<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - สถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม


 
  ประเภทของปลากัด
 
        ประเภทของปลากัด   


                                                                       

                                                                       

ปลาหม้อ หรือที่เรียกว่า "พันธุ์ลูกหม้อ" เป็นปลากัดที่คัดพันธุ์ผสมไว้หลายชั่วชั้น เป็นปลากัดชั้นดีที่สุดปลาสังกะสี หรือที่เรียกว่า "ลูกสังกะสี" ในท้องถิ่นภาคใต้เรียกว่า "ปลาสั้งสี" หรือ "ลูกสั้งสี" เป็นปลาพันทางเกิดจากการนำเอาปลาพันธุ์ลูกหม้อผสมกับปลากัดพันธุ์ลูกทุ่ง หรือลูกป่าปลาซ้ำสาม หรือที่นักเลงปลากัดในภาคใต้เรียกว่า"ลูกเส้งแส้ง" หมายถึงปลากัดพันธุ์ผสมชั้นที่ 3 ระหว่างปลากัด "ลูกสังกะสี" กับ "ปลาลูกทุ่งหรือลูกป่า"
ปลาลูกผสม หรือทีเรียกว่า "ลูกผสม" นักเลงปลากัดในภาคใต้เรียกว่า "ลูกสม" เป็นปลากัดพันธุ์ทาง ชั้นที่ 4 ระหว่าง "ลูกแส้งแส้ง" กับ "ลูกทุ่งหรือลูกป่า"
ปลาทุ่งหรือปลาป่า หรือที่เรียกกันว่า "พันธุ์ลูกทุ่ง" และ "พันธุ์ลูกป่า" เป็นพันธุ์ปลากัดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในที่ที่ลุ่มตามท้องนา หนอง บึง ปลากัดที่อยู่ในภูมิประเทศชนิดนี้เรียกว่า "ลูกทุ่ง" ในท้องถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า "ปลาท่ง" ส่วนปลากัดที่อยู่ตามป่าที่มีน้ำท่วมถึงหรือมีน้ำท่วมตลอดปี เช่น ในที่ที่เป็นพรุหรือป่าจากริมน้ำ เช่นนี้เรียกว่าปลาป่า หรือ "ลูกป่า"
ปลากัดพันธ์ลูกทุ่ง หรือที่เรียกกันว่า ปลากัดพันธุ์ลูกป่าในภาคใต้จะเริ่ม "ก่อหวอด" หรือ"กัดฟอง" หรือ "บ้วนฟอง" ในราว ๆ เดือน 6-7 หรือบางปีราว ๆ ปลายเดือน 5 ในระยะเวลาดังกล่าวเด็ก ๆ ตามชนบทและนักเลงปลากัดจะเริ่มออกหาปลากัดกันตามท้องทุ่งหรือตามป่าตามพรุที่มีน้ำท่วมถึง เพราะระยะเวลาในขณะนั้นเป็นเวลาที่สิ้นหน้าเก็บเกี่ยวและเกิด "ฝนพรัด" ตก(ฝนที่เกิดจากลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก) น้ำฝนดังกล่าวจะขังคึงอยู่ตามที่ลุ่มในท้องนา หนอง บึง ที่ผ่านความแห้งแล้งมานานพอสมควร
ในหน้าแล้งปลากัดจะฟักตัวหรือหมกตัวอยู่ที่ชื้น แฉะใต้ดินเรียกว่า "จำศีล" หรือภาษาถิ่นภาคใต้เรียกว่า "ควมตัว" อยู่ใน"หม็อง" หรือ "หมง" (เรียกที่อยู่ของปลากัดในหน้าแล้งมีขนาดเท่ากับกำปั้น หรือผลมะพร้าว อยู่ใต้ดินในท้องนาบริเวณที่ลุ่ม เช่นหนองแห้ง ริมบึง ฯลฯ มีลักษณะเป็นหระปุกหรืออุโมงค์เล็ก ๆ โดยมีตมเลนอยู่ภายใน ในหม็องหนึ่ง ๆ จะมีปลากัดอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก) ปลากัดที่อยู่ในหน็องก็จะออกมา "ก่อหวอด" หรือ "กัดฟอง" เพื่อเตรียมการผสมพันธุ์ต่อไป เป็นตอนที่ปลากัดกำลังคึกเต็มที่

[กลับสู่หน้า "กีฬาพื้นบ้าน"
 
[ การแข่งปลากัด] [ประเภทของปลากัด] [ลักษณะที่ดีของปลากัด] [ลักษณะที่ไม่ดีของปลากัด]
[สีปลากัดไทย] [ศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวกับปลากัด]