 2550 เศรษฐกิจของอำเภอปากพนังต้องมีการเติบโต มีการขยายตัวทั้งภาคเกษตร อุตสากรรมและการพาณิชย์ มีการทำการประมงที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ โดยประชากรต้องมีรายได้สูงกว่าเกณฑ์ของประเทศ มีการออมเพิ่มขึ้นของแต่ละกลุ่มประชาคม ชุมชนต่าง ๆ
  สิ่งแวดล้อมสมดุลย์ดีอย่างเหมาะสม
 
-  ปัจจุบัน อำเภอปากพนังมีพื้นที่เหมาะสมแก่การเกษตรกรรม โดยเฉพาะนาข้าวแปลงเกษตรผสมผสาน แปลงพืชผักต่าง ๆ มีการประมง ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นส่วนใหญ่ สภาพแวดล้อมถูกบุกรุกและถูกทำลาย โดยเฉพาะพื้นที่ป่าชายเลนถูกทำลายเพื่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม มีการใช้สารเคมีก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมจนเสียความสมดุลย์ มีการขัดแย้งในการจัดการ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ชุมชน ยังขาดประสิทธิภาพ และที่สำคัญก็คือยังขาดจิตสำนึกในการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-  เป้าหมาย ปี 2550 อำเภอปากพนัง จะต้องเข้มงวดกวดขันในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำและพลังงานสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งในเขตเมือง ชุมชน ชนบท ให้มีความสมดุลย์ มีมาตรการกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง และการกำกับดูแลมลพิษต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ ภายใต้แผนงานด้านการรักษา ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ทางทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
  สู่ศูนย์กลางภูมิภาคน่านิยม
 
-  ปัจจุบัน อำเภอปากพนัง เป็นแหล่งผลิตอาหาร มีศูนย์กลางตลาดกลางกุ้ง มีท่าเทียบเรือน้ำลึก มีโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแหลมตะลุมกพุก มีประวัติศาสตร์ด้านประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมอันดีงามแต่ขาดการใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่
-  เป้าหมาย ปี 2550 อำเภอปากพนังเป็นแหล่งผลิตอาหาร และผลิตผลด้านเกษตร มีแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน มีอุตสาหกรรม แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี
  ประชาคมรวมพลังสร้างเมืองนคร
 
-  ปัจจุบัน ประชาชนในพื้นที่อำเภอปากพนังมีความตื่นตัวในการรวมกลุ่ม โดยการจัดตั้ง มิได้เกิดขึ้นมาโดยความสมัครใจ การเชื่อมประสานระหว่างองค์การยังไม่เพียงพอ ตลอดจนขาดผู้น้ำที่เข้มแข็ง ขาดจิตสำนึกสาธารณะ ขาดการรวมพลัง มีลักษณะต่างคนต่างทำ
-  เป้าหมาย ปี 2550 ให้มีกลุ่มองค์กรประชาชน ประชาคมอำเภอ ตำบล หมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีจิตสำนึกสาธารณะรักชุมชนท้องถิ่น มีการร่วมมือพัฒนาในทุกพื้นที่ มีบรรยากาศเต็มไปด้วยการประสานร่วมมือ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสืบไป
  ย้อนขึ้น