|
|
|
 |
|
|
|
ความตายเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และไม่ทราบได้ว่าตนเองจะตายเมื่อไหร่ ฉะนั้น เพื่อความรอบคอบเกี่ยวกับเรื่องนี้และถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฏหมาย จึงควรทราบขั้นตอนเกี่ยวกับการแจ้งการตายเพราะฝ่าฝืนมีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท |
|
หน้าที่ของผู้แจ้งการตาย |
|
1. เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ
2. เมื่อมีคนตายนอกบ้าน ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ ในกรณีนี้จะต้องแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ |
|
สถานที่รับแจ้งการตายและผู้มีหน้าที่รับแจ้งการตาย |
|
1. กรณีมีคนตายนอกเขตเทศบาล ณ ท้องที่ใดให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง คือ กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ นั้น
2. กรณีมีคนตายในเขตเทศบาลใดให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาลนั้น
3. กรณีมีคนตายในกรุงเทพมหานครให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเขตนั้น |
|
การแจ้งการตาย |
|
1. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ตายหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง (ถ้ามี)
2. แจ้งวันเดือนปี และสถานที่ตายพร้อมสาเหตุการตาย ถ้ามีหนังสือรับรองการตายจากสถาพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย และถ้าทราบชื่อ - สกุลของบิดามารดาของผู้ตายให้แจ้งต่อนายทะเบียนด้วย
3. แจ้งดำเนินการเกี่ยวกับศพของผู้ตายด้วย จะเก็บ ฝัง เผา ทำลาย หรือย้ายศพ ที่ไหน เมื่อไหร่
4. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการตายตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง |
|
วิธีการแจ้งการตาย |
|
เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจากผู้มีหน้าที่แล้วจะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดงเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะลงรายการต่าง ๆ ในมรณบัตร และให้ผู้แจ้งลงลายมือในมรณบัตร พร้อมมอบมรณบัตร (ตอนที่ 1) ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน |
|
การแจ้งการตายเกินกำหนดเวลา |
|
หมายถึง กรณีมีคนตายแต่ไม่ได้แจ้งการตายภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด กรณีนี้ให้ผู้แจ้งการตายยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ |
|
วิธีการรับแจ้งการตายเกินกำหนดเวลา |
|
1. เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้วจะตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดง แล้วดำเนินการเปรียบเทียบคดีความผิดตามที่กฏหมายกำหนด
2. สอบสวนสาเหตุจากพยานบุคคลเพื่อทราบถึงวันเดือนปีที่ตาย สถานที่ตายและผู้รู้เห็นการตาย ตลอดจนสาเหตุที่ไม่แจ้งการตายภายในเวลาที่กำหนด
3. รวบรวมหลักฐานและพิจารณา เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จะสั่งอนุญาตให้รับแจ้งได้และดำเนินการต่อไป |
|
กรณีมีการตายแต่ยังไม่พบศพ |
|
ให้เจ้าบ้านหรือผู้ที่ไปกับผู้ตายแจ้งต่อนายทะเบียนหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เพื่อดำเนินการต่อไป |
|
หมายเหตุ การแจ้งการตายไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด |