Untitled

http://www.tungsong.com


ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

วัฒนธรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพ
ฉลาดชาย รมิตานนท์
 
คำนำ

 

ปัจจุบันแม้ว่าจะเริ่มมีการพูดถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนอันตรายต่างๆ
ของการสูญเสียความหลากหลายดังกล่าวกันบ้างแล้ว แต่ความรู้ในเรื่องนี้ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ไม่เฉพาะแต่ในกรณีของประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่ในระดับสากลเองก็ตาม ยังไม่มีผู้ใดรู้อย่างแน่นอนว่ามีสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆ (life forms) จำนวนเท่าใดที่ใช้ชีวิตร่วมอยู่กับมนุษยชาติบนโลกนี้ เคยมีการระบุอย่างคร่าวๆ ไว้ว่ามีประมาณ 1.4 ล้าน (species) แต่ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจำนวนรวมทั้งหมดน่าจะใกล้เคียง 10 ล้าน และอาจสูงถึง 80 ล้านชนิดเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดจำนวนดังกล่าวเป็นสัตว์ขนาดเล็กเช่น แมลง และสัตว์ในตระกูลหอย (mollusks) ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่มีการสำรวจศึกษากันไว้น้อยมาก เช่น ในร่มเงาของป่าเขตร้อน (tropical forest canopy) หรือตามพื้นมหาสมุทร อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งในสภาพแวดล้อมที่คุ้นตาและอยู่ใกล้ๆ ตัวเรานี้ ธรรมชาติก็ยังคงดำรงรักษาความลับที่เรายังไม่รู้ไว้อีกหลายอย่าง (Ryan, 1992 : 5) ดินหนึ่งกำมือจากสวนผลไม้แถบธนบุรีหรือนนทบุรี อาจมีสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักวิทยาศาสตร์เลยก็ได้

 

อย่างไรก็ตาม การสูญสลายของระบบนิเวศก็ดี สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ก็ดีและการสูญเสียความหลาก
หลายภายในสายพันธุ์ดังกล่าวหาใช่เรื่องใหม่ของโลกไม่ ความจริงแล้วการสูญพันธุ์เป็นชะตากรรมที่หนีไม่พ้นของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่จะต้องเข้าใจว่านับแต่สิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบซับซ้อนถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 600 ล้านปีที่ผ่านมานั้น สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมักจะมีชีวิตอยู่ได้โดยเฉลี่ยนานระหว่าง 1-10 ล้านปี และอัตราการสูญพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ระหว่าง 1 ถึง 10 ชนิดต่อปี แต่ปัจจุบันนี้กิจกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งคือมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นทวีคูณ ทำให้อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกหลายพันเท่าตัวเป็นผลทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของพืชและสัตว์ของโลกไปอย่างมากมายและรวดเร็วอย่างไม่อาจหาอะไรมาเทียบเคียงได้ นับแต่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ (dinosaurs) เมื่อประมาณ 60 ล้านปีที่แล้ว (Ryan, 1992 : 6)

 

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างมีอยู่เป็นปรกติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
แต่อัตราการสูญพันธุ์ดังกล่าวเพิ่มความรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้นกว่าที่ควรเป็นตามกระบวนการของธรรมชาติ สาเหตุหลักคือการกระทำของมนุษย์หรือจะกล่าวให้ชัดเจนคือ การเปลี่ยน แปลงวัฒนธรรมหรือแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือแตกสลายของระบบนิเวศ การสูญเสียชนิดของสิ่งมีชีวิตบางชนิด และการสูญเสียความหลากหลายภายในสายพันธุ์บางสายพันธุ์นั่นเอง ด้วยเหตุนี้การศึกษาและการรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพจึงไม่ใช่ภารกิจเฉพาะของนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จะต้องเป็นภารกิจร่วมของนักสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ทุกสาขา สาธารณชน และที่ขาดไม่ได้คือ ภูมิปัญญาและความร่วมมือของชาวบ้านผู้มีวิถีชีวิตที่คลุมคลืออยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

 

อนึ่งบทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอแนวคิด (concept) บางแนวคิด ที่เชื่อว่าน่าจะมี
ส่วนช่วยในการศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจและแสวงหาแนวทางและวิธีการในการรักษาฟื้นฟู และสืบทอดความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ และโลกต่อไป

วัฒนธรรม อารยธรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพ กำเนิดวัฒนธรรม
มนุษย์ต่างกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่วัฒนธรรม วัฒนธรรมมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม:วัฒนธรรมคือความคิด
วัฒนธรรมหรือระบบคิดของมนุษย์กับแบบแผนวิถีชีวิตและความสัมพันธ์กับธรรมชาติ สัมพันธภาพระหว่างอำนาจเหนือธรรมชาติ
วัฒนธรรมหรือระบบคิดของชาวบ้านว่าด้วยธรรมชาติกับมนุษย์ การพัฒนาคือการเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือระบบคิดและวิถีการดำรงชีวิต
ทำไมการค่อยๆ หายไปของแมลง พืชและนกต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ยุทธวิธีในการป้องกันรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ: ภูมิปัญญาและบทบาทของชาวบ้าน
การพัฒนากับการทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับมหภาค ปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาประเทศกับความจำเป็นที่จะต้องกำหนดระบบคิด
ปรัชญาเบื้องหลังการพัฒนา ที่ประเทศไทยยึดเป็นหลัก ยุทธวิธีของการพัฒนาเป็นการแยกแยะวิถีชีวิตของคนออกเป็นส่วนๆ
ปัญหาหลักของการพัฒนากระแสหลัก คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ
สถานภาพขององค์ความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ทางเลือกของการพัฒนา:ภูมิปัญญาเกษตรกรรมพื้นเมือง กับความหลากหลายทางชีวภาพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพ ประสานการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ:ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบท ความลงท้าย

กลับหน้าแรก