เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกิดให้ถูกต้องตามกฏหมาย เพราะสูติบัตรเป็นหลักฐานที่ทางราชการ ออกให้เพื่อใช้พิสูจน์ทราบตัวบุคคล และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเรื่องสิทธิต่าง ๆ หากผู้มีหน้าที่ไม่แจ้งเกิดต้องมีความผิดตามกฏหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
 หน้าที่ของผู้แจ้งการเกิด
            1.   เมื่อมีคนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านหรือบิดา หรือมาดาร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งที่ที่เกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
          2.   เมื่อมีคนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่เกิดหรือแห่งท้องที่ที่พึงแจ้งได้ใน 15 วัน นับแต่วันเกิด หรือในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน
 
สถานที่รับแจ้งการเกิดและผู้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด
            1.   กรณีคนเกิดนอกเขตเทศบาล ณ ท้องที่ไดให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง คือ กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ นั้น
          2.   กรณีมีคนเกิดในเขตเทศบาลใด ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาล นั้น
          3.   กรณีมีคนเกิดในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเขต นั้น
 
การแจ้งการเกิด
            ผู้แจ้งการเกิดควรดำเนินการดังนี้
          1.   ให้แจ้งชื่อตัวของเด็กเกิดใหม่พร้อมกับการแจ้งเกิดและแจ้งชื่อสกุลด้วย พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่เพื่อที่จะแจ้งชื่อเด็ก
          2.   แจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย
          3.   แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ และที่อยู่ของบิดามารดาของเด็ก
          4.   แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการเกิดตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านปรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง
 
วิธีการรับแจ้งการเกิด
            เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการเกิดจากผู้มีหน้าที่แล้วจะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะส่งรายการต่าง ๆ ในสูติบัตร (ตอนที่ 1) ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
 
การแจ้งการเกิดเกินกำหนดเวลา
            หมายถึงกรณีมีคนเกิดแต่ไม่ได้แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด กรณีนี้ให้ผู้แจ้งการเกิดยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีการเกิด
 
วิธีการรับแจ้งการเกิดเกินกำหนดเวลา
            1.   เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้วตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดง และดำเนินการเปรียบเทียบคดีความผิดตามที่กฏหมายกำหนด
          2.   สอบสวนสาเหตุจากพยานบุคคลเพื่อให้ทราบถึงวันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด ตลอดจนสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กำหนด ผู้พบเด็กในกรณีนี้ต้องนำเด็กไปส่งและแจ้งต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ



[ การแจ้งเกิด ]  [การแจ้งตาย ]  [การแจ้งย้ายที่อยู่ ]  [เจ้าบ้าน
[ การแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร ]  [บัตรประจำตัวประชาชน