หลักฐานการทะเบียนราษฎรเป็นข้อมูลสำคัญทางการปกครอง และการวางแผนในการพัฒนาประเทศ และยังเป็นหลักฐานในการใช้พิสูจน์ตัวบุคคล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ รวมถึงการรักษาสิทธิของประชากรทั้งสิ้นกว่า 56 ล้านคน เอกสารการทะเบียนราษฎรที่ทางราชการมอบหมายให้แก่ประชาชนย่อมอาจมีข้อผิดพลาดใน รายการก็พยายามหาวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเสมอ แต่ทั้งนี้คงต้องขอความร่วมมือและขอความช่วยเหลือจากประชาชนในเรื่องการตรวจสอบเอกสารการทะเบียนราษฎรด้วย โดยเฉพาะสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) หากพบข้อผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริง ขอได้กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
 
เอกสารการทะเบียนราษฎรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
            1.   ทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน
          2.   สูติบัตร และทะเบียนคนเกิด
          3.   มรณบัตร และทะเบียนคนตาย
          4.   ใบแจ้งการย้ายที่อยู่
 
สถานที่รับคำร้องและผู้มีหน้าที่รับคำร้อง
             1.   ผู้ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน อยู่นอกเขตเทศบาลให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
          2.    ผู้ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน อยู่ในเขตเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาล หรือสำนักงานเขต
 
การขอแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนรษฎร
  เมื่อพบข้อผิดพลาดในเอกสารการทะเบียนราษฎรให้ดำเนินการดังนี้
          1.   ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
          "เอกสารการทะเบียนราษฎรสามารถแก้ไขได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงกรุณาไปพบเจ้าหน้าที่ อย่าแก้ไขด้วยตนเอง"
          2.    นำหลักฐานเอกสารที่ทางราชการออกให้ไปแสดง เช่น
          -    เอกสารการทะเบียนราษฎร
          -    หนังสือรับรองการเกิดหรือการตายที่สถานพยาบาลออกให้
          สำเนาทะเบียนนักเรียน หรือใบสุทธิ หรือประกาศนียบัตร
          -   หลักฐานการขึ้นทะเบียนทหาร (ส.ด. ๙)
          -    หลักฐานการสมรสหรือการหย่า
          ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
          -    บัตรประจำตัว
          -    หนังสือเดินทาง
          -    ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
          ฯลฯ
          3.   กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานเอกสารยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย อาจขอให้มีพยานบุคคลไปให้ถ้อยคำเพิ่มเติมได้ซึ่งจะเป็นใครก็แล้วแต่ผู้ร้องหรือนายทะเบียนจะขอให้ไปให้ถ้อยคำ
 
วิธีการแก้ไข
            เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องและพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ร้องนำไปแสดงแล้วจะดำเนินการดังนี้
          1.    กรณีที่ผู้ร้องมีเอกสารราชการมาแสดงเพื่อขอแก้ไข เป็นอำนาจของนายทะเบียนที่จะพิจารณาแก้ไขได้เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้
          2.    กรณีที่ผู้ร้องไม่มีเอกสารราชการมาแสดง เป็นอำนาจของนายทะเบียนที่จะพิจารณาแก้ไขให้ โดยนายทะเบียนจะเป็นผู้รวบรวมเรื่องและความเห็นเสนอผ่านตามลำดับชั้น
          3.   กรณีเป็นการแก้ไขเกี่ยวกับรายการสัญชาติ หากเป็น
               3.1   การแก้ไขจากสัญชาติอื่นเป็นสัญชาติไทย เป็นอำนาจของนายอำเภอเป็นผู้พิจารณาแก้ไข
               3.2    การแก้ไขจากสัญชาติไทยเป็นสัญชาติอื่น เป็นอำนาจของนายทะเบียนเป็นผู้พิจารณาแก้ไข



[ การแจ้งเกิด ]  [การแจ้งตาย ]  [การแจ้งย้ายที่อยู่ ]  [เจ้าบ้าน
[ การแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร ]  [บัตรประจำตัวประชาชน