บัตรประจำตัวประชาชน คือ เอกสารที่ทางราชการออกให้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทย และมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคลและแสดงความเป็นคนไทย
 
ประโยชน์ของบัตรประจำตัวประชาชน
 
1. ประโยชน์ต่อผู้ถือบัตรเอง
          -   ใช้เป็นเอกสารแสดงตนในโอกาสต่าง ๆ
          -   ใช้ในการติดต่อราชการหรือธุรกิจต่าง ๆ เช่น สมัครงาน รับเงิน ธนาณัติ ธนาคาร ทำนิติกรรม
ต่าง ๆ
          -   ใช้แสดงตนเพื่อใช้สิทธิทางการเมือง เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
 
2. ประโยชน์ต่อทางราชการ
          -   เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ทราบตัวบุคคล ใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
          -   เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ตัวบุคคลคนไทยและบุคคลต่างด้าวเพื่อป้องกันมิให้คนต่างด้าวมีกรรสิทธิ์ในบางเรื่อง เช่น เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน หรืออาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทย
          -   เป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่าง ๆ เช่น ตรวจสอบอายุเยาวชนในสถานประกอบการต่าง ๆ
          -   ใช้ประกอบในการทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ
            บุคคลผู้ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ต้อง
          1.   เป็นผู้มีสัญชาติไทย
          2.   อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
          3.   มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
 
          เว้นแต่ ่บุคคลผู้มีคุณสมบัติข้างต้นถูกกำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอมีบัตรประจำประชาชน ซึ่งมีทั้งสิ้น 26 ประเภท ดังนี้

          1.   สมเด็จพระบรมราชินี
          2.   พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
          3.   องคมนตรี
          4.   ข้าราชการการเมืองตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
          5.   ข้าราชการพลเรือนตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
          6.   ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
          7.   ข้าราชการครูตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
          8.   ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
          9.   ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
          10.   ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
          11.   ข้าราชการทหารตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหารและคนงานหรือลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม
          12.   ทหารกองประจำการตามกฏหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
          13.   ข้าราชการตำรวจตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
          ทวิ  ข้าราชการบำเหน็จบำนาญซึ่งถือบัตรประจำตัวข้าราชการบำเหน็จบำนาญตามกฏหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงาน เทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐ
          14.   สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
          15.   สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
          16.   สมาชิกสภาจังหวัดและข้าราชการส่วนจังหวัดตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด
          17.   สมาชิกสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยา รองปลัดเมืองพัทยา และพนักงานเมืองพัทยา ตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
          18.   สมาชิกสภาเทศบาลและพนักงานเทศบาลตามกฏหมายว่าด้วยเทศบาล
          ทวิ   สมาชิกสภาตำบล เลขานุการสภาตำบล สมาชิกสภาอวค์การบริหารส่วนตำบล และ พนักงานส่วนตำบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
          19.   กรรมการสุขาภิบาลและพนักงานสุขาภิบาลตามกฏหมายว่าด้วยสุขาภิบาล
          20.   พนักงานองค์การของรัฐ
          21.   กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบแพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ตามกฏหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
          22.   ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
          23.   กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามพระราขกฤษฎีกาว่าด้วยศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม
          24.   ผู้มีการพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
          25.   ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฏหมาย
          26.   บุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการศึกาา วิชา ณ ต่างประเทศ
            ข้อยกเว้น  บุคคลที่ได้รับการบกเว้นนี้ หากประสงค์จะขอมีบัตรกฏหมายก็เปิดโอกาสให้สามารถทำบัตรได้ แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
 
ระยะเวลายื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
            กฏหมายได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอมีบัตรไว้ โดยให้ผู้ขอมีบัตรต้องมายื่นคำขอมีบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ มีฉะนั้นจะมีความผิดตามกฏหมาย กำหนดระยะเวลายื่นคำขอมีบัตร
             ภายใน 60 วันนับตั้งแต่
          -   ผู้ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
          -   ผู้ที่มีบัตรหมดอายุ ต้องขอมีบัตรใหม่นับจากวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
          -   ผู้ที่บัตรหาย บัตรถูกทำลาย ต้องขอมีบัตรใหม่นับจากวันที่บัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย
          -   ผู้ที่บัตรชำรุดในสาระสำคัญเช่น ชื่อตัว ชื่อสกุล วัน เดือน ปีเกิด ฉีกขาด ต้องขอเปลี่ยนบัตรนับจากวันที่บัตรชำรุด
          -   ผู้ที่เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือเปลี่ยนทั้งชื่อตัวและชื่อสกุล ต้องขอเปลี่ยนบัตรนับจากวันที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน
          -   ผู้ที่ได้สัญชาติไทย หรือกลับคืนสัญชาติ นับจากวันที่ได้สัญชาติไทย
          -   ผู้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน นับจากวันที่ได้รับการเพิ่มชื่อ
          -   ผู้ที่พ้นจากการได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชน นับจากวันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น
 
อายุการใช้บัตรประจำตัวประชาชน
            กฏหมายกำหนดระยะเวลาให้ใช้ได้ 6 ปี ใช้ได้จนถึงวันเกิด หรือ ผู้ที่ประสงค์จะทำบัตรก่อนวันบัตรหมดอายุดังกล่าว ทั้ง 2 กรณี ภายใน 60 วันก็ได้ เช่น บัตรที่ออกให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 จะใช้ได้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2549 ยกเว้นบุคคลที่มีอายุ 64 ปีขึ้นไปมาขอทำบัตร บัตรนั้นจะใช้ได้ตลอดชีพ
            แต่หากวันที่บัตรมีอายุครบหกปีบริบูรณ์ ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรก็ให้นับระยะเวลาต่อไป จนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้น หรือปีถัดไป เป็นวันบัตรหมดอายุ เช่น นาย ก. เกิดวันที่ 20 ตุลาคม 2510 ถือบัตรซึ่งระบุวันหมดภายในวันที่ 30 เมาายน 2544 ฉะนั้น บัตรของ นาย ก. จะหมดอายุในวันที่ 19 ตุลาคม 2544 หรือ นาย นาย ข. เกิดวันที่ 15 มีนาคม 2500 ถือบัตรหมดอายุในวันที่ 30 เมษายน 2544 ฉะนั้น บัตรของนาย ข. จะหมดอายุในวันที่ 14 มีนาคม 2545 เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรจะประสงค์ทำบัตรใหม่ในวันบัตรหมดอายุ ตามที่ระบุเป็นวันบัตรหมดอายุในบัตร หรือใช้ไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดในบัตรหรือตามวันครบรอบวันเกิดก็ได้
 
สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
            -   ที่ว่าการอำเภอ (รวมถึงสำนักทะเบียนสาขาอำเภอนั้น)
          -    ที่ว่าการกิ่งอำเภอ (รวมถึงสำนักงานสาขากิ่งอำเภอนั้น)
          -   สำนักงานเขต (รวมถึงสาขาของเขตนั้น)
          -   เทศบาล (รวมถึงสาขาของเทศบาลนั้น)
          -   เมืองพัทยา
             ทั้งนี้ ในวันยื่นคำขอมีบัตร ผู้ใดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านท้องที่ อำเภอ กิ่งอำเภอ เขต เทศบาล และเมืองพัทยาใด ก็ให้ไปยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่นั้น(กรณีจัดทำบัตรในระบบเดิม)
 
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
            ในการยื่นคำขอมีบัตร ผู้ขอทำบัตรจะต้องยื่นคำขอด้วยตนเองพร้อมกับหลักฐานดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย คือ
          1.    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
          2.   บัตรเดิม (กรณีบัตรหมดอายุ หรือบัตรชำรุดในสาระสำคัญหรือเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล)
          3.    ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล)
          4.   หลักฐานการได้รับรับการยกเว้น(กรณีบุคคลได้รับการยกเว้น)
          5.   หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดา (กรณีผู้ยื่นคำขอมีบัตรมีบิดา มารดาเป็นคนต่างด้าว)
          6.    เอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบเกิดหรือสำเนาทะเบียนนักเรียน เป็นต้น (กรณีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ มีบัตรครั้งแรก)
          7.   หลักฐานการพ้นสภาพได้รับการยกเว้น (กรณีบุคคลพ้นสภาพได้รับการยกเว้น)
          8.   เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือให้คำรับรอง (กรณีขอมีบัตรครั้งแรกเกินกำหนด กรณีบัตรหาย ต่างสำนักทะเบียน เป็นต้น)
 
ขั้นตอนในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีจัดทำบัตรในระบบเดิม)
            -   นำสำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่ถูกต้อง ไปยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักทะเบียนที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
          -   ยื่นสำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพร้อมกับขอรับใบคำขอมีบัตร (บ.ป. 1) ไปกรอกข้อความ
          -   กรอกข้อความลงในใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป. 1)
          -   พิมพ์ลายนิ้วมือในใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป. 1)
          -   นำใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป. 1) พร้อมหลักฐานไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาอนุมัติทำบัตร
          -   ถ่ายรูป (ภายหลังจากได้รับอนุมัติ)
          -   รับใบคำขอ (บ.ป. 2 สีเหลือง) จากพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้แทนบัตร
          -   นำใบรับคำขอ (บ.ป. 2 สีเหลือง) ไปขอรับบัตรจริงที่สำนักทะเบียนตามวันที่กำหนดไว้ในใบรับคำขอ
          
 
ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรประจำตัวประชาชน
            โดยทั่วไปการทำบัตรประจำตัวประชาชนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม (ทำฟรี) เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม คือ
          -   ผู้ที่ต้องได้รับการยกเว้นตามกฏหมายไม่ต้องมีบัตร แต่หากมีความประสงค์จะขอทำบัตร ต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
          -   ผู้ขอมีบัตรใหม่ เนื่องจากบัตรเดิมหาย หรือถูกทำลาย ต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
          -   ผู้ที่ขอเปลี่ยนบัตร เนื่องจากบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
          -   การขอตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับบัตร ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท (ต่อฉบับ)
          -   การขอให้คัดสำเนาและรับรองรายการในบัตร ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท (ต่อฉบับ)
          -   การขอใบแทนใบรับ (ใบสีชมพู) เนื่องจากใบเหลืองหาย ต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
  ความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2542
            1. ผู้ไม่มาทำบัตร ภายในระยะเวลาที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
          2. ผู้ไม่มาต่อบัตรหรือเปลี่ยนบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          3. ผู้ที่ไม่มีบัตรแสดงเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจบัตรขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          4. ผู้เสียสัญชาติไทย ไม่ส่งมอบบัตรให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันเสียสัญชาติไทย มีโทษจำคุก 1 ปี ถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          5. ให้ผู้อื่นนำบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับของตนไปใช้ในทางทุจริต มีโทษจำคุก 3 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท - 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          6. ผู้ใดยื่นคำขอมีบัตรมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานเป็นเท็จ ต่อพนักงานเจ้าหน้าท ี่มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท - 100,000 บาท
          7. ผู้เสียสัญชาติไทย ผู้นั้นหมดสิทธิ์ใช้บัตร หากนำไปใช้ มีโทษจำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 200,000 บาท
          8. ผู้ใดนำบัตร ใบรับ หรือใบแทนใบรับ ของบุคคลอื่นไปใช้ว่าตนเป็นเจ้าของ มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท - 100,000 บาท
 
การเก็บรักษาบัตรประจำตัวประชาชน
            บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุการใช้นาน 6 ปี นับแต่วันออกบัตรการเก็บรักษาบัตรให้ใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน ควรปฏิบัติดังนี้
          1.   ควรเก็บบัตรไว้ในซองพลาสติก
          2.   ระวังไม่ให้บัตรถูกน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน ๆ หรือถูกความร้อน
          3.   อย่าทำรอยขูดขีดลงบนบัตร
          4.   ไม่ความนำบัตรไปเคลือบพลาสติกใหม่ เพราะจะทำให้บดบังวัสดุป้องกันการปลอมแปลงซึ่งอยู่บนตัวบัตร
 
สาระน่ารู้เกี่ยวกับบัตร
            1.   ใบรับคำขอมีบัตรหรือใบเหลือง ใช้ได้เสมือนบัตรประจำตัวประชาชน เฉพาะในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบเหลืองเท่านั้น
          2.   วิธีใช้ใบเหลืองได้รับความสะดวก จะต้องใช้ร่วมกับบัตรเดิมยกเว้นกรณีทำบัตรครั้งแรกและบัตรหาย
          3.   ถ้าใบเหลืองหายให้แจ้งความแล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปติดต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อออกใบแทน (ใบสีชมพู) ให้ใช้แทน
          4.   การแจ้งความบัตรหาย หรือใบเหลืองหายสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานทะเบียนที่ท่านประสงค์จะขอมีบัตรหรือสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่ออยู่
 
ข้อพึงปฏิบัติที่ควรทราบ
            1.   ให้พกพาบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับ (บ.ป. 2 สีเหลือง) หรือใบแทนใบรับ (บ.ป. 2 ก สีชมพู) ติดตัวไว้เสมอเมื่อออกจากบ้าน
          2.   ให้จดหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของตนไว้ หรือถ่ายเอกสารสำเนาบัตรไว้ เมื่อบัตรหายจะสะดวกในการติดต่อขอทำบัตร
          3.   การติดต่อขอรับเงิน สิ่งของ หรือติดต่อราชการ จากหน่วยงานของทางราชการและหน่วยงานของเอกชน ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบรับ (บ.ป. 2 เหลือง) หรือใบแทนใบรับ (บ.ป. 2 ก สีชมพู) ไปแสดงด้วยทุกครั้ง
          4.   อย่าฝากบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับ (บ.ป. 2 สีเหลือง) หรือใบแทนใบรับ (บ.ป. 2 ก สีชมพู) ไว้กับผู้อื่น เพราะอาจมีผู้นำไปใช้ในทางไม่สุจริต
          5.   อย่านำบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับ (บ.ป. 2 สีเหลือง) หรือใบแทนใบรับ (บ.ป. 2 ก สีชมพู) ของบุคคลอื่นมาใช้ในทางทุจริต
          6.   เมื่อได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ให้ตรวจสอบรายการในบัตรว่าถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือไม่ หากไม่ถูกต้องให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
          7.   ทุกครั้งที่จะไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส., ส.จ., ส.ท., ฯลฯ ให้นำบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับ (บ.ป. 2 สีเหลือง) หรือใบแทนใบรับ (บ.ป. 2 ก สีชมพู) ไปแสดงด้วยทุกครั้ง
          8.    หากพบหรือเก็บบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับ (บ.ป. 2 สีเหลือง) หรือใบแทนใบรับ (บ.ป. 2 ก สีชมพู) ของบุคคลใดที่ทำตกหล่นไว้ ถ้าไม่สามารถนำส่งคืนผู้เป็นเจ้าของ ให้รีบนำส่งแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต เทศบาล หรือ เมืองพัทยา
          9.   ในกรณีที่พบเห็นการทุจริต หรือปลอมแปลงเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้รีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือแจ้งไปยังกองบัตรประจำตัวประชาชน วังไชยา ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพ ฯ 10300 โทรศัพท์ 281-2150, 281-2695 ให้ทราบโดยเร็ว



[ การแจ้งเกิด ]  [การแจ้งตาย ]  [การแจ้งย้ายที่อยู่ ]  [เจ้าบ้าน
[ การแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร ]  [บัตรประจำตัวประชาชน