Untitled

http://www.tungsong.com

 
[ มลพิษ ] [ อากาศ ] [ เสียง ] [ สารพิษ ]
สารพิษ
     ปัจจุบันองค์การทะเบียนสารเคมีระหว่างชาติ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาตืได้รายงานว่ามีสารเคมีจำนวนมากประมาณกว่า 6 ล้านชนิดเกิดขึ้นในโลกทั้งโดยธรรมชาติและโดยการสังเคราะห์ขึ้นในจำนวนนี้ 60,000 ชนิดเป็นสารเคมีที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจการต่างๆ สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือนำมาใช้ในการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นส่วนประกอบในอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค และสาธารณูปโภครวมทั้งยารักษาโรค เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในทุก ๆ ปีจะมีสารเคมีถูกแนะนำสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ประมาณ 1,000 ชนิด สารเคมีทั้งหมดนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ จากการบริโภค การสัมผัสโดยตรงและหรือออกมากับของเสีย ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าสู่สิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารความเป็นพิษของสารเคมีเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณลักษณะการสัมผัส ช่วงเวลาและคุณสมบัติความเป็นพิษของสารเคมีตัวนั้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิต การเจ็บป่วยอย่างรุนแรงหรือเรื้อรัง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณลักษณะการสัมผัส ช่วงเวลาและคุณสมบัติความเป็นพิษของสารเคมีตัวนั้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิต การเจ็บป่วยอย่างรุนแรงหรือเรื้อรังแล้วแต่กรณี และยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนทางพันธุกรรม และความพิกลพิการของร่างกายแต่กำเนิดด้วย

แหล่งกำเนิดของสารพิษ
          1. แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ
          สารพิษที่กำเนิดตามธรรมชาติ อันได้แก่ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดสารพิษได้ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟจะก่อให้เกิดผงฝุ่นและก๊าซพิษชนิดต่างๆ เข้าสู่บรรยากาศโลกนอกจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้ว สารพิษอาจเกิดขึ้นในรูปแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น กำมะถัน ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมี่ยมและรังสีในอากาศ เรดิโอไอโซโทป เป็นต้น
          2. แหล่งกำเนิดจากการสังเคราะห์ของ มนุษย์
          การกำเนิดสารพิษชนิดนี้ นับเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดเพราะสารเคมีหรือสารพิษที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมานั้นเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ สารประกอบในอาหารยารักษาโรค เครื่องสำอางค์ และสารพิษที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังขบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมได้แก่ ก๊าซพิษ ฝุ่นหรือผงจากโลหะหนักรวมทั้งกากสารพิษจากอุตสาหกรรม เป็นต้น
          3. แหล่งกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
          สารพิษสามารถเกิดขึ้นได้จากการสังเคราะห์ โดยพืชสัตว์ และจุลินทรีย์ชนิดต่างๆนั้นให้ปรากฏขึ้นได้นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดโรคกระเพาะ โรคหัวใจ เกิดภาวะ ตึงเครียด ทำให้ชีพจรเต้นผิดปกติ เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เกิดอาการหดตัวของหลอดเลือดเล็กๆ เช่น ที่มือและเท้าได้
แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงของรัฐ
          เนื่องจากปัญหาเรื่องเสียงนับวันจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นและเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์มากขึ้นรัฐจึงได้กำหนดนโยบายให้มีการป้องกันและควบคุมเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพและไม่เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีมาตรการที่สำคัญดังนี้
         1. กำหนดและบังคับใช้มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
         2. จัดให้มีการสำรวจและตรวจสอบเสียงตามแหล่งกำเนิดเสียงและย่านชุมชนต่าง ๆ เป็นประจำ
         3. แก้ไขปรับปรุงมาตราฐานและวิธีการตรวจสอบเสียงให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมและกาลเวลา
         4. กำหนดมาตราการป้องกันเสียง รบ-กวนที่เกิดจากสารประกอบการต่าง ๆ งานก่อสร้าง ซ่อมแซม รื้อและสร้างถนน
         5. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยประชุมและสัมมนาเกียวกับเสียง ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เรื่องเสียงแก่ประชาชน สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างสารมลพิษได้ในตัวของมันเองหรือสร้างขึ้นบนสิ่งที่มันอาศัยอยู่ สารพิษที่ถูกสร้างขึ้นมานี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวมันเองแต่จะก่อให้เกิดพิษภัยอันตรายต่อมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ ที่สัมผัสหรือรับประทานเข้าไป
         สารพิษที่สังเคราะห์โดยพืชหลายชนิด เช่น สารนิโคตินจากใบยาสูบ สารโรดิโนนจากพืชพวกโล่ติ๊น สารพวกไพริทรินจากดอกทานตะวัน สารไชยาไนด์จากมันสำปะหลัง สารไรซินในเม็ดละหุ่ง เป็นต้น
         สารพิษที่สังเคราะห์โดยสัตว์ เช่น สารพวกดิจิตาลิส มีลักษณะเป็นน้ำยางอยู่ในต่อมคางคกสารพิษในหอยบางชนิดซึ่งเกิดจากแพลงค์ตอนบางชนิดในทะเล ได้แก่ พวกไดโนแฟลก เจลเลท (dinoflagellate) เป็นต้น
         สารพิษที่สังเคราะห์โดยจุลลินทรีย์ ได้แก่ สาร Alfatoxin ที่เกิดจากเชื้อรา Aspergillus flavus ที่เจริญบนถั่วลิสง ข้าวโพด และอื่นๆ สาร Botulimum toxin ที่เกิดจากเชื้อบักเตรีพวก Clostridium botulinum ซึ่งจะเกิดในอาหารกระป๋องที่ผลิตไม่ได้มาตราฐาน นอกจากนี้ยังมีสารพิษที่เกิดจากเห็ดพิษ ซึ่งนับว่าเป็นเชื้อราอีกหลายประเภท
การเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ
          สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ
         1.ทางจมูก ด้วยการสูบดมไอของสารผงหรือละอองของสารพิษปะปนเข้าไปกับลมหายใจ สารพิษบางชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อนทำให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบ หรือซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้โลหิตเป็นพิษ
         2. ทางปาก อาจจะเข้าปากโดยความสะเพร่าไม่รู้ตัว เช่นในมือที่เปื้อนสารพิษหยิบอาหารเข้าปาก หรือกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างอยู่ หรืออาจจะจงใจกินสารพิษบางชนิดเพื่อฆ่าตัวตายเป็นต้น
         3. ทางผิวหนัง เกิดจากการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษ สารพิษบางชนิดสามารถซึมเข้าผิวหนังได้ และเข้าไปทำปฏิกริยาเกิดเป็นพิษแก่ร่างกาย
         สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายทางใดก็ตามเมื่อมีความเข้มมากพอ จะมีปฏิกริยา ณ จุด สัมผัส และซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ซึ่งจะพาสารพิษไปทั่วร่างกาย ความสามารถในการเข้าสู่กระแสโลหิตนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการละลายของสารพิษนั้น สารพิษบางชนิดอาจถูกร่างกายทำลายได้ บางชนิดอาจถูกเปลี่ยนเป็นอนุพันธ์อื่นที่มีอันตรายน้อยลง บางชนิดอาจถูกขับถ่ายออกทางไต ซึ่งจะมีผลกระทบต่อท่อทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ บางชนิดอาจถูกดูดเก็บสะสมไว้ เช่น ที่ตับ ไขมัน เป็นต้น
ประเภทของสารพิษ
          สารพิษถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ 9 ประเภทดังนี้ คือ
         1. สารพิษป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (pesticides) หมายถึง สารเคมีหรือส่วนผสมของสารเคมีใดๆ ก็ตาม ที่ใช้ป้องกันกำจัดทำลายหรือขับไล่ศัตรูพืชสัตว์และมนุษย์สารพิษที่สำคัญได้แก่
         1.1 สารพิษป้องกันกำจัดแมลง (insecticides) คือ สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงและหนอนที่เป็นศัตรูพืช สัตว์ และมนุษย์มีทังที่อยู่ในรูปสารประกอบทางอินทรีย์ และอนินทรีย์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ขึ้น สารพษป้องกันกำจัดแมลงที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คื อ
         - กลุ่มออร์แกนโนคลอรีน (organo cholrine) สารประกอบที่มีคลอรีน (CL) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ สารพิษในกลุ่มนี้จะมีความคงตัวสลายตัวยาก จึงปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติได้นาน บางชนิดจะมีพิษตกค้างอยู่ได้นานเป็นสิบๆ ปี มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารพิษนี้เข้าไปจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวายและตายได้ แต่ถ้าได้รับปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมใน่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ ตัวอย่างของสารพิษพวกนี้ได้ แก่ ดีดีที ออลดริน ดิลดริน เอนดริน เฮปคาคลอร์ ลินแดน ฯลฯ
         - กลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (organo phosphate) เป็นสารสังเคราะห์มาจากกรดฟอสฟอริค จึงมีฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ สารพิษพวกนี้จะสลายตัวได้ง่าย มีพิษตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่ยาวนานนัก โดยเฉลี่ยประมาณ 3-15 มักจะมีพิษรุนแรงมากต่อสิ่งมีชีวิต มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้ดี สารพิษป้องกันกำจัดแมลงทุกชนิดในกลุ่มนี้ จะมีผลต่อระบบความดันโลหิตและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase) ในเลือด ถ้าได้สารพิษนี้เข้าไปจะทำให้เกิดการเวียนศีรษะตื่นเต้นตกใจง่าย คลื่นไส้ เป็นตะคริว ชัก ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อและตายได้ ตัวอย่าง ของสารพิษพวกนี้ได้แก่ มาลาไธออน,อาชีเฟท,ไดโครวอส,เมวินฟอส,โมโนโครโตฟอส ฯลฯ
         - กลุ่มคาร์บาเมท (carbamate) เป็นอนุพันธ์ของกรดคาร์บามิกมีธาตุไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบ สลายตัวง่าย มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงได้อย่างกว้างขวางและค่อนข้างจะมีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยกว่า 2 กลุ่มแรก แต่จะมีพิษสูงต่อผึ้งและปลาสารพิษกลุ่มนี้จะมีผลต่อระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสและเป็นพิษต่อระบบประสาทเช่นเดียวกับสารพิษกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต ดังนั้น ถ้าได้รับสารพิษพวกนี้เข้าไปก็จะเกิดอาการคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างของสารพิษพวกนีได้แก่ คาร์บาริล, ไบกอน, คาโบฟูเรน ฯลฯ
         - กลุ่มไพรีรอย (pyrethroids) ได้แก่สารพิษไพรีทริน (pyrethrin) ซึ่งมีได้ทั้งจากธรรมชาติ คือ สกัดได้จากดอกทานตะวัน และจากการสังเคราะห์ขึ้น ตัวอย่างเช่น สารเฟอร์เมทริน สารเรสเมทรินไซเปอร์เมทริน ฯลฯ สารพิษกลุ่มนี้ใช้ฆ่าแมลงได้ดี แต่ต้นทุนการสังเคราะห์สูงกว่าที่สกัดได้จากธรรมชาติ จึงทำให้มีราคาแพงมาก สารพิษกลุ่มนี้มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างน้อยและสลายตัวได้ง่าย
สภาพความรุนแรงของปัญหาจากการใช้ยาฆ่าแมลง
          สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ยาฆ่าแมลง" นั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแต่เดิมเป็นสารเคมีที่ใช้ในการทำลายชีวิตมนุษย์ด้วยกันเอง ต่อมาเมื่อสงครามสงบลงจึงได้มีการนำมาทดลองใช้ในการปราบแมลงศัตรูพืช ซึ่งก็ปรากฎว่าได้ผลดี ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าและผลิตยาฆ่าแมลงขึ้นมาใช้ จึงได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวางและเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
         ในสมัยก่อนนั้นปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชนับว่ามีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะในธรรมชาติจะมีแมลงที่เป็นประโยชน์และให้โทษปะปนกัน และจะมีการควบคุมกันเองทำให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ ต่อมาเมื่อมนุษย์หันมาใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์มากขึ้น จึงเป็นผลให้แมลงที่เป็นประโยชน์ถูกทำลายตามไปด้วย และก่อให้เกิดการเสียสมดุลตามธรรมชาติ การระบาดของแมลงที่ให้โทษจึงทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ประกอบกับในปัจจุบันได้มีการบุกรุกทำลายป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มนุษย์ได้พยายามคิดค้นยาฆ่าแมลงขนิดใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อหยุดยั้งการระบาดทำลายของแมลง การกระทำดังกล่าวได้เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่กระจายของสารพิษเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ได้ในที่สุด
         อันตรายและพิษภัยของยาฆ่าแมลงที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น เมื่อประมาณ 17 ปีที่ผ่านมา คนงานที่ทำงานเกี่ยวกับยาปราบศัตรูพืชในประเทศอาฟริกาใต้ได้เสียชีวิตจำนวน 44 คน เนื่องจากยาฆ่าแมลงดังกล่าวหกรดถูกตัว หรือในประเทศอิรักก็พบว่ามีประชาชนเสียชีวิตถึง 6,000 คน และเจ็บป่วยอีกประมาณ 100,000 คน เนื่องจากรับประทานข้าวสาลีที่มียาห่าแมลงผสมอยู่เข้าไป เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยเราก็มีข่าวคราวเกี่ยวกับพิษภัยของยาฆ่าแมลงอยู่เสมอเช่นเดียวกันเช่นเมื่อประมาณ 3-4 ปี ที่ผ่านมานักเรียนจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน ได้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น เนื่องจากรับประทานน้ำผลไม้ที่มียาปราบศัตรูพืชเจือปนอยู่ เป็นต้น จากาการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติร่วมกับองค์กรอนามัยโลก (FAO/WHO) พบว่า ในระยะสิบปีที่ผ่านมาประชากรของโลกได้เกิดการเจ็บป่วยเนื่องจากยาปราบศัตรูพืชประมาณปีละ 750,000 คน และสียชีวิตประมาณปีละ 50,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสำรวจพบในประเทศที่กำลังพัฒนาแทบทั้งสิ้น
         การได้รับพิษภัยจากยาฆ่าแมลงของมนุษย์อาจมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ดังนี้ คือสาเหตุที่เกิดจากอุบัติเหตุในการใช้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเกษตรกรคนงานที่ทำงานในโรงงานผลิตและจำหน่ายยาฆ่าแมลง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับยาฆ่าแมลง นอกจากนี้ก็คือสาเหตุที่เกดจากการนำเอายาฆ่าแมลงไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น หรือในบางท้องที่พบว่ามีการนำไปผสมเหล้าเพื่อเพิ่มรสชาด เป็นต้น สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ การที่ผุ้บริโภคหรือประชาชน ทั่วไปได้รับพิษภัยของยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่ในผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้เป็นอาหาร ซึ่งจากการสำรวขชองสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในปี พ.ศ. 2525 เกี่ยวกับปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชพบว่าการเกิดพิษจากการใฃ้สารเคมีมีสาเหตุต่างๆ กันคือ จากการตั้งใจ ฆ่าตัวตาย 64% จากอุบัติเหตุในการใช้สารเคมี 11% และประมาณ 22% คนงานที่ทำงานในโรงงานผลิตย่าฆ่าแมลง สถิติดังกล่าวนี้จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการได้รับพิษภัยจากยาฆ่าแมลงอันเนื่องมาจากการใช้ที่ไม่ถูกต้องหรือขาดความระมัดระวัง
         1.2 สารพิษป้องกันกำจัดวัชชพืช (herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ป้องกันและกำจัดวัชชพืชที่ขึ้นในที่ที่เราไม่ต้องการให้ขึ้นโดยมามักเรียกว่า "ยาฆ่าหญ้า" ทั้งๆ ที่ยาบางชนิดสามารถทำลายพืชอื่นๆ ได้นอกจากหญ้า ปัจจุบันมีสารพิษกำจัดวัชชพืชจำหน่ายอยู่มากกว่า 150 ชนิด หลายร้อยสูตรและมีประสิทธิภาพการตกค้างอยู่ในดินในสภาวะที่เหมาะสมได้เป็นเวลานานเช่นกัน ตัวอย่างของสารพิษพวกนี้ ได้แก่ พาราคว๊อต 2, 4, 5-T,2, 4 - D, ดาราปอน 85 % อะตราซึน ฯลฯ
         1.3 สารพิษป้องกันกำจัดเชื้อรา (fun-gicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราที่พืชพันธุ์ธัญญาหาร เมล็ดพืช ผัก ผลไม้ ตลอดจนเชื้อราที่ขึ้นอยู่ตามผิวดินสารพิษในกลุ่มนี้มีมากกว่า 250 ชนิด มีทั้งที่เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์นอ้ยจนถึงพวกที่มีพิษสูงตลอดจนอยู่ในสภาวะแวดล้อมได้นาน ตัวอย่างของสารพิษพวกนี้ได้แก่ คอปเปอร์ซัลเฟต แคปเทน ไชเนป นาเนบ เบนเลท ฯลฯ
         1.4 สารพิษป้องกันกำจัดสัตว์แทะ (rddenticides) เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดหนูหรือสัตว์ฟันคู่ บางชนิดมีพิษร้ายแรงมาก ตัวอย่างของสารพิษพวกนี้ ได้แก่ โซเดียมโมโนฟลูออโร-อาซีเดท ซิงค์ฟอสไซด์วอฟาริน ฯลฯ
         นอกจากนี้ยังมีสารพิษป้องกันกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ อีก ได้แก่สารพิษป้องกันกำจัดสาหร่าย (algicides) สารพิษป้องกันกำจัดหนอน ไส้เดือนฝอย (nematocides) สารพิษป้องกันกำจัด เห็บ , ไร (acaricides) เป็นต้น
2. โลหะหนัก
           เป็นสารพิษอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญมากมีทั้งที่พบอยู่ทั่วๆ ไป ตามธรรมชาติ และเป็นสารประกอบของโลหะที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา โลหะหนักที่สำคัญ ๆ คือ
          2.1 ตะกั่ว เป็นโลหะหนักที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสารผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรม แบตเตอรี่ อุตสาหกรรมกรดซัลฟูริค ทำโลหะเจือ ทำกระสุนปืน สีทาเหล็ก และงานบัดกรี เป็นต้น ตะกั่วสามารถปะปนอยู่ในบรรยากาศ อาหารรับประทานและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้ พิษของตะกั่วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดงมีผลกระทบต่อระบบประสาทและทำให้เกิดอันตรายต่อไต
         2.2 ปรอท มนุษย์นำปรอทไปใช้ผสมหรือเจือโลหะต่างๆ เช่น ทองคำ เงิน และทองแดงที่เรียกว่า "อะมัลกัม" นำไปใช้ในการอุดตัน ใช้เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเป็นองค์ประกอบของยาปราบศัตรูพืชและสัตว์ พิษของปรอทเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทำลายเนื้อเยื่อปอด ทำลายระบบขับถ่ายและระบบประสาท ส่วนกลาง
3. สารระคายผิว
           เป็นสารพิษที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบได้ เมื่อสัมผัสบ่อย ๆ เป็นเวลานานสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่ม
          3.1 พวกที่ละลายไขมันได้แก่ ตัวทำละลายที่ใช้กันทั่วๆ ไป เช่น อะซีโตน, อีเทอร์, เอสเตอ, สารละลายด่าง ตัวทำละลายนี้จะละลายไขมันตามธรรมชาติและอาจจะละลายผิวชั้นนอกได้ด้วย
         3.2 พวกที่ดึงน้ำออก เมื่อถูกผิวหนังจะดึงน้ำออกจากผิวหนัง เกิดความร้อนให้กรดที่กัดผิวหนัง เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ซัลเฟอร์ไทรออกไซด์, ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์, แคล-เซี่ยมออกไซด์แคลเซี่ยมคลอไรด์
         3.3 พวกที่ทำปฏิกิริยากับน้ำหรือการแตกตัว น้ำจะทำให้สารหลายชนิดแตกตัวให้อิออน เช่น น้ำกับฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ให้คลอไรด์ อิออน และกรดไฮโปคลอรัส เป็นต้น
         3.4 พวกที่ตกตะกอนโปรตีน เช่น เกลือของโลหะหนักต่างๆ แอลกอฮอล์, ฟอร์มาดีไฮด์ กรดแทนนิล ฯลฯ
         3.5 พวกออกชิไดเซอร์ ซึ่งจะรวมกับไฮโดรเจน ปล่อยออกซิเจนออกมา เช่น คลอรีน, เฟอร์ริคคลอไรด์, กรดโครมิล, สารเปอแมงกา-เนท เป็นต้น
         3.6 พวกรีดิวเซอร์ ซึ่งจะไปดึงเอาออกซิเจนออกมาทำให้ผิวลอกหรือผิวชั้นนอกหนาขึ้น เช่น ไฮโดรควินโนน, ซัลไฟท์ เป็นต้น
         3.7 พวกที่ทำให้เป็นมะเร็ง โดยไปกระตุ้นการเติบโตของผิวชั้นนอกและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เช่น สารที่กลั่นจาก ถ่านหิน อะนีลิน เป็นต้น
4. สารที่เป็นผงหรือฝุ่นซึ่งมีอนุภาคเล็กๆ
          เข้าสู่ร่างกายได้ โดยการหายใจ ตัวอย่างผงฝุ่นของแอสเบสตอส ทำให้เกิดโรค ปอดแข็ง (asbestosis) ผงฝุ่นของซิลิเกทเป็นอันตรายต่อปอดผงฝุ่นของโลหะต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว, ปรอท, แมงกานีส, แคดเมี่ยม ฯลฯ ก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายได้
5. สารที่ให้ไอเป็นพิษ
          เป็นสารเคมีที่ให้ไอพิษเมื่อสูดดมเข้าไปทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย ได้แก่ ตัวทำละลายต่าง ๆ เช่น เบนซิน คาร์บอนไดซัลไฟต์ คาร์บอนเตดตะคลอไรด์ เมทธิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ
6. ก๊าซพิษ
          มีหลายชนิดที่ใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ก๊าซพิษบางชนิดมีอันตรายมาก โดยอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนหรือทำความระคาย หรืออันตรายต่อร่างกาย และเราอาจมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนไซยาไนต์, ไฮโดรเจนซัลไฟต์, ไนโตรเจนออกไซด์, พอสจีน ฯลฯ
7. สารเจือปนในอาหาร
          เป็นสารเคมีที่นำมาใส่เข้าไปในอาหารโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้อาหารเสีย เพื่อการคงไว้หรือเพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของอาหาร ตลอดจนเพื่อให้อาหารนั้นมีกลิ่น รส สี ที่น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น สารเคมีเหล่านี้ บางชนิดถ้าใส่ในปริมาณมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดเป็นพิษเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่าง เช่น สารไนเตรทไนไตรท์ ผงชูรส โซเดียม เบนโซเอท เป็นต้น นอกจากนี้สารเคมีบางชนิดก็เป็นสารที่เป็นพิษมีอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น สีย้อมผ้า กรดกำมะถัน บอแรกซ์ กรดซาลิโซลิก เป็นต้น
8. สารพิษที่สังเคราะห์โดยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
          ได้แก่ สารที่สังเคราะห์จากเชื้อรา แบคทีเรี พืช และสัตว์บางชนิด ตัวอย่างของสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา เช่น สารพิษ Aflatoxia เกิดจากเชื้อราพวก Aspergillus flavus ที่ขึ้นอยู่ในถั่วลิสง ข้าวโพดหรืออาหารแห้งอื่นๆ หรือสารพิษ Bo Tulimumtoxin เกิดจากเชื้อแบททีเรีย Clostridium botulinum ที่ขึ้นในอาหารกระป๋องที่ผลิตไม่ได้มาตราฐานสารพิษ Trichothecene หรือ T-2 toxin เกิดจากเชื้อรา Fusarium tricinetum ที่ขึ้นในข้าวโพด เป็นต้น สำหรับพืชและสัตว์ที่สามารถสร้างสารพิษได้ เช่น เห็ดพิษ กลอย มันสำปะหลัง คางคก เหรา (สัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง) ปลาปักเป้า เป็นต้น
9. สารกัมมันตภาพรังสี
          เป็นสารที่สามารถแผ่รังสีมาจากตัวเองได้ มนุษย์ได้มำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่สำคัญคือในด้านการแพทย์ และการผลิตไฟฟ้า สารกัมมันตภาพรังสีนับเป็นสารที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารพิษชนิดอื่นๆ โดยจะทำอันตรายโดยตรง และถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้อีกด้วย กัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมามี 3 ชนิด คือ รังสีอัลฟา รังสีเบต้า และรังสีแกมมา สารกัมมันตภาพรังสีในธรรมชาติมีหลายตระกูล แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ตระกูลยูเรเนียม และตระกูลทอเรียม ที่สำคัญรองลงมาคือ โปแตสเซียม -40 ยูบีเดียม - 87 สมาเรียม - 147 ลูซีเตียม - 176 และเรเดียม - 220 เป็นต้น
แหล่งแพร่กระจาย หรือ สะสมของสารพิษในสิ่งแวดล้อม
            สารพิษเมื่อถูกนำมาใช้หรือเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในกิจกรรมต่าง ๆ อาจแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม สารพิษที่สลายตัวยากหรือไม่สลายตัวเลย หรือมีฤทธิ์ตกค้างนานจะถูกสะสมตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษจากสารพิษขึ้น สารพิษแพร่กระจายและตกค้างอยู่ในแหล่งต่าง ๆ คือ
  1. อากาศ สารพิษที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศส่วนใหญ่จะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงต่าง ๆ ทั้งจากยายนต์ที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า เตาเผาขยะเป็นต้นก่อให้เดกิดสารพิษ เช่น คาร์บอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ไอตะกั่ว ผงและฝุ่นละอองสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการผลิต เช่น ฝุ่นหินทราย เส้นใยแอสเบสตอส เป็นต้น

  2. น้ำ เป็นแหล่งใหญ่ที่มีสารพิษกระจายและสะสมตกค้างอยู่มากมาย ทั้งนี้เนื่องจากน้ำทิ้งจากการอุปโภคบริโภคในชุมชนน้ำทิ้งจากเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์และน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมจะถูกระบายลงสู่แหล่งน้ำ สารพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินทรีย์สารหรือโลหะหนัก สารป้องกันการกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ตลอดจนเชื้อราและบัคเตรีต่าง ๆ จะแพร่กระจายอยู่ในน้ำ นอกจากนี้สารพิษมีฤทธิ์ตกค้างนาน เช่น โลหะหนักหรือหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิด จะสะสมตกค้างอยู่ในตะกอน ดินใต้ น้ำแพลงตอน กุ้ง ปลา และสัตว์อื่น ๆ ซึ่งมนุษย์จะนำไปเป็นอาหาร

  3. ดิน สารพิษที่แพร่กระจายและสะสมตัวอยู่ในดิน ส่วนใหญ่เป็นสารพวกป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ และโลหะหนักบางชนิดในแหล่งเกษตรกรรม สารพิษเหล่านี้เมื่อตกค้างอยู่ในดิน สามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปสู่พืชได้ และไปสะสมตัวในพืชต่อไป

  4. อาหาร สารพิษในอาหารส่วนใหญ่จะเป็นพวกสารเคมีที่ใช้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่ยังสลายตัวไม่หมดสะสมอยู่ในผลิตผลเกษตรต่าง ๆ เช่น ผัก ผลไม้ และสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร นอกจากนี้ยังพบสารพิษที่นำมาใช้ปรุงแต่งกลิ่น รส หรือ ถนอมอาหาร เช่น ผงฟู ดินประสิว บอแรกซ์ สีผสมอาหาร และซักคาริน เป็นต้น ตลอดจนพบว่ามีสารพิษที่เกิดจากจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ และสารพิษจากเครื่องใช้ เช่น จากกระป๋อง ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ด้วย
อันตรายจากการใช้สารพิษ
            การใช้สารพิษอย่างไม่ถูกต้องมีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ คือ
  1. เกิดอันตรายต่อผู้ใช้โดยตรง ซึ่งได้แก่ เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารพิษและประชาชนทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้เนื่องมาจากขากความรู้ความเข้าใจในการใช้และการป้องกันอันตรายจากสารพิษอย่างถูกต้องจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดอันตรายหรือเจ็บปายถึงชีวิตได้ในทันที หรือสะสมสารพิษในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้สุขภาพทรุดโทรม เกิดโรคภัยร้ายแรงขึ้นได้ภายหลัง
  2. เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งที่มีการใช้สารพิษทั้งนี้เนื่องจากสารพิษที่ใช้หรือที่กิดจากกระบวนการผลิตถูกปลดออกสู่สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ในปริมาณสูง จนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณรอบ ๆ ซึ่งต้องรับสารพิษเข้าไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  3. ก่อให้เกิดสภาวะสมดุลตามธรรมชาติเสียไปเนื่องจากศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียฬ ที่มีประโยชน์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ศัตรูมนุษย์และสัตว์ ถูกสารพิษทำลายไปหมด แต่ขณะเดียวกันศัตรูที่เป็นปัญหาโดยเฉพาะพวกแมลงศัตรูพืชสามารถสร้างความต้านทานพิษได้ ทำให้เกิดปัญหาการระบาดเพิ่มมากขึ้น หรือศัตรูที่ไม่เคยระบาดก็เกิดปัญหาขึ้นมา เป็นปัญหาในการป้องกันกำจัดมากขึ้น
  4. เกิดอันตรายต่อชีวิตของนก ปลา สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ แมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง พบว่ามีปริมาณลดน้อยลง จนบางชนิดเกือบสูญพันธุ์ทั้งนี้ เนื่องจากถูกทำลายโดยสารพิษที่ได้รับเข้าไปทันท หรือสารพิษที่สะสมในร่างกายของสัตว์เหล่านั้นผลให้เกิดความล้มเหลวในการแพร่ขยายพันธุ์
  5. อันตรายแก่สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ในระยะยาว เนื่องจากการได้รับสารพิษซึ่งแพร่กระจายตกค้างอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อมเข้าไปสะสมร่างกายทีละน้อย จนทำให้ระบบและวงจรการทำงานของร่างกายผิดปกติเป็นเหตุให้เกิดโรคอันตรายขึ้น หรือบางครั้งอาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ หรือเกิดความผิดปกติในรุ่นหลายขึ้นได้
  6. เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจขึ้นกับประเทศชาติเนื่องจากการเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาไม่สามารถส่งอาหารผลิตภัณฑ์การเกษตรออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ เนื่องจากมีสารพิษตกค้างอยู่ในปริมาณสูงเกินปริมาณที่กำหนดไว้ ทำให้ขาดรายไดที่จะนำมาพัฒนาประเทศต่อไป
  7. เกิดความเสียหายต่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี ปริมาณสารพิษที่ถูกปลดปล่อยและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น สารพิษโลหะหนักในแหล่งน้ำ หรือก๊าซพิษที่ผสมอยู่ในบรรยากาศทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสียหายไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของสิงมีชีวิต


[ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิต ]  [ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ]  [ ระบบนิเวศ]  [ ทรัพยากรธรรมชาต ]  [ ปัญหาสิ่งแวดล้อม