www.tungsong.com
                                   
เมืองใหญ่ลุ่มน้ำ เกษตรกรรมก้าวหน้า พุทธศาสนาเลิศล้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลื่อเลื่องศิลปิน เมืองศิลปาชีพ
 
สภาพทางสังคม
   ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100
การศึกษา
   ข้อมูลด้านการศึกษา

สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้
สถานศึกษาสังกัด
จำนวน(โรงเรียน)
จำนวนห้องเรียน
จำนวนครู
จำนวนนักเรียน
สปช.
42
374
419
5,909
สค.
4
87
147
3,466
สช.
2
12
11
247
ที่มา สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเชียรใหญ่

ด้านการศึกษานอกโรงเรียน  มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเชียรใหญ่รับผิดชอบ มีกลุ่มสนใจ 3 กลุ่ม  กลุ่มวิชาชีพระยะสั้น 11 กลุ่ม ที่อ่าน หนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 67 แห่ง และห้องสมุดประชาชนอำเภอ 1 แห่ง การจัดการศึกษานอกโรงเรียนมีทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย

การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม  มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา 33 แห่ง ศาลเจ้า 1 แห่ง มีสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียรใหญ่ 1 แห่ง ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สำคัญได้แก่ หนังตะลุง นโนราห์ และเพลงบอก มีงานประเพณีที่สำคัญได้แก่ประเพณีลากพระ แข่งเรือซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี

การสาธารณสุข  มีข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข โดยมีสถานพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ ขนาด 30 เตียง และสถานีอนามัยประจำตำบลและหมู่บ้าน 12 แห่ง สถานพยาบาลเอกชน 5 แห่ง และร้านขายยา 1 แห่ง จำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขแพทย์ จำนวน 2 คน ทันตแพทย ์จำนวน 1 คน เภสัชกร จำนวน 2 คน พยาบาล จำนวน 46 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 32 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน 25 คน อาสาสมัครสาธารณสุข(ผสส.อสม.) จำนวน 768 คน อัตราการมีแล ะใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 หอกระจายข่าว จำนวน 78 แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
  • สถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียรใหญ่ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ  124 นาย
  • สถานีตำรวจภูธรตำบลการะเกด อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ  60 นาย
  •       
    ประเภทคดี
    ปี 2542
    ปี 2543
    เกิด(คดี)
    จับ(ราย)
    ผู้ต้องหา(คน)
    เกิด(คดี)
    จับ(ราย)
    ผู้ต้องหา(คน)
    คดียาเสพติด
    75
    75
    78
    103
    103
    105
    คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ
    4
    4
    4
    8
    7
    4
    คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย
    11
    8
    17
    14
    12
    12
    คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์
    7
    5
    6
    27
    10
    10
    คดีที่น่าสนใจ
    9
    1
    5
    16
    7
    7
    คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
    130
    130
    241
    232
    232
    425
    ที่มา สถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียรใหญ่
            สถานีตำรวจภูธรตำบลการะเกด
    ด้านการเมือง
    คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้อำเภอเชียรใหญ่ทั้งอำเภออยู่ในเขตการเลือกตั้งที่ 9 ประกอบด้วยอำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง (เฉพาะตำบลชะเมา ตำบลป่าระกำ และตำบลเกาะทวด) และ มีสมาชิกสถาองค์กรบริหารส่วนจังหวัด เขตอำเภอเชียรใหญ่ ได้จำนวน 1 คน
    ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 35,144 คน แยกเป็นชาย 17,185 คน หญิง 17,959 คน
    ระบบบริการพื้นฐาน
    การคมนาคม  การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน ดังนี้
     1.
     ทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีธรรมราช - สงขลา
     2.
     ทางหลวงแผ่นดินสายบ่อล้อ - เชียรใหญ่ - ปากพนัง
     3.
     ทางหลวงแผ่นดินสายบ่อล้อ - ชะอวด
     4.
     ทางหลวงชนบทสายสระไกร - พัทธสีมา
     5.
     ทางหลวงชนบทสายการะเกด - ท้ายทะเล
     6.
     ทางหลวงชนบทสายการะเกด - ดอนโหนด
     7.
     ทางหลวงชนบทสายทุ่งขวัญแก้ว - บางคลุ้ม
    ซึ่งถนนสายหลักสายชำรุดเป็นหลุ่มเป็นบ่อ ขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุง สำหรับเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบลหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง การสัญจรไปมาไม่สะดวกทุกฤดูกาลในภาพรวมการพัฒนาด้านคมนาคมยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

    การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
    มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง มีการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีจำนวนคู่สาย มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้าสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหัวไทร

    การสาธารณูปโภค
    มีการประปาระดับอำเภอและตามตำบล หมู่บ้านดังนี้
  • การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
      1. ประปาส่วนภูมิภาคอำเภอปากพนังเขตจำหน่ายน้ำอำเภอเชียรใหญ่
  • การประปาหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง
  • แหล่งน้ำกิน-น้ำใช้ประเภทอื่น ได้แก่บ่อน้ำบาดาล จำนวน 54 แห่ง บ่อน้ำตื้น จำนวน 90 บ่อ ถังเก็บน้ำ จำนวน 105 แห่ง โอ่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 562 ใบ
    และได้รับสนับสนุนงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30,000 บาท จัดซื้อโอ่งน้ำ จำนวน 100 ใบ เพื่อแจกจ่ายให้ราษฎรที่เดือดร้อน

  • ทรัพยากรธรรมชาติ
    ทรัพยากรดิน   เป็นดินเหนียว เหมาะแก่การปลูกข้าว การทำไร่นาสวนผสมดินบางส่วนทางตอนใต้เป็นดินเปรี้ยว และป่าพรุ
    ทรัพยากรน้ำ   มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือมีแม่น้ำปากพนัง - ชะอวด คลองฆ้อง คลองเชียร คลองคชธรรมราช คลองบางมด คลองขวาง ใช้ในการเกษตร
    ทรัพยากรป่าไม้   มีพื้นที่ป่าไม้สำคัญ ได้แก่ ป่าท่าช้างข้าม และป่าคลองฆ้อง


    Home