![]() |
![]() |
[ มลพิษ ] | [ อากาศ ] | [ เสียง ] | [ สารพิษ ] |
อากาศ |
โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละออง ไอน้ำ และเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ในจำนวนก๊าซเหล่านี้ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในโลกก็คือ ก๊าซออกซิเจน และชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตนั้นมีความหนาเพียง 5-6 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบของก๊าซต่างๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09 % ออกซิเจน 20.94 % อาร์กอน 0.93 % คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03 % และก๊าซอื่นๆ อีก 0.01 % ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้ เราถือว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์แต่เมื่อใดก็ตามส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณของฝุ่นละออง ก๊าซกลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่า และกัมมันตภาพรังสี เช่น ออกไซด์ของคาร์บอนไดออกไซด์ของกำมะถัน ออกไซด์ของไนโตรเจนไฮโดรคาร์บอน สารปรอท ตะกั่ว ละอองกัมมันตภาพรังสีเจือปนอยู่ในชั้นของบรรยากาศมากเกินไปจนก่อให้เกิดอันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนทรัพย์สินแล้วเราเรียกสภาวะดังกล่าวนั้นว่า อากาศเสีย |
แหล่งกำเนิดอากาศเสีย |
โดยปกติอากาศเสียมีแหล่งกำเนิดทั้งโดยธรรมชาติ เช่น ลมที่พัดพาฝุ่นละอองให้ฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศไอน้ำที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาของสารบางชนิดในอากาศ ฝุ่นผงในอากาศกลิ่นและก๊าซที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่ไม่รุนแรงและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์นี่เองที่ได้เป็นสาเหตุสำคัญของอากาศเสียซึ่งมีแหล่งกำเนิดต่างๆ ดังนี้
1. จากการคมนาคมขนส่ง เกิดจากยาน-พาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน ยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากนี้ทำให้มีไอเสียออกสู่บรรยากาศอย่างมากมาย ก๊าซพิษสำคัญที่ออกจากไอเสียของยานพาหนะได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และออกไซด์ของกำมะถัน เป็นต้น 2. จากโรงงานอุตสาหกรรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งสำคัญที่ปล่อยสิ่งเจือปนออกมาสู่บรรยากาศทำให้อากาศเสีย เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเคมี โรงงานอุตสาหกรรมโลหะ โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานอุตสาหกรรมน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งจากขบวนการผลิตจะปล่อยสารมลพิษออกมาในรูปของก๊าซคาร์บอนอกไซด์ ออกไซด์ของกำมะถัน ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน ฝุ่นละออง เขม่า ควัน ไอของสารประกอบประเภทตะกั่วไอของกรด เป็นต้น 3. จากขบวนการผลิตที่ทำให้เกิดฝุ่นเช่น การบด การก่อสร้าง โรงโม่หิน การระเบิดหิน ทำให้เกิดเศษผงละอองในบรรยากาศ 4. เกิดจากกิจกรรมด้านการเกษตรเช่น การฉีดยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช การเผาไร่นา ทำให้เกิดฝุ่นละอองและสารพวกไฮโดรคาร์บอน 5. เกิดจากการระเหยของก๊าซบางชนิดเช่น น้ำมันเชื้อเพลิงสี แลคเกอร์ ในการพ่นรถยนต์ พบว่ามีปริมาณของไฮโรคาร์บอนระเหย จากสีถึง 560 กก./ตัน 6. เกิดจากมูลฝอยและของเสียเช่น กองมูลฝอย การเผามูลฝอย บ่อน้ำเสีย ฯลฯ |
สารมลพิษที่ทำให้อากาศเสีย และ อันตรายจากอากาศเสีย |
อันตรายที่เกิดจากอากาศเสียมีผลโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช และวัตถุซึ่งเกิดจากสารมลพิษที่สำคัญๆ ดังนี้
1. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและสิ่งอื่น ๆ และเป็นก๊าซที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศมากที่สุด โดยปกติแล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไดออกไซด์ไม่จัดว่าเป็นก๊าซพิษ แต่ถ้าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปริมาณมากเจือปนอยู่ในบรรยากาศจะทำให้อัตราส่วนของอากาศบริสุทธิ์สูญเสียไปนอกจากนี้แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังมีความสามารถในการสะสมตัวเองอยู่ในชั้นบนของบรรยากาศ ดังนั้น ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ |
|