<%@ Language=VBScript %> นครศรีธรรมราช - สถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม


 
  การแข่งปลากัด
 
        การแข่งปลากัด   

                            
การกัดปลา หรือ ที่ชาวภาคใต้เรียกว่า ขบปลา หมายถึง หารนำเอาปลาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ปลากัด" มาต่อสู้ด้วยการให้ปลากัดทั้ง 2 ฝ่ายกัดกัน "ปลากัด" เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีขนาดตัวเล็กมีลำตัวยาว หัวแหลม ท้ายแหลม ว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว ว่องไว ปลากัดมีครีบตามลำตัวหลายแห่งครีบเหล่านี้คลี่กางหุบและพับได้ และยังมีเกล็ดปกคลุมทั่วไปทั้งตัวทั้งยังมีเมือกหุ้มห่อผิวหนังอีกด้วย ปลากัดตัวผู้จะมีรูปร่างและสีสันสวยงาม กว่าตัวเมีย และที่สำคัญที่สุดปลาชนิดนี้มีนิสัยชอบกัดกัน จึงได้เรียกชื่อตามนิสัยและพฤติกรรมของมันว่า "ปลากัด" รูป ปลากัดพันธ์ลูกทุ่ง-ลูกป่าปลากัด แต่เดิมปลากัดทุกประเภทคงจะอยู่ตามท้องทุ่งในที่อันเป็นที่ลุ่ม หรือตามพรุ ตามป่าที่มีน้ำท่วมถึง ด้วยเหตุที่ปลาชนิดนี้มีนิสัยเป็นปลาชาตินักสู้คือชอบกัดกัน คนจึงได้เที่ยวช้อนหรือที่เรียกกันในภาษาถิ่นภาคใต้ว่า "ส้อน" เอามาใส่ขวดเลี้ยงไว้สำหรับกัดกันเพื่อความบันเทิงใจตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบการต่อสู้ แม้ในบางเรื่องบางอย่างที่ตนไม่สามารถจะต่อสู้เองได้ก็จะพยายามหาตัวแทนตนในการต่อสู้ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอตัวอย่างเช่น การชนวัว ชนไก่ แม้แต่การแข่งขันนกเขาและการแข่งขันอื่น ๆ ล้วนเป็นการต่อสู้กันทั้งสิ้น

[กลับสู่หน้า "กีฬาพื้นบ้าน"
 
[ การแข่งปลากัด] [ประเภทของปลากัด] [ลักษณะที่ดีของปลากัด] [ลักษณะที่ไม่ดีของปลากัด] [สีปลากัดไทย] [ศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวกับปลากัด]