www.tungsong.com
                                   
เมืองใหญ่ลุ่มน้ำ เกษตรกรรมก้าวหน้า พุทธศาสนาเลิศล้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลื่อเลื่องศิลปิน เมืองศิลปาชีพ
 
แนวทางการดำเนินงานของอำเภอเชียรใหญ่

  • การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
  • งานด้านสหกรณ์
      สหกรณ์การเกษตรอำเภอเชียรใหญ่ ปัจจุบันมีสมาชิก 1,163 คน ทุนดำเนินงาน 12,459 บาท ทรัพย์สินของสหกรณ์ 43,510,834 บาท มีธุรกิจที่สำคัญคือ
    1. การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ทุนดำเนินการ 3,852,751 บาท
    2. โครงการให้สินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์
    3. ศูนย์สาธิตร้านค้าสหกรณ์บ้านเนินธัมมัง มีสมาชิก 140 คน หุ้น 40,180 บาท ทรัพย์สิน 39,682 บาท
    4. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านบ่อล้อ มีสมาชิก 156 คน ทุนดำเนินงาน 257,085 บาท ทรัพย์สิน 351,805 บาท

    งานด้านเกษตร
    1. โครงการเกษตร ทฤษฎีใหม่ไร่นาสวนผสม พื้นที่ดำเนินการ 270 ไร่
    2. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตข้าว พื้นที่ดำเนินการ 4,000 ไร่
    3. โครงการปรับปรุงการผลิตไม้ผล - พืชผัก พื้นที่ดำเนินการ 316 ไร่
    4. โครงการเกษตรยังชีพ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 308 ราย ดำเนินการในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
    5. จัดตั้งกลุ่มเกษตรกร จำนวน 12 กลุ่ม

    งานด้านประมง
    1. ผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำทั้งหมด จำนวน 1,086 ราย
    2. โครงการปรับเปลี่ยนอาชีพผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด แจกพันธุ์สัตว์น้ำ 5 ชนิดจำนวน 30 ล้านตัวแยกดังนี้
      -  พันธุ์กุ้งก้ามกราม
      -  พันธุ์ปลานิล
      -  พันธุ์ปลาตะเพียนขาว
      -  พันธุ์ปลากะพงขาว
      -  พันธุ์ปลาดุกบิกอุย
    3. โครงการอนุรักษ์าปลาหน้าเทศบาลตำบลเชียรใหญ่ (แม่น้ำปากพนัง-เชียรใหญ่)
    4. โครงการ "กรมประมงพร้อมใจภักดีรักในหลวง ปล่อยกุ้งกราม จำนวน17,650,000 ตัว ในแม่น้ำเชียรใหญ่
    5. โครงการ "เกษตรทฤษฎีใหม่" ตามแนวพระราชดำริ แจกพันธุ์ปลากินพืชให้ราษฎร จำนวน 19 ราย ๆละ 2,000 ตัว
    6. โครงการเลี้ยงปลานิลทับทิมในกระชัง พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3 และ 5 ตำบลบ้านเนิน

    งานด้านปศุสัตว์
    1. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก
      -  ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง ในพื้นที่หมู่ที่ 7,11,12 ตำบลการะเกด หมู่ที่ 8,9 ตำบลเขาพระบาท โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พันธุ์เมืองสมาชิก จำนวน 1,000 ราย
      -  ส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ดำเนินการในเขต ปตร.เชียรใหญ่ จำนวน 50 ราย(ม. 2,4,10 ต.ท้องลำเจียก) ในเขต ปตร.คลองฆ้อง จำนวน 50 ราย (ม. 1,3,5 ต.แม่เจ้าอยู่หัว)
      -  ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสมและเป็ดเทศ ตามโครงการเกษตรยังชีพ จำนวน 11,430 ราย พันธุ์เป็ดเทศ จำนวน 252 ตัว
    2. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงแพะ
      -  จัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 ราย สนับสนุนพันธุ์แพะตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย3 ตัว / ราย ดำเนินการในหมู่ที่ 3 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว และหมู่ที่ 4 ตำบลการะเกด
    3. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโค
      -  บริการให้เกษตรกรยืมแม่พันธุ์โค พันธุ์เนื้อเพื่อผลิตลูก รายละ 2 ตัว เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 34 ราย ให้ยืมโค จำนวน 68 ตัวดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 1,2,5 ตำบลท้องลำเจียก และหมู่ที่ 3 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว

    งานด้านป่าไม้
    1. โครงการปลูกไม้เศรษฐกิจ
      -  ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกป่าในอัตราไร่ละ 3,000 บาท ภายใน 5 ปี มีเกษตรกรจำนวน 43 ราย ขณะนี้กำลังดำเนินการตรวจสอบเพื่อเบิกจ่ายเงินให้เกษตรกรในงวดต่อไป
    2. โครงการจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้แก่ราษฎรที่เดือดร้อนต้องอพยพจากแนวเขตพื้นที่ขุดคลองชะอวด-แพรกเมือง ซึ่งจังหวัดได้กำหนดป่าท่าช้างข้าม ซึ่งมีเนื้อที่ 28,668 ไร่ เป็นพื้นที่รองรับราษฎรเหล่านั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลป่าท่าช้างข้ามของคณะเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ 2657/2542 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2542 และจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและคัดเลือกผู้เข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าท่าช้างข้าม ตามคำสั่งจังหวัดที่ ง2667/2542 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2542 เพื่อ
      -  กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เขาอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าช้างข้าม
      -  ตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้ที่ยื่นความประสงค์จะเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าท่าช้างข้าม
      -  จัดลำดับความสำคัญของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ขอเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าท่าช้างข้าม
    3. โครงการขุดคลองพระราชดำริชะอวด - แพรกเมือง
      -  กรมป่าไม้อนุญาติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าช้างข้าม ตามประกาศกรมป่าไม้ที่214/2538 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ในพื้นที่ตำบลการะเกด และตำบลเขาพระบาทอำเภอเชียรใหญ่ เนื้อที่ 1,721 ไร่ งาน ระยะทางประมาณ 27 กม. เริ่มดำเนินการจากหมู่ที่ 12,11ตำบลการะเกด ระยะทาง 8 กม. หมู่ที่ 8,9 ตำบลเขาพระบาทระยะทาง 3 กม. ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ที่หมู่ที่ 11 ตำบลการะเกด

    งานด้านพัฒนาชุมชน
    1. กระบวนการประชาคม มีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
    2. จัดดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ใน 10 ตำบล 10 หมู่บ้าน
    3. งานพัฒนาเด็ก จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ศูนย์ เด็กเล็ก 126 คน ผู้ดูแลเด็ก 8 คน
    4. งานพัฒนาเยาวชน จัดตั้งกลุ่มอาชีพเยาวชน 1 กลุ่ม สมาชิก 15 คน ลานกีฬาต้านยาเสพติด 1 แห่ง
    5. งานพัฒนาสตรี คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) 97 คณะสมาชิก 1,455 คน
    6. งานพัฒนาเศรษฐกิจชุมขน
      -  กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 16 กลุ่ม สมาชิก 1,365 คน เงินสัจจะสะสม จำนวน 6,313,040 บาท
      -  กลุ่มทอผ้า (ม. 5 แม่เจ้าอยู่หัว) สมาชิก 35 คน
      -  กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูด (ม.5 ต.แม่เจ้าอยู่หัว) สมาชิก 34 คน
      -  กลุ่มปลูกพริก (ม.7 ต.ไสหมากและ ม.2 ต.เชียรใหญ่)
      -  กลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือ (ม.9 ต.เชียรใหญ่)
      -  กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า (ม.2 ต.แม่เจ้าอยู่หัว)
      -  กลุ่มทำขนม (ม.9 ต.ท้องลำเจียก)
      -  ลานค้าชุมชน (ม.6 ต.เขาพระบาท
    7. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน จำนวน 62 หมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมาย 3,774 ครัวเรือน ครัวเรือน ยืมเงิน 2,032 ครัวเรือน เงินทุนในการกู้ยืมตามโครงการ 17,360,000 บาท

    งานด้านสาธารสุขและอนามัย
    1. โครงการประปาอนามัยดื่มได้ 1 แห่ง
    2. โครงการอบรมผู้นำชุมชนจิตสำนึกด้านอนามันสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย 97 คน
    3. งานประกันสุขภาพ ให้ประชาชนมีหลักประกันด้านสาธารณสุข โดยจัดให้มีการทำบัตรสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาสและบัตรประกันสุขภาพประเภท 1,2 และ 3
    4. โครงการอบรมแกนนำครอบครัวในงานสาธารณสุขมูลฐาน กลุ่มเป้าหมาย 15 หมู่บ้าน 557 ครอบครัว
    5. โครงการอบรมผู้ประกอบการร้านขายของชำ กลุ่มเป้าหมาย 97 คน
    6. โครงการประชาร่วมใจป้องกวันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมายทั้งอำเภอ
    7. โครงการถ่ายทอดความรู้การดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเวชแก่ อสม. เป้าหมาย 30 คน
    8. งานให้บริการอนามัยแม่และเด็ก ดูแลหญิงมีครรภ์ มารดา ทารก หลังคลอด
    9. โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเสริมในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี แก่เด็กทุกคน

  • การเร่งรัดขจัดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  • สถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียรใหญ่
      ลักษณะอาชญากรรม ปี 2543 แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
    กลุ่มที่ 1 คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ เกิด 7 ราย จับ 4 รายผู้ต้องหา 4 คน
    กลุ่มที่ 2 คดีประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย และเพศ เกิด 12 ราย จับ 10 ผู้ต้องหา 10 คน
    กลุ่มที่ 3>/b> คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ เกิด 10 ราย จับ 8 ราย ผู้ต้องหา 8 คน
    กลุ่มที่ 4 คดีที่น่าสนใจ เกิด 11 ราย จับ 4 ราย ผู้ต้องหา 4 คน
    กลุ่มที่ 5 คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย จับ 134 ราย ผู้ต้องหา 291 คน
    สถานีตำรวจภูธรตำบลการะเกด
    กลุ่มที่ 1 ปล้นทรัพย์ 1 ราย จับไม่ได้
    กลุ่มที่ 2 พยายามฆ่า 2 ราย จับ 2 ราย ทำร้ายร่างกาย 3 ราย จับ 1 ราย
    กลุ่มที่ 3 ลักทรัพย์ 6 ราย จับ 2 ราย ปล้นทรัพย์ 1 รายจับไม่ได้
    กลุ่มที่ 4 ฉ้อโกง 5 ราย จับ 3 ราย
    กลุ่มที่ 5 การพนันทั่วไป 23 ราย 69 คน สลากกินรวบ 28 ราย 28 คน ยาเสพติดให้โทษ 47 ราย 37 คน

  • เร่งรัดการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  • 1. จัดทำโครงการนำร่องหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ตำบลละ 2 หมู่บ้าน รวม 10 หมู่บ้านแล้วจะขยายผลต่อไป
    2. โรงเรียนสีขาว จำนวน 6 โรง สังกัด สช. 2 โรง สังกัดกรมสามัญศึกษา 4 โรง
    3. จัดทำโครงการนำร่องหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ตำบลละ 2 หมู่บ้าน รวม 10 หมู่บ้านแล้วจะขยายผลต่อไป
    4. ให้ความรู้เรื่องยาเสพติดในสถานศึกษา
    5. โครงการสายตรวจในพื้นที่ จัดกำลังเจ้าหน้าที่เป็นสายตรวจในพื้นที่
    6. โครงการอบรมสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม และสมาชิกอาสารักษาความสงบประจำหมู่บ้าน (ส.ร.บ.)
    7. โครงการสายลับ สายตรวจในโรงเรียน
    8. ตั้งจุดตรวจปัสสาวะผู้ขับขี่ยานยนต์ในเวลากลางคืน เพื่อตรวจสารเสพติด
    9. จัดชุดสายตรวจจับกุมผู้ค้า ผู้เสพอย่างต่อเนื่องทั้งฝ่ายปกครองและตำรวจในรอบปีจับกุมได้ 115 ราย
    ผลการปราบปรามของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียรใหญ่จับกุม 68 ราย 69 คน
      -   เสพกัญชา 1 ราย ผู้ต้องหา 1 คน
      -   มีเฮเรอีนไว้จำหน่าย 1 ราย ผู้ต้องหา 1 คน
      -   เสพยาบ้า 56 ราย ผู้ต้องหา 56 คน
      -   มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง 1 ราย ผู้ต้องหา 4 คน
      -   จำหน่ายย้าบ้า 4 ราย ผู้ต้องหา 4 คน
      -   มียาบ้าไว้ในครอบครอง 1 ราย ผู้ต้องหา 4 คน
      -   เสพสารระเหย 1 ราย ผู้ต้องหา 1 คน

    ผลการปราบปรามของสถานีตำรวจภูธรอำเภอการะเกด จับกุม 35 ราย 36 คน
      -   ยาบ้า 3 ราย 4 คน
      -   กระท่อม 32 ราย 32 คน

  • เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
  •   -   รณรงค์ให้มีการนั่งเรือชมทัศนียภาพ 2 ฝั่งแม่น้ำเชียรใหญ่
      -   จัดตั้งชมรม "คนรักแม่น้ำเชียรใหญ่"
      -   รณรงค์ให้คนทั่วไปเดินทางเที่ยวเชียรใหญ่ เพื่อรับประทานกุ้งก้ามกร้าม
      -   ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมเชียรใหญ่ เช่น การจัดงานปีใหม่ ประจำปี การแข่งขันเรือเพรียวบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ

  • เร่งรัดการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • 1.โครงการพัฒนาบ้านเนินธัมมัง
                - โครงการเลี้ยงปลาสลิดในบ่อดิน จำนวน 44 ราย
                - โครงการฝึกอบรมเกษตรกร จำนวน 110 ราย
    2.โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
    3.โครงการจัดที่ดินให้ราษฎรทำกินและอยู่อาศัยในป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าช้างข้าม
    4.โครงการขุดคลองระบายน้ำชะอวด - แพรกเมือง
    5.โครงการก่อสร้างสะพาน "พระแม่เจ้า" ที่บ้านท้ายทะเล ตำบลการะเกด - บ้านเนินธัมมัง ต. แม่เจ้าอยู่หัว
    6.โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองปากพนัง -หัวไทร (บ้านหัวป่าขรุ ต.เสีอหึง อ.เชียรใหญ่)
    7.โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอื่นที่ดำเนินการในพื้นที่

  • เร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
  • 1.ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ กกต.จังหวัด
    2.เตรียมความพร้อมของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้มีความรู้ความเข้าใจวิธีการเลือกตั้ง
    3.ให้การสนับสนุนการจัดเวทีประชาธิปไตย และดำเนินการตามโครงการชูธงประชาธิปไตย
    4.ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

  • เร่งรัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 1.ฝึกอบรมให้ราษฎรป้องกันไฟป่า (ป่าเสม็ด)
    2.ป้องกันปราบปรามการลักลอบตัดไม้เสม็ด
    3.ห้ามทิ้งขยะมูลฝอยในแม่น้ำเชียรใหญ่โดยการจัดตั้งชมรม "คนรักแม่น้ำเชียรใหญ่"
    4.ปกป้อง คุ้มครองที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 94 แปลง ไม่ไห้มีการบุกรุกเพื่อครอบครองของราษฎร

  • เร่งรัดและสานต่อโครงการต่อเนื่อง
  • 1. โครงการพัฒนาบ้านเนินธัมมัง
    2.โครงการขุดคลองระบายน้ำชะอวด - แพรกเมือง ตามพระราชดำริ
    3.โครงการก่อสร้างสะพาน "พระแม่เจ้า" ที่บ้านท้ายทะเล ตำบลการะเกดขนาดกว้าง 9 เมตร เพื่อนำวัสดุเข้าไปก่อสร้างสะพานตั้งที่ หมู่ที่ 12 ต. การะเกด และหมู่ที่ 5 ต.แม่เจ้าอยู่หัว
    4.โครงการขุดคลองส่งน้ำตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ - ตำบลดอนตรอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ 40,900 ไร่
    5.โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปากพนัง ที่บ้านปากแพรก ตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ - ตำบลปากแพรก อำเภอปากพนัง
    6.โครงการพัฒนาดินเปรี้ยว โดยกรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการปรับปรุงสภาพเดิมดินเปรี้ยวให้สามารถทำการเพาะปลูกได้ ที่บ้านเนินธัมมัง จำนวน 1,500 ไร่ และที่บ้านค้อแดงตำบลเขาพระบาท จำนวน 500 ไร่ และจะดำเนินการเพิ่มขึ้นต่อไปเมื่อมีงบประมาณ

      ปัญหา
    1.ถนนชำรุดเสียหายเนื่องจากประสบอุทกภัยเกือบทุกสาย เพราะน้ำท่วมขัง
    2. ปัญหาน้ำเสีย เนื่องมาจากน้ำท่วมขัง เป็นระยะเวลานานเนื่องจากอุทกภัยผสมกับน้ำเปรี้ยว
    3. ปัญหาด้านผลิตผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย เนื่องจากอุทกภัยตลอดทั้งการปศุสัตว์

    ข้อเสนอแนะ
    1.ฟื้นฟูและซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์รวมทั้งพืชผลทางการเกษตรและการปศุสัตว์
    2. เร่งรัดการก่อสร้างถนนลาดยางสายหลักเชื่อมระวหว่างตำบล จำนวน 2 สาย คือ
      -  สายบ้านท่าขนาน - บ้านคชธรรมราช
      -  สายบ้านการะเกด - บ้านสระแก้ว - บ้านดอนบัว - บ้านปากแพรก ตำบลบ้านเนิน
    3. ซ่อมแซมถนนทางหลวง หลวงชนบทสายบ้านอ่าวค่าย - บ้านสระโพธิ์ - บ้านพัทธสีมา (ร.พ.ช.)


    Home