Untitled

http://www.tungsong.com

 

คุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตสิทธิพื้นฐานของมนุษยชาติ
          ชีวิตทุกชีวิตต่างมีความปรารถนาในการดำรงอยู่ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือ การกินดี อยู่ดีในสังคมที่ตนอยและด้วยเป้าหมายดังกล่าวนี้เอง ที่ทำให้แต่ละผู้คนต่างแสวงหาให้ได้มาสิ่งที่ต้องการจึงเกิดมีการคิดค้นกรรมวิธีการผลิตขึ้นและวิวัฒนาการทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า ผู้ที่มีโอกาสมากกว่าคือ ผู้ที่ได้มาในสิ่งที่สังคมผลิตขึ้นได้มากกว่า และในท่ามกลางความเหลื่อมล้ำของการกินดีอยู่ดีของมนุษยชาติที่นับวันจะยิ่งทวีความแตกต่างมากขึ้นการแข่งขันกันในการผลิตเพื่อสนองตอบความต้องการก็ได้เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอันมีผลกระทบต่อชีวิตไปพร้อมๆ กัน
          ในขณะที่เป้าหมายของการกินดีอยู่ดีก้าวรุดหน้าไปในทางการ สร้างสรรเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นชีวิตของผู้คนต่างต้องประสบกับผลกระทบอันเกิดจากปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยเฉพาะผู้คนที่ยากจนในประเทศเล็กๆ ซึ่งมีโอกาสของการ ดำรงชีวิตในความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีน้อยอยู่แล้วคือ ผู้ที่รับผลกระทบอย่างใกล้ชิดที่สุด
          ด้วยเหตุที่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ค่อยๆ สะสมตัวเองและแผ่ขยายขอบเขตออกไปอย่างช้าๆ แต่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะแต่ไม่รู้ตัว จึงทำให้ปัญหานี้ถูกมองข้ามไป แต่ด้วยสายตาที่กว้างไกลของนักวิชาการหลายสาขาที่มีบทบาทอยู่ในการพัฒนากลุ่มหนึ่งจาก 10 ประเทศ ได้มองเห็นปัยหานี้ขึ้น จึงได้ร่วมประชุมปรึกษากันเป็นครั้งแรกที่กรุงโรมในปี 2511 ประเด็นสำคัญของการประชุมก็คือ เรื่องความหายนะที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ทั้งในปัจจุบันและที่จะประสบกันในอนาคต อันได้แก่ปัญหาความยากจนของประชากรเสื่อมโทรม ของสภาพแวดล้อม การขยายตัวเมืองที่ขาดสภาพแวดล้อม การขยายตัวเมืองที่ขาดการวางแผน ภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจและการเงินอื่นๆ เป็นต้น การประชุมที่กรุงโรม ครั้งนั้นได้เริ่มก่อให้เกิดความตื่นตัวขึ้นในเรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับคุณภาพของชีวิต จนถึงปี 2515 ก็ได้มีการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของสหประชาชาติที่กรุงสต๊อคโฮม หลังจากนั้นความสนใจในปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ได้แผ่ขยายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว การผลิตที่เคยคำนึงถึงเฉพาะประโยชน์แต่เพียงประการเดียว ก็เริ่มมีการคำนึงถึงเฉพาะประโยชน์แต่เพียงประการเดียว ก็เริ่มมีการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมา นักพัฒนาเริ่มพิจารณารูปแบบของการพัฒนาใหม่ทุกประเทศที่มีบทบาทในการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม ล้อมแห่งชาติขึ้นในปีเดียวกัน โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษาวิเคราะห์สภาวะและคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและการวางแผนและการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศ           เพื่อให้ประชาชนทุกคนและทุกฐานะมีสิทธิใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน รัฐบาลจึงต้องกำหนดนโยบายและมาตรการขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติมิให้เสื่อมโทรม
          แต่ทั้งนี้ ก็มิใช่จะหมายความว่า เราจะหยุดการพัฒนาหรือจะกำจัดสิทธิในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมลงโดยสิ้นเชิง เพราะกิจการทั้งหมดย่อมมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเหมือนกันความสำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้การพัฒนาก้าวหน้าไปควบคู่กับการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี แนวทางของการประสานกันของทั้ง 2 ประการนี้คือ การกำหนดเงื่อนไขส่วนรวมขึ้นนั่นคือการต้องหันหน้าเข้าหากันร่วมกันพิจารณาเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างเหมาะสมและได้ประโยชน์มากที่สุดโดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตของทรัพยากรธรรมชาตินั้นลดน้อยลง และไม่เป็นการผลักภาระความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมไปสู่ประชาชน
ตัวอย่างหนึ่งจะกล่าวถึงก็คือ ในกิจการทางด้านอุตสาหกรรมนั้น นักอุตสาหกรรมจะต้องคำนึงผลกระทบที่กิจการของตนจะก่อผลกระทบต่อส่วนรวม อาทิ แหล่งที่ตั้งโรงงานการตั้งอยู่ในที่ชุมชนเพื่อประโยชน์ในการรับบริการทางสาธารณูปโภคจากรัฐตลอดจนผลในทางคมนาคมขนส่ง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแต่ปัญหาที่จะเกิดต่อชุมชนได้แก่ เสียงดังรบกวนอากาศเสีย ความเน่าเสียของน้ำ ตลอดจนสารพิษที่หลงเหลือจากการผลิต ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการกำจัดน้ำเสียเหล่านี้เป็นสิ่งที่โรงงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ผลก็คือ คุณภาพของชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องเสื่อมลง เมื่อใดก็ตามที่นักอุตสาหกรรมมีใจกว้างพอที่จะยอมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพิ่มปรับปรุงสิ่งเหล่านี้แล้วเราก็จะกลับไปพบกับเป้าหมายเดิมที่ถูกหลงลืมมาเป็นเวลานานแล้วนั่นก็คือ การกินดีอยู่ดีของประชาชนนั่นเอง
          อย่างไรก็ตาม ในแนวทางการดำเนินงานการแก้ไขปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของรัฐ นั้น จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และสร้างแนวทางร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะให้คุณภาพของชีวิตและสิ่งแวดล้อมตั้งอยู่บนรากฐานสิทธิเสรีภาพของทุกฝ่ายโดย คำนึงถึงความเป็นธรรมของผู้ด้อยโอกาส อาทิ เกษตรกร ประมง และประชาชนที่ยากจนทั้งหลายให้ได้มีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีเท่าเทียมกับคนในสังคมกลุ่มอื่นๆ ด้วย


[ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิต ]  [ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ]  [ ระบบนิเวศ ]  [ ทรัพยากรธรรมชาติ ]  [ ปัญหาสิ่งแวดล้อม