www.tungsong.com
กลับหน้าแรก
ด้านกายภาพ
การเมือง การปกครอง
เศรษฐกิจ
สังคม
โครงสร้างพื้นฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติ
ศักยภาพและโอกาส
วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์
 
ศักยภาพและโอกาส
 
ศักยภาพและโอกาสของอำเภอ ผลการพัฒนาในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา
1. ศักยภาพและโอกาสของอำเภอปากพนัง อำเภอปากพนัง หากมองศักยภาในภาพรวม พอที่จะสรุปศักยภาพและปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาอำเภอในอนาคต ได้ดังนี้ เนื่องจากพื้นที่อำเภอปากพนังเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังและน้ำเค็มท่วมถึงในบางฤดูกาลผู้ประกอบอาชีพทำสวน สวนผัก มะพร้าว ส้มโอ ฯลฯ การทำสวนส้มโอเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนนครศรีธรรมราช และบุคคลทั่วไป ได้แก่ ส้มโอบ้านแสงวิมาน อำเภอปากพนังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมาก การประมงทะเล ประมงชายฝั่ง ประมงน้ำจืดและการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มีพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงประมาณ 7,500 ไร่ แต่ปัจจุบันประสบปัญหาการขาดทุน ทำให้เกษตรกรต้องประสบปัญหาหยุดกิจการไปเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าวอำเภอปากพนังจึงได้มีโครงการสำคัญเกิดขึ้นคือ
-  โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
-  โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำเค็มปากพนัง เพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลโดยใช้เทคโนโลยีแผนใหม่และระบบชลประทานน้ำเค็ม (บ้านทุ่งหน้าโกฎ) โดยเฉพาะโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ในการบรรเทาอุทกภัยการเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูก การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มเพื่อการเพาะปลูกและการป้องกันน้ำเค็มมิให้ทำความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูก มีประตูระบายน้ำพร้อมด้วยคันกั้นน้ำตามความเหมาะสม สำหรับทำหน้าที่เก็บกักน้ำจืดไว้ในแม่น้ำปากพนังเพื่อใช้ในการเกษตร และป้องกันน้ำเค็มมิให้ไหลเข้าในแม่น้ำปากพนัง (เป็นการแยกพื้นที่น้ำจืดกับน้ำเค็มออกจากกัน) เมื่อโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว เกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากโครงการฯ คือ สามารถประกอบอาชีพภาคเกษตรได้ทุกฤดูกาล สามารถปรับพื้นที่เป็นภาคเกษตรแผนใหม่ (ไร่นาสวนผสม) ศักยภาพและโอกาสของอำเภอปากพนัง หากมองศักยภาพในภาพรวมพอที่จะสรุป ศักยภาพและปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาอำเภอ ดังนี้
1.1 พื้นที่ทั่วไปเป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เหมาะแก่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และการประมง
1.2 พื้นที่ทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นพื้นที่ที่ราบลุ่มดินเหนียว เหมาะแก่การทำนาข้าวและปลูกพืชผักสวนครัว
1.3 อำเภอปากพนังมีแม่น้ำปากพนังไหลผ่าน เหมาะแก่การเกษตรกรรม มีการแบ่งเขตพื้นที่น้ำเค็ม น้ำจืด มีการทำนาข้าว ปลูกพืชผัก ผลไม้ และในเขตพื้นที่น้ำเค็ม มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้แก่ ปู กุ้ง โดยเฉพาะการทำนากุ้งผลผลิตรวมต่อปีทำรายได้ให้เกษตรกรในเขตพื้นที่ปีละหลายร้อยล้าน ก่อให้เกิดรายได้ เกิดการจ้างงานและส่งเสริมการลงทุน
1.4 โบราณสถาน โบราณวัตถุ ในเขตอำเภอปากพนัง มีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง มีแหล่งท่องเที่ยว เช่น เกาะนางโดย แหลมตะลุมพุก โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมมากพอสมควร ก่อให้เกิดรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่
 
2. ผลการพัฒนา 5 ที่ผ่านมาเมื่อประเมินผลงานของแต่ละส่วนราชการแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ตามความต้องการ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่จากการที่ได้มีประชาคมเกิดขึ้นทุกหมู่บ้าน จะเห็นได้ว่าราษฎรในพื้นที่ยังมีความยากจนมีความต้องการด้านสาธารณูปโภคสูง และต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โทรศัพท์สาธารณะ ไฟฟ้าใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต้องการเครื่องมือการเกษตร จากากรประมวลสภาพพื้นที่เห็นได้ว่าอำเภอปากพนังมีสถาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ดินเหนียว มีปัญหาเรื่องถนนหนทาง โดยเฉพาะประชาคมมีความต้องการด้านถนนหนทางค่อนข้างสูงเกือบทุกตำบล สังเกตุได้จากแบบแสดงปัญหาหลัก และตำบลเป้าหมายของอำเภอ (แบบ ผอ.5)
  ย้อนขึ้น