Untitled

http://www.tungsong.com

 
ทรัพยากรธรรมชาติ(น้ำ) ทรัพยากรธรรมชาติ(ดิน) ทรัพยากรธรรมชาติ(ป่าไม้) ทรัพยากรธรรมชาติ(การอนุรักษ์ป่า) ทรัพยากรธรรมชาติ(พืชเกษตร) ทรัพยากรธรรมชาติ(สัตว์ป่า) ทรัพยากรธรรมชาติ(พลังงาน) ทรัพยากรธรรมชาติ(แร่ธาตุ) ทรัพยากรธรรมชาติ(ปะการัง)
น้ำคืออะไร
     ความหมายของคำว่าน้ำนั้นมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นความหมายในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง ของเหลวที่เกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนในภาวะที่เหมาะสมหรือในความหมายของประชาชนทั่วไป ซึ่งหมายถึง สิ่งที่นำมาใช้สำหรับดื่มกิน ชำระล้างร่างกาย ใช้ในการเพาะปลูก การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ เป็นต้นแต่ในความหมายทางสิ่งแวดล้อม น้ำหมายถึง ทรัพยากรที่สำคัญทางธรรมชาติชนิดหนึ่ง นอกเหนือไปจากทรัพยากรธรรมชาติประเภทอื่นๆ เช่น แร่ธาตุ ป่าชายเลน แหล่งปะการัง ฯลฯ น้ำยังเป็นทรัพยากรประเภทที่มีการเกิดขึ้นทดแทน อยู่ตลอดเวลา เป็นวัฏจักร

น้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร

          น้ำที่มนุษย์ใช้แล้วมิได้สูญหายไปไหนแต่จะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกลับมาให้ได้ใช้อีกได้โดยกระบวนการกลั่น การะเหยของน้ำบนผิวโลก และการรวมตัวในบรรยากาศที่เรียกกันว่าวัฏจักร ของน้ำ
          วัฏจักรของน้ำ คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำซึ่งสามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆ คือ เมื่อน้ำตามที่ต่างๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบน เนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศเมื่อลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้น และกระทบกับความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีก เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำเมื่อได้รับความเย็นต่อเนื่องกันตลอดเวลา ทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ

น้ำสำคัญอย่างไร

          น้ำที่มนุษย์ใช้แล้วมิได้สูญหายไปไหนแต่จะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกลับมาให้ได้ใช้อีกได้โดยกระบวนการกลั่น การะเหยของน้ำบนผิวโลก และการรวมตัวในบรรยากาศที่เรียกกันว่าวัฏจักร ของน้ำ
          น้ำ จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของมนุษย์และเป็นสิงที่จำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิตนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เช่นพืชและสัตว์ และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิตทั้งมวล ตลอดจนน้ำยังเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย
          ประโยชน์ของน้ำมีนานัปการ สามารถกล่าว อย่างสังเขปได้ดังต่อไปนี้
          1. การอุปโภคบริโภค มนุษย์ต้องการน้ำสะอาดเพื่อดื่มกิน และใช้ในการประกอบอาหาร มนุษย์ยังใช้น้ำเพื่อชำระร่างกาย ชะล้างสิ่งสกปรกและใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
          2. การเกษตรกรรม พืชและสัตว์ต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต น้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
          3. อุตสาหกรรม น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในขบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม น้ำถูกใช้เป็นวัตถุดิบ ใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อนให้แก่เครื่องจักร ใช้ทำความสะอาด
เครื่องจักรเครื่องยนต์ของโรงงาน และใช้ชะล้างกากและของเสียจากโรงงาน
          4. การคมนาคมขนส่ง การคมนาคมขนส่งทางน้ำนับว่าสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากสามารถขนส่งได้จำนวนมากและเข้าถึงทุกแห่งที่มีแม่น้ำลำคลอง
          5. แหล่งผลิตพลังงาน การไหลของน้ำทำให้เกิดพลังงานขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าและใช้เป็นพลังงานกับเครื่องจักรกลต่างๆ ได้
          6. การพักผ่อนหย่อนใจ น้ำนำความสดชื่นและความรื่นรมย์มาให้แก่มวลมนุษย์ ช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ ในด้านการละเล่นและกีฬาทางน้ำ เป็นต้น

แหล่งน้ำอยู่ที่ไหน?

          แหล่งน้ำที่มีอยู่บนผิวโลก แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามคุณลักษณะและบริเวณที่พบ คือ
          1. มหาสมุทรและทะเล เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากมีพื้นที่ถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นที่ผิวโลกทะเลแบ่งออกเป็นทะเลลึกหรือมหาสมุทรและทะเลบริเวณชายฝั่ง เพราะว่าน้ำในทะเลมีความเค็มเนื่องจากมีเกลือและแร่ธาตุละลายอยู่ จึงทำให้มีข้อจำกัดในการนำน้ำทะเลมาใช้ประโยชน์ เช่น การนำมาใช้ในการเพาะปลูก ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ดื่มกินซึ่งถึงแม้ว่า มนุษย์จะสามารถเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจึดได้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เพราะว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากแต่น้ำทะเลก็ยังมีประโยชน์มากมายในแง่ของเส้นทางคมนาคมขนส่งในทะเล แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอาหารโปรตีนแหล่งใหญ่ที่สุดให้แก่ชาวโลก ตัวผลิตก๊าซออกซิเจนให้แก่มนุษย์ในปริมาณ 75 % เป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนตก เป็นแหล่งที่มาของความชื้นของผิวโลกทั้งหมด และเป็นตัวช่วยสร้างความสวยสดงดงามธรรมชาติ
          2. น้ำผิวดินแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติ ประกอบด้วยแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงน้ำตกส่วนอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนกักเก็บน้ำต่างๆ จัดเป็นแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้ว จะเห็นว่าเรามีน้ำจืดอยู่มากมายแต่ในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่และนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการดำรงชีวิตได้นั้นมีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของน้ำทะเล
     3. น้ำใต้ดิน เป็นแหล่งน้ำอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณน้ำน้อยกว่าแหล่งน้ำ 2 ประเภทแรก กล่าวคือ แหล่งน้ำนี้เกิดจากการที่ผิวดินซึมผ่านพื้นดินลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าแม่น้ำ ลำคลอง และ ทะเลไปสะสมปริมาณน้ำอยู่ด้านล่างแหล่งน้ำ ดังกล่าวนี้ จึงได้ชื่อว่าน้ำใต้ดิน การนำน้ำประเภทนี้ขึ้นมาและสูบขึ้นมา
          ด้วยเหตุที่ว่า น้ำสามารถพบได้ในทุกหนทุกแห่งเสมอในลักษณะและปริมาณที่แตกต่างกันไป มนุษย์จึงได้ใช้น้ำกันอย่างสะดวกสบายและค่อนข้างฟุ่มเฟือย ด้วยความรู้สึกที่ว่า น้ำไม่มีวันจะหมดสิ้น จึงทำให้มนุษย์ละเลยและมองข้ามคุณค่าของน้ำ ซึ่งนอกจากจะไม่สงวนรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีแล้ว ยังกลับทำลายโดยการทิ้งสิ่งโสโครกต่างๆ ทำให้น้ำเน่าเสีย จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในขณะนี้ในบางแห่ง

มลพิษทางน้ำ
น้ำเสียคืออะไร

          ทุกวันนี้ น้ำสะอาดที่เราได้จากแหล่งน้ำตามธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ นั้น น้ำที่ผ่านการใช้ประโยชน์แล้วนี้จะเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำเสียเนื่องจากมีสิ่งที่ปลอมปนอยู่ในน้ำ ได้แก่ น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารที่ทำให้เน่าเหม็น และเชื้อโรคต่างๆ เป็นต้น เมื่อน้ำเสียเหล่านี้ถูกทิ้งกลับลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอีกครั้งหนึ่งจะไปทำให้น้ำสะอาดในแหล่งน้ำธรรมชาติถูกปนเปื้อน ด้วยสิ่งสกปรก เกิดความเน่าเสียและแผ่กระจายไปทั่ว ดังเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างตั้งแต่ปากน้ำจนถึงจังหวัดนนทบุรี น้ำมีสิ่งสกปรกอยู่ในปริมาณสูงโดยเฉพาะหน้าแล้ง น้ำมีคุณภาพต่ำกว่ามาตราฐานที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคได้หรือความสกปรกของน้ำทะเลชายฝั่งที่อ่าวพัทยา เป็นต้น

ใครคือผู้ทิ้งน้ำเสีย

          คำตอบก็คือ "ผู้ที่ใช้น้ำ คือ ผู้ที่ทิ้งน้ำเสีย"เพราะว่า พวกเราทุกคนต่างก็ต้องใช้น้ำในกิจวัตรประจำวันอยู่ตลอดเวลาซึ่งก็เท่ากับว่าพวกเราเป็นผู้ที่ทำให้เกิดน้ำเสียขึ้นและเป็นผู้ทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาตินั่นเอง และถ้าจะแบ่งเแหล่งกำเนิดของน้ำเสียออกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้น้ำแล้วสามารถแบ่งแหล่งกำเนิดน้ำเสียออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. แหล่งชุมชนน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากชุมชนที่อยู่ในเมืองที่มีความเจริญ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองเชียงใหม่ หาดใหญ่หรือน้ำเสียจากชุมชนขนาดเล็กในชนบท ต่างก็มีลักษณะเป็นเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในน้ำเสียประกอบด้วยสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำลำคลองลดลง ผงซักฟอกซึ่งจะทำให้แหล่งน้ำเกิดฟองเป็นภาพที่ไม่น่าดูและสารบางอย่างยังเป็นอันตรายต่อร่างกาย เชื้อจุลินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในน้ำเสียทำให้ผู้ใช้แหล่งน้ำรับเอาจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น อหิวาห์ตกโรค บิด เป็นต้น
          ด้วยการขับทิ้งสิ่งสกปรกลงสู่แหล่งน้ำและการขาดแคลนน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีสาเหตุจากการลดลงของเนื้อป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เนื่องจากความต้องการที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การขยายตัวของชุมชนและความต้องการใช้ไม้ในกิจการต่างๆ จึงทำให้เกิดปัญหาต่อทรัพยากรน้ำและนับวันปัญหานี้จะเป็นปัญหาใหญ่และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจย่อมทำให้ความต้องการใช้น้ำมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ปริมาณน้ำเสียที่ถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว วิธีการในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่เกิดขึ้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการแก้ไขและป้องกันมลภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นเพื่อลดอันตรายที่จะมีต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและมีประสิทธิผลมากที่สุดจะต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา นั่นคือ จะต้องแก้ไขที่ตัว "มนุษย์" ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหมดความมีจิตสำนึกและความร่วมมือจากมนุษย์ในการช่วยกันถนอมรักษาทรัพยากรน้ำ นับว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญสำหรับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้ ดังเช่น การช่วยกันรักษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลองให้สะอาดและดีอยู่เสมอด้วยการไม่ทิ้งสิ่งโสโครก ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลทั้งจากครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ การช่วยกันรักษาแหล่งต้นน้ำลำธารตามธรรมชาติด้วยการไม่ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น ผลประโยชน์ ที่มนุษย์จะได้รับเป็นสิ่งตอบแทนกลับมาก็คือ สภาพแม่น้ำลำคลองที่สะอาดปริมาณน้ำที่ใช้อย่างสมบูรณ์และตลอดเวลาแหล่งน้ำที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ สถานที่สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและการกีฬาทางน้ำ เป็นต้น และในทางกลับกันรัฐบาลยังสามารถประหยัดเงินงบประมาณในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย และสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ ที่จำเป็นทำให้สภาพความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตของประชาชนดีขึ้นในที่สุด


[ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิต ]  [ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ]  [ ระบบนิเวศ]  [ ทรัพยากรธรรมชาติ ]  [ ปัญหาสิ่งแวดล้อม