![]() |
![]() |
[ มลพิษ ] | [ อากาศ ] | [ เสียง ] | [ สารพิษ ] |
มลพิษและสารมลพิษ |
มลพิษ (Pollution) หมายถึงสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าพึงพอใจหรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายขึ้นได้ เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง เป็นต้น
มลพิษเกิดขึ้นได้ในหลายด้าน แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะมลพิษที่เริ่มเป็นปัญหาและสามารถเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น มลพิษทางน้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของชีวิต น้ำถูกนำมาใช้ในการอุปโภคและบริโภค และน้ำเมื่อถูกใช้แล้วก็ถูกปล่อยทิ้งออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอีกครั้งระบบการหมุนเวียนดังกล่าวได้เกิดเป็นปัญหาขึ้น เมื่อน้ำถูกนำมาใช้ในครัวเรือน ในการเกษตร และในการอุตสาหกรรม ในอัตราสูง และถูกปล่อยทิ้งออกสู่แหล่งน้ำในลักษณะของน้ำเสีย ในปริมาณที่มากเกินขีดจำกัดของความสามารถที่แหล่งน้ำธรรมชาติจะปรับตัวได้ทัน ทำให้น้ำมีคุณค่าต่ำลงและที่สุดก็กลายเป็นน้ำเน่าเสีย สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก |
ปัญหามลพิษทางน้ำมีสาเหตุสำคัญมาจาก |
1. น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งน้ำเสียจากขบวนการผลิต การล้าง ขบวนการ หล่อเย็น เป็นต้น แม้ว่าจะมีกฏหมายบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องบำบัดน้ำทิ้งเหล่านี้ก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้อย่างทั่วถึง 2. อาคารบ้านเรือนและชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนเขตเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นทุกครัวเรือนปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง มิได้ผ่านขบวนการกำจัดใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงสู่แม่น้ำลำคลองอันเป็นการเพิ่มความสกปรกให้กับแหล่งน้ำต่างๆ อีกด้วย 3. การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในกระบวนการเพาะปลูกมักมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูพืชและสัตว์ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้อย่างขาดความระมัดระวัง ทำให้สารเคมีแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการฉีดพ่นสาร การชะล้างโดยฝน การล้างภาชนะที่บรรจุหรืออุปกรณ์การฉีดพ่นในแหล่งน้ำ การเลี้ยงสัตว์ก็มักจะมีการถ่ายเทมูลสัตว์ลงสู่แหล่งน้ำซึ่งนอกจากจะทำให้แหล่งน้ำสกปรกแล้วยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอีกด้วย ปัจจุบันรัฐบาลได้พยายามดำเนินการป้องกันและแก้ไขคุณภาพของแม่น้ำสายสำคัญๆ ของประเทศ โดยการใช้มาตราการต่างๆ เช่น กฏหมาย การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ การวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น มลพิษทางอากาศปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ มากมาย ประเทศไทยจะพบปัญหาดังกล่าวมากในพื้นที่อยู่ริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่นหรือบริเวณใกล้เคียงกับโรงงานบางแห่ง กรุงเทพมหานครต้องประสบกับปัญหาอากาศเสียมากที่สุด เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมและมีการจราจรหนาแน่น ซึ่งมีบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นจะพบปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดจากยานพาหนะและคาร์บอนมอนอกไซด์สูง มลพิษทางเสียงมลพิษทางเสียงเกิดขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้การนำเอาเครื่องจักรมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม การใช้ยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยกำลังเคลื่อนหน้า การก่อสร้างอาคารด้วยเครื่องมือขนาดใหญ่เหล่านี้ล้วนแต่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงทั้งสิ้น เสียงที่ดังเกินขนาดแล้วย่อมทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินต่อจิตใจ และต่อสุขภาพส่วนความรุนแรงของอันตรายที่ได้รับนั้นขึ้นอยู่กับความดัง ความถึ่และระยะเวลาที่ได้ยินจากการศึกษาขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ทีอาศัยอยู่ในที่ๆ มีระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินกว่า 70 เดซิเบลเอ เป็นเวลานานๆ จะมีผลทำให้ประสาทหูเสื่อมได้ แหล่งมลพิษทางเสียงอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. จากยานพาหนะส่วนใหญ่มีสาเหตุจากท่อไอเสียรถยนต์ แตร เบรค เครื่องเรือหางยาว เป็นต้น ปัจจุบันตามเมืองขนาดใหญ่ๆ มักมีระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงกว่า 70 เดซิเบล โดยเฉพาะบริเวณที่มีการจราจรหนาเน่นและมีตึกแถวเรียงรายอยู่ 2 ฟากถนน 2. จากสถานประกอบการต่างๆได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม โรงมหรสพ สถานเริงรมย์ ต่างๆ จากการสำรวจปรากฎว่าเสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปมีระดับเสียงดัง 60 -120 เดซิเบลเอ ก่อให้เกิดอันตรายแบบค่อยเป็นค่อยไปกับคนงานทำให้คนงานไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของอาการหูงตึงที่เกิดขึ้นกับตนเอง อันตรายจากมลพิษทางเสียง นอกจากมีอันตรายต่อระบบการได้ยินโดยตรงแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น สุขภาพจิต ทำให้มีการกรดหลั่งในกระเพาะอาหารมากกกว่าปกติขาดสมาธิในการทำงาน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงจากทีที่มีเสียงดัง หรือใช้เครื่องป้องกันเสียง |
สารมลพิษ (Pollutants) หมายถึงสารที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ อาทิ ดีดีที และสารพิษจากขบวนการอุตสาหกรรม เช่น ตะกั่ว แมงกานีส ปรอท เป็นต้น สารมลพิษเหล่านี้ บางชนิดก็มีคุณสมบัติสลายตัวได้ภายในเวลาอันรวดเร็วแต่บางชนิดก็สลายตัวช้าหรือไม่สลายตัวเลยทำให้สารมลพิษสามารถมีฤทธิ์ตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ ผลผลิตทางการเกษตร ห่วงโซ่อาหาร เป็นต้นโดยเฑาะในห่งงโซ่อาหาร สารมลพิษ สามารถถ่ายทอดจากพืชซึ่งเป็นผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคขั้นที่ 1 เช่น สาหร่าย แพลงตอนจากผู้บริโภคขั้นที่ 2 เช่น ปลา กุ้ง หอย เป็นต้น และในที่สุดถ่ายทอดไปยังมนุษย์อันเป็นผู้บริโภคขั้นสูงสุด สารมลพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้ ทั้ง 3 ทาง คือ ทางปาก ทางจมูก และทางผิวหนัง
อย่างไรก็ตาม สารมลพิษทั้งสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ และสารจากกระบวนการอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่มีทั้งคุณและโทษ จำเป็ตต้องใช้เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและด้านการพัฒนาประเทศควรมีมาตรการและการควบคุมการใช้สารมลพิษ เพื่อป้องกันให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด |
|