 |
|
|
|
สภาพทางเศรษฐกิจ |
|
ด้านเกษตรกรรม |
มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 126,445 ไร่ ครอบครัวเกษตรจำนวน 6,491 ครอบครัว ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะความเป็นอยู่ยากจน โดยประกอบอาชีพหลักคือการทำนา
ซึ่งส่วนใหญ่ทำนาเพียงครั้งเดียว เนื่องจากขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร มีการทำนา 2 ครั้ง อยู่บ้างในพื้นที่ของตำบลเชียรใหญ่ และตำบลท้องลำเจียก นอกจากนั้นมีการทำไร่นาสวนผสมและเลี้ยงกุ้งกุลาดำบางพื้นที่
ลักษณะของดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวขาดความอุดมสมบูรณ์ และ 1 ใน 3 ของพื้นที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยว มีแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรที่สำคัญ คือ |
แม่น้ำปากพนัง ระยะทางไหลผ่านเขตอำเภอเชียรใหญ่ ประมาณ 40 กิโลเมตร |
ลำคลองที่สำคัญ ๆ มี คลองบางตัด คลองบ้านกลาง คลองคชธรรมราช คลองทางพูน คลองขวาง คลองฆ้อง คลองเชียรใหญ่ คลองชะอวด |
สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้ |
ที่ |
พืชเศรษฐกิจ |
พื้นที่ปลูก |
ผลิตผลเฉลี่ย ก.ก./ไร่/ปี |
จำนวนครัวเรือนที่ปลูก |
1. |
ข้าว |
112,146 ไร่ |
32 |
6,491 |
2. |
ผักและไม้ผล |
2,000 ไร่ |
300 |
2,000 |
สัตว์ที่เลี้ยง |
จำนวนตัว |
โคเนื้อ |
10,816 |
กระบือ |
44 |
สุกร |
4,964 |
แพะ |
134 |
ม้า |
10 |
เป็ด |
10,785 |
ไก่ |
110,430 |
ห่าน |
135 |
ที่มา สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเชียรใหญ่
การประมง |
- เกษตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 757 ราย พื้นที่ 1,969.19 ไร่ |
- ผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ จำนวน 1,086 ราย |
การอุตสาหกรรม |
มีราษฎรประกอบอาชีพกิจการอุตสาหกรรมในครัวเรือนเพื่อส่งสินค้าออกสู่ตลาด เช่น การผลิตข้าวซ้อมมือ การทำขนมทองม้วน การทอผ้าด้วยมือ และผลิตภัณฑ์กระจูด เป็นต้น |
การพาณิชย์ |
มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง มีธนาคาร จำนวน 3 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน
ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์ จำนวน 1 แห่ง นอกจากนั้นเป็นร้านค้าย่อย ร้านค้าปลีก ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าวัสดุเครื่องเขียน ซุปเปอร์มาเก็ต และร้านขายของชำ |
การบริการ |
มีสถานบริการและสถานเริงรมณ์ จำนวน 3 แห่ง |
การท่องเที่ยว |
มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ ศาสนาและโบราณสถานสมควรแก่การพัฒนาและส่งเสริมอย่างจริงจัง ได้แก่ วัดเขาแก้ววิเชียร และการล่องเรือลำน้ำเชียรใหญ่ |
รายได้ |
ประชากรมีรายได้โดยเฉลี่ย 9,735 บาท / คน / ปี (ต่ำกว่าเกณฑ์ 10,000 บาท) |
| | | |