![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
ยุทธวิธีในการป้องกันรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ : ภูมิปัญญาและบทบาทของชาวบ้าน | |
ยุทธวิธีที่ได้ผลในการป้องกันรักษาไว้ซึ่งมรดกทางชีวภาพของโลก และในกรณีของประเทศไทยก็เช่น |
|
เดียวกัน คือต้องให้ความสำคัญต่อการปกป้องอาณาบริเวณที่ยังไม่ถูกอิทธิพลของสังคมเศรษฐกิจการเมืองจากภายนอกเข้าไปทำให้เสียหายเป็นอันดับแรก อาณาบริเวณนี้เรียกว่า เขตธรรมชาติ (wildlands) อย่างไรก็ตาม น่าจะทำความเข้าใจกันไว้เสียแต่ตอนต้นว่าในเขตธรรมชาติเหล่านี้มมิได้หมายความว่าเป็นดินแดนที่ไม่มีคนอยู่เลยอย่างสิ้นเชิง อาณาบริเวณประเภทนี้บางแห่งมีคนพื้นเมือง หรือชาวบ้านผู้ที่ได้อาศัยป่าเป็นแหล่งดำรงชีวิตในเชิงปฏิสัมพันธ์อย่างมีดุลยภาพพอควรกับธรรมชาติแวดล้อมมาตั้งแต่เดิมและเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศนั้นอย่างแยกไม่ออก เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตหรือการปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ได้ขัดแย้งหรือทำลายดุลยภาพของระบบนิเวศนั้นๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีของประเทศไทยคือการดำรงชีวิตของชาวมราบรีในอดีต หรือที่คนไทยทางภาคเหนือเรียกว่า ผีตองเหลือง ชาวพื้นเมือง ในภาคใต้สุดของประเทศไทยที่คนไทยเรียกพวกเขาว่า เงาะป่า หรือซาไก ในช่วงก่อนที่สวนยาง สวนปาล์มน้ำมันจะเข้าไปทำลายป่าดั้งเดิมจนพวกเขาหมดถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ต้องเข้ามาอยู่ในนิคมสร้างตนเอง หรือเข้าเมืองรับจ้าง ชาวเลผู้ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ในแถบทะเลอันดามัน ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงเอกภาพระหว่างคนกับระบบนิเวศ ในฐานะที่คนเป็นส่วนหรือองค์ประกอบหนึ่งตามธรรมชาติของระบบนิเวศ ในส่วนของคนไทย ส่วนใหญ่ย้อนหลังไปก่อน พ.ศ.2500 คือก่อนที่ประเทศไทยจะมีแผนพัฒนาอย่างเป็น ระบบ ชาวบ้านหรือชาวไร่ชาวนาไทยก็ยังคงมีวิถีการดำรงชีวิตในลัษณะเดียวกันนี้อยู่กล่าวคือยังคงทำการผลิตในระดับพอกินพอใช้ หรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเศรษฐกิจแบบยังชีพ (subsistent economy) ซึ่งเป็นแผนการดำรงชีวิตที่ยังไม่ขูดรีดตักตวงธรรมชาติมากเกินความจำเป็น เป็นการมีชีวิตอย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ ปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังวิถีการดำรงชีวิตดังกล่าวอาจเป็นคำตอบของมนุษย์ชาติต่อการจะเลือกสรรแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่พึงปรารถนาก็เป็นได้ | |
อนึ่ง การจะรักษาเขตธรรมชาติซึ่งเป็นระบบนิเวศที่หลากหลายเอาไว้ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี |
|
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายในวิถีทางหรือทัศนะต่างๆ ที่มนุษยชาติมองและใช้ธรรมชาติ และท้ายที่สุดจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะจำกัดการใช้ทรัพยากรของสังคมและของโลกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการสูญสลายหายไปของความหลากหลายทางชีวภาพ มนุษยชาติทั้งมวลจะต้องเรียนรู้ความหลากหลายในอาณาบริเวณที่ห่างไกลเปล่าเปลี่ยวตามมุมต่างๆ ของโลกเท่านั้น และจะต้องดำรงไว้พร้อมทั้งฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในป่าเขาลำเนาไพร แหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เราใช้ รวมทั้งในหมู่บ้าน ชุมชนและเมืองต่าง ๆ ที่เราอาศัยอยู่ด้วยกัน (Ryan,1992:6) บทความนี้มีความเชื่อว่าชาวบ้านที่ถูกระบุว่าเป็นกลุ่มคนที่ล้าหลังด้อยความรู้ ด้อยพัฒนาเป็นชาวป่าชาวดอย ความจริงแล้วกลับเป็นกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าคนในเมืองหลายเท่านัก การที่ผู้วางแผนพัฒนาประเทศก็ดี คนในเมืองก็ดี ได้ช่วยกันผลักดันให้คนในชนบท เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมาสู่แนวทางที่นักวางแผนการพัฒนาเห็นว่าเป็นความเจริญ ความก้าวหน้า แท้จริงแล้วเป็นการชักนำให้พวกคนเหล่านั้นละทิ้ง ภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่ชี้นำให้พวกเขาดำรงชีพอย่างมีดุลยภาพกับสภาพแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพโดยไม่รู้ตัว | |
เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ |
|
คือการศึกษา เรียนรู้ฟื้นฟู ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อให้ภูมิปัญญาดังกล่าวกลับมามีบทบาทในการส่องนำแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คนอย่างเกื้อกูลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับธรรมชาติดังเช่นที่ปัญญาชน หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวนหนึ่งในปัจจุบันได้เรียนรู้และนำมาปฏิบัติอย่างได้ผล สมควรแก่การเป็นตัวอย่างสำหรับสังคมไทยและมนุษยชาติต่อไป | |
![]() |
![]() |
ทำไมการค่อยๆ หายไปของแมลง พืชและนกฯ | BACK | การพัฒนากับการทำลายฯ ในระดับมหภาค | ![]() |