![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
ความหลากหลายทางชีวภาพกับทรัพย์สินทางปัญญา | |
ยศ สันตสมบัติ | |
เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า ป่าเขตร้อนเป็นระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธัญญาหาร สัตว์ |
|
แมลง จุลินทรีย์ และทรัพยากรพันธุกรรมทรงคุณค่ามากมายเหลือคณานับ ป่าเขตร้อนยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติของโลก และยังประโยชน์อย่างยั่งยืนมวลมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อาณาบริเวณของป่าหลายแห่งยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านหลายกลุ่มหลายเผ่าพันธ์ แต่ละกลุ่มได้พัฒนาวิถีชีวิตผูกพันธ์อย่างแนบแน่นอยู่กับป่า สั่งสมภูมิปัญญา ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของป่า สมุนไพร และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่ามาเป็นเวลานับร้อยนับพันปี ป่าเขตร้อนมิได้เป็นเพียงภาพรวมของความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งมีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เช่น การผลิตยารักษาโรค การปรับปรุงสายพันธืของพืชและสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์เป็นต้น | |
ในปัจจุบัน เรายังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับธรรมชาติของป่าเขตร้อน ตลอดจนความ |
|
หลากหลายทางชีวภาพของป่าเขตร้อน เรารู้เพียงว่าป่าเขตร้อนเป็นระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนเปราะบาง เมื่อพื้นที่ป่าผืนใหญ่ถูกหักร้างถางเตียนเพื่อใช้ประโยชน์จากไม้ ป่าจะสูญหายไป ต้นไม้อาจฟื้นสภาพกลับมาบ้างหลังจากถูกปล่อยทิ้งไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่สิ่งมีชีวิตในป่าและทรัพยากรพันธุกรรมมากมายอาจสูญหายไปโดยสิ้นเชิง ป่าเขตร้อนที่ยังเหลืออยู่ จึงมีคุณค่ามากเกินกว่าจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างมักง่ายและมุ่งแสวงหากำไรในระยะสั้นเท่านั้น ประเด็นที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่งก็คือว่า ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา นโยบายและการจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์อำนาจและการมุ้งใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เน้นแต่เพียงการผลิตไม้สำหรับการบริโภคภายในและการส่งออก รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างสวนป่าและการปลูกไม้โตเร็วเพื่ออุตสาหกรรมเยื่อกระดาษโดยไม่เคยให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณประโยชน์ที่แท้จริงของป่าเขตร้อน เพราะคุณค่าที่แท้จริงของป่าในประเทศไทยมิได้อยู่ที่ตัวไม้เป็นหลักใหญ่ หากแต่อยู่ที่ทรัพยากรชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่าเอนกอนันต์ | |
ปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ว่า เราจะมองและทำความเข้าใจถึงธรรมชาติและคุณค่าของป่าเขตร้อนและ |
|
ความหลากหลายทางชีวภาพของเราอย่างไร และจะจัดการอย่างไรให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยั่งยืน ทำอย่างไรเราจึงจะพัฒนางานวิจัยเพื่อค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรของเราเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมทางเลือก บนพื้นฐานของทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ มิใช่คำนึงแต่เพียงการก่อสร้างสวนป่าเพื่อปลูกไม้โตเร็ว การมุ้งสนับสนุนอุตสาหกรรมเยื่อการดาษและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการยินยอมทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยให้ต่างชาติเข้ามาปล้นเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราเพื่อนำไปจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน | |
ความหลากหลายทางชีวภาพ : กรอบคิดที่แตกต่าง | |
แม้ว่าความสนใจในประเด็นเรื่องสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ และวิกฤติความหลากหลายทางชีวภาพใน |
|
ปัจจุบัน จะมุ่งประเด็นไปสู่ภูมิภาคเขตร้อนในซีกโลกใต้หรือในประเทศโลกที่สามเป็นหลัก หากแต่ วิธีคิด ซึ่งนำไปสู่การวางแผนและลงมือปฏิบัติการเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กลับผูกขาดโดยสถาบันและองค์กรระหว่างประเทศเพียงไม่กี่แห่ง เช่น ธนาคารโลก UNDP และสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงจากประเทศอุตสาหกรรมทางซีกโลกเหนือทั้งสิ้น | |
กระบวนทัศน์ของวัฒนธรรมอุตสาหกรรมซึ่งมุ่งเน้นกำไรและการเจริญเติบโต อำนาจครอบงำและผล |
|
ประโยชน์จึงกลายมาเป็นพื้นฐานของวิธีคิดและการมองความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยเหตุนี้เองความหลากหลายทางชีวภาพจึงถูกมองเป็นเพียง วัตถุดิบ (raw materials) สำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม หรือเป็น ผลผลิต (product) ในรูปของเมล็ดพันธุ์ สูตรยา สารพันธุกรรม หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิต (lifeform) ที่อาจได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาหรืออาจรอเวลาเพื่อแปรสภาพเป็นสินค้าสำหรับทำกำไรในท้องตลาดได้ ป่าเขตร้อนในประเทศโลกที่สามจึงถูกมองเป็นขุมทรัพย์ เป็นคลังหรือธนาคารพันธุกรรม ที่จำต้องได้รับการดูแลรักษาจนกว่าจะมีการศึกษาวิจัย และใช้ประโยชน์ โดย ตัวแทนจากประเทศมหาอำนาจซึ่งพยายามปรับเปลี่ยนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติให้กลายมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร ยา พลังงาน และอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพตามแนวความคิดนี้จึงเป็นเพียงการอนุรักษ์ วัตถุดิบ มากกว่าการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนของสรรพชีวิต การมองความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเพียงวัตุดิบสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคตทำให้การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเพียงการเร่งเก็บตัวอย่างทางพันธุกรรม และมิได้สร้างหลักประกันความมั่นคงของความหลากหลายตามธรรมชาติหรือ หลักประกันเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมของชุมชนท้องถิ่นและประชาชนของประเทศโลกที่สามแต่ประการใด | |
ในกระบวนทัศน์ของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต (production) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การผลิต |
|
สินค้าชนิดเดียวกันและมีมาตรฐานเดียวกันออกมาเป็นจำนวนมาก โดยนัยนี้ การผลิตและความหลากหลายมีความขัดแย้งกันโดยตรง ภายใต้เหตุผลชุดเดียวกันนี้เองที่เราพบว่าการ เพิ่มผลผลิตในภาคเกษตรตามยุทธวิธีที่เรียกกันว่า การปฏิวัติเขียว (Green Revolution) หรือระบบการเกษตรสมัยใหม่ คือ การปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่มหาศาลและทำการเพิ่มผลผลิต โดยการปรับปรุงพันธุ์ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดแมลง การปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือการผลิตในเชิงทัศน์เช่นนี้เอง ที่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นแมลงที่มีประโยชน์ในไร่นา ตลอดจนความหลากหลายของพันธุ์พืชพื้นเมืองที่ถูกแทนที่โดยสายพันธุ์ใหม่ | |
ความหลากหลายของพันธุ์พืชพื้นเมือง ถูกมองเป็นเพียง วัตถุดิบ สำหรับการสร้างพืชมหัศจรรย์ |
|
สายพันธุ์ใหม่ และในท้ายที่สุด ความหลากหลายของพันธุ์พืชก็ถูกทำลายด้วยพืชสายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างแข็งขันจากธุรกิจการเกษตร ปมปัญหาของการสร้างพืชและสัตว์สายพันธุ์ใหม่ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ของการผลิตเชิงเดี่ยวก็คือ การทำลายความหลากหลายซึ่งเป็นรากเหง้าหรือต้นกำเนิดของเทคโนโลยีชีวภาพ การพัฒนาพื้นที่ป่าด้วยการปลูกไม้เชิงเดี่ยว เช่น ยูคาลิปตัส ยังผลให้ความหลากหลายของไม้พื้นบ้านมหาศาลซึ่งตอบสนองความต้องการด้านอาหาร ยาและการใช้สอยในชีวิตประจำวันอื่นๆ ของประชาชนในท้องถิ่นต้องสูญหายไป การเกษตรแผนใหม่นำเอาพืชพันธุ์ใหม่มาแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรนำมาเพาะปลูก และลงเอยด้วยการทำลายความหลากหลายของพันธุ์พืชพื้นบ้านไป พร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการพึ่งพิงกลไกตลาด การนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาป่าและการเกษตรในลักษณะเช่นนี้ว่าเป็นเสมือนการดึงเอาก้อนหินออกจากฐานรากของบ้านเพื่อมาซ่อมหลังคา ยุทธวิธีในการเพิ่มผลผลิตด้วยการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นยุทธวิธีที่อันตรายและไร้ค่าเป็นอย่างยิ่ง | |
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับเกษตรกรและชาวชนบทอีกมากมายในซีกโลกใต้ที่พึ่งพาอาศัยป่าในการดำรง |
|
ชีวิตมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นแหล่งที่มาและเครื่องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ความหลากหลายทาง ชีวภาพมิได้เป็นเพียงวัตถุดิบ หากแต่เป็นทั้งเครื่องมือการผลิตและผลผลิตอันจำเป็นต่อความอุดมสมบูรณ์ของชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพตามแนวความคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศและระบบการผลิตในภาคเกษตรเพราะความหลากหลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศและระบบการผลิตในภาคเกษตรเพราะความหลากหลายเป็นหลักประกันแห่งความอุดมสมบูรณ์ และการกินดีอยู่ดีของชุมชน ตราบใดที่การหลากหลายยังมิได้เป็นตรรกพื้นฐานของการผลิต ตราบนั้นการอนุกันรักษ์ความหลากหลายย่อมมิอาจเป็นจริงได้ หากการผลิตยังวางอยู่บนพื้นฐานของการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและมาตรฐานเดี่ยว ความหลากหลายก็ยังคงถูกทำลายให้ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ การจัดตั้งและคุ้มครองเขตอนุรักษ์ การสร้างธนาคารพันธุกรรมและการปรับปรุงสายพันธุ์ ตามแนวความคิดของบริษัทธุรกิจเอกชน หรือสถาบันวิจัยการเกษตรและป่าไม้ในซีกโลกตะวันตก กลายมาเป็นความสูญเสียของประเทศโลกที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ต้องเผชิญหน้ากับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ภาระหนี้สิน ความยากจน และการถูกขับไล่ออกจากที่ดินทำกินของตน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติอย่างต่อเนื่อง | |
อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า การผลิต กับ ความหลากหลาย ไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงข้ามหรือ |
|
ทำลายล้างซึ่งกันและกันเสมอไป การผลิตจะส่งผลให้เกิดการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพก็ต่อเมื่อการผลิตนั้นเป็นการผลิตเชิงเดี่ยว ซึ่งเกิดจาการครอบงำ การมั่วสุมแสวงหากำไรและความเจริญเติบโตอย่างปราศจากสำนึกรับผิดชอบ | |
การแพร่กระจายของระบบการผลิตเชิงเดี่ยว เช่น การปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่ป่าหรือการปลูกพืชพันธุ์ |
|
ใหม่ในภาคเกษตร มักถูกแอบอ้างสร้างเสริมความชอบธรรมบนฐานของการ เพิ่มผลผลิต ในทำนองเดียวกัน การใช้เทคโนโลยีปรับเปลี่ยนความหลากหลายทางชีวภาพก็ถูกแอบอ้างความชอบธรรมโดยการโฆษณาชวนเชื่อด้วยวลีเช่น การปรับปรุงสายพันธุ์ การเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ เป็นต้น หากแต่การปรับปรุงสายพันธุ์ และการเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจนี้ เป็นไปเพื่อ ปรับปรุง และ เพิ่มคุณค่า สำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น การปรับปรุงสายพันธุ์และการปลูกไม้โตเร็วเพียงชนิดเดียวในสวนป่าขนาดใหญ่ อาจมีความหมายอย่างหนึ่ง สำหรับบริษัทอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษซึ่งต้องการชิ้นไม่สับจากไม้โตเร็วเป็นวัตถุดิบแต่อาจมีความหมายแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงสำหรับชาวนาชาวไร่รายย่อยซึ่งต้องการอาหาร ยา ไม้ฟืน และผลผลิตอื่น ๆ จากพื้นที่ป่า การปรับปรุงพันธุ์พืชมีความหมายอย่างหนึ่งสำหรับบริษัทค้าพืชผลและธุรกิจการเกษตร และมีความหมายแตกต่างโดยสิ้นเชิงสำหรับชาวนารายย่อยในประเทศโลกที่สาม | |
ยุทธศาสตร์และโครงการเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ | |
โดยความเป็นจริงแล้ว การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงความหลากหลาย |
|
ในฐานะเป็นพื้นฐานและแกนกลางของการผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจมิใช่ในฐานะเป็นเพียงวัตถุดิบ อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพภายในระบบการผลิต กลับถูกมองข้ามไปโดยสิ้นเชิงใน วิธีคิด ของประเทศมหาอำนาจดังปรากฏในโครงการต่างๆ ที่ได้รับการจัดสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ | |
ตัวอย่างเช่น ในรายงานเรื่อง World Resources 1990 1991 ซึ่งจัดพิมพ์โดยสถาบันทรัพยากร |
|
โลก (WRI) ร่วมกับโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และโครงการสภาวะแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) มีบทที่กล่าวถึง อาหารและการเกษตร , ป่ากับทำเลเลี้ยงสัตว์ และ สัตว์ป่ากับถิ่นที่อยู่อาศัย หากแต่รายงานเล่มนี้แทบไม่ได้พูดถึงปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพแม้แต่น้อย เว้นในบทที่กล่าวถึงสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งพูดถึงประเด็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเอาไว้บางส่วน หากแต่แนวทางในการมองปัญหาการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยยังคงยอมรับหรือแม้กระทั่งสนับสนุนการทำลายความหลากหลายในระบบการผลิต เช่น เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์และการประมง สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ยังคงปรากฏในรายงานการศึกษาและการสนับสนุนเกี่ยวกับประเด็นปัญหานี้ ในด้านหนึ่ง การแยกแยะการผลิตกับการอนุรักษ์ออกจากัน คือ การลดความสำคัญของการหลากหลายทางชีวภาพลงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ และในอีกด้านหนึ่ง มุมมองในลักษณะเช่นนี้ เป็นความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับประเด็นทางด้านระบบนิเวศ เศรษฐกิจและการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัญหาที่ว่า ใครควรเป็นผู้ใช้และควบคุมทรัพยากรชีวภาพ รวมทั้ง ประเด็นที่เกี่ยวกับผลกระทบของความหลากหลายทางชีวภาพต่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยรวม | |
ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา แผนงานเพื่อสร้าง ยุทธศาสตร์แห่งการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง |
|
ชีวภาพ (Biodiversity Conservation Strategy) ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือจากองค์กรระห่างประเทศหลายองค์กรด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทรัพยากรโลก (World Resource Institute: WRI) สมาพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources: IUCN) โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารโลก และสถาบันการเงินอื่นๆ แม้ว่ายุทธศาสตร์แห่งการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพจะได้ผ่านกระบวนการปรับแก้มาแล้วหลายรอบด้วยกัน แต่แผนงานดังกล่าวก็ยังคงรักษาองค์ประกอบพื้นฐานเอาไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์แห่งการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพวางอยู่บนพื้นฐานของคำขวัญที่ว่า การรักษา การศึกษาวิจัยและการใช้ประโยชน์ (save it, study it, use it) แผนงานดังกล่าวประกอบไปด้วยโครงการต่างๆ หลายโครงการด้วยกัน รวมทั้ง โครงการปกป้องพื้นที่อนุรักษ์ โครงการให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อ แลกหนี้กับธรรมชาติ (debt-for-nature) โครงการอนุรักษ์แบบทวิภาคีระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล และโครงการขยายบทบาทของภาคเอกชนในการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน | |
โครงการปกป้องพื้นที่อนุรักษ์ | |
แผนงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพส่วนใหญ่ เป็นการอนุรักษ์พื้นที่ป่าเอาไว้ การอนุรักษ์ความ |
|
หลากหลาย ในพื้นที่ (in situ) หมายถึง การจัดให้พื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง กลายมาเป็นพื้นที่เพื่ออนุรักษ์ (protected areas) พื้นที่เหล่านี้ได้รับการขนานนามว่า ระบบนิเวศธรรมชาติ (natural ecosystems) และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งปวง ได้รับการปกป้องให้รอดพ้นจากการบุกรุกทำลายโดยน้ำมือมนุษย์ พื้นที่รอบนอกถัดจากพื้นที่อนุรักษ์และระบบนิเวศธรรมชาติจัดเป็น เขตกันชน (buffer zones) หรือระบบนิเวศกึ่งธรรมชาติ (semi natural ecosystems) ในพื้นที่ของเขตกันชนนี้จะอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง ตราบใดที่การใช้ประโยชน์นั้นไม่ก่อผลกระทบต่อพื้นที่มากจนเกินไป | |
อย่างไรก็ตาม แผนงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการจัดจำแนกพื้นที่เขตกันชนดัง |
|
กล่าวข้างต้นได้มองข้ามปัญหาการขัดแย้งที่มีมายาวนานระหว่างชนพื้นเมืองกับเจ้าหน้าที่ดูแลอุทยาน ความขัดแย้งนี้เกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน แบบแผนของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็คือ ชนพื้นเมืองที่อยู่อาศัยในเขตซึ่งถูกจัดภายหลังให้เป็น เขตอนุรักษ์ จะถูกบีบบังคับให้ต้องย้านออกจากพื้นที่โดยการใช้กำลังบังคับ หรือการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ชนพื้นเมืองย้ายจากเขตอนุรักษ์ไปอยู่ในเขตกันชน ตามนัยนี้ ด้านหนึ่งชนพื้นเมืองได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เข้าสู่กลไกตลาดด้วยการขายและใช้ประโยชน์จากของป่าหรือผลผลิตจากป่าเพิ่มขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ จะต้องแข่งขันกันเอง และแข่งขันกับกลุ่มคนภายนอกผู้อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ ในการใช้ประโยชน์จากป่า ผลที่ตามมาก็คือความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งความอดอยากยากจนของชนพื้นเมือง | |
เหตุการณ์เช่นนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งด้วยกัน และมีกรณีศึกษาที่ทำการบันทึกผลไว้อย่าง |
|
ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ชาวอิค (Ik) ในอูกานดา ถูกโยกย้ายจากถิ่นที่อยู่ดั้งเดิม เพื่อจัดสร้างอุทยานแห่งชาติคิเดโป (Kidepo National Park) ผลที่ตามมาคือ ความอดอยากยากจน ความไม่สามารถพึ่งตนเอง การล่มสลายแห่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอิคโดยสิ้นเชิง ในปี พ.ศ. 1988 ชาวมาซาย (Maasai) ในทานซาเนีย ถูกโยกย้ายจากถิ่นที่อยู่เดิมบริเวณหมู่บ้านมโกมาซี (Mkomazi) เพื่อจัดสร้างเขตกันชนสำหรับอุทยานแห่งชาติโกรอนโกโร (Ngorongoro Park) ในทวีปเอเชีย กรณีเช่นนี้ยังเกิดขึ้นกับชาวเวดดา (Vedda) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งในศรีลังกา และในหมู่บ้านหลายแห่งแถบเบงกอลตะวันตกซึ่งถูกโยกย้ายไปอยู่ในเขตกันชนใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และต้องเผชิญหน้ากับอันตรายจาการอยู่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งมีเสืออยู่ชุกชุม | |
เป็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ GEF (Global Environmental Facility) ซึ่งได้รับเงินทุน |
|
จากธนาคารโลกจำนวนกว่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐกำลังดำเนินมาตรการในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ในลักษณะดังกล่าวอยู่ในปัจจุบัน ในประเทศไทยเอง โครงการ GEF กำลังดำเนินการเพื่อล้อมกรอบปกป้องและสร้างเขตกันชนในอุทยานแห่งชาติหลายแห่งด้วยกัน | |
โครงการอีกโครงการหนึ่งซึ่งมีการวางแผน ให้ดำเนินคู่ขนานไปกับโครงการจัดทำพื้นที่อนุรักษ์ คือ |
|
โครงการแลกหนี้กับธรรมชาติ โครงการดังกล่าวนี้นำไปสู่ปัญหายุ่งยากคล้ายคลึงกัน แนวความคิดพื้นฐานของการแลกหนี้กับธรรมชาติ คือการปรับหนี้จำนวนมหาศาลของบางประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนกับการจัดพื้นที่อนุรักษ์และการออกมาตรการเพื่อการอนุรักษ์ประเทศโลกที่สามหลายประเทศ เช่น คอสตาริกา เอควาดอ และโบลิเวีย ได้เข้าร่วมในโครงการนี้ ประเทศโบลิเวียได้ตกลงใช้เงินประมาณ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อปกป้องป่าชิมมิเนส (Chimenes) หากแต่แผนงานของรัฐบาลโบลิเวียดำเนินไปโดยไม่มีการปรึกษาหารือกับชาวอินเดียชิมมิเนส ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในเขตนั้นมาก่อนเลย ชาวพื้นเมืองกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนให้ย้ายไปอยู่ในพื้นที่เขตกันชน หากแต่พื้นที่ป่าเขตกันชนนี้ได้ถูกใช้ประโยชน์โดยนักทำไม้และแปรสภาพเป็นไร่ปศุสัตว์ไปจนหมดสิ้นแล้ว แม้ว่ารัฐบาลของโบลิเวียจะได้พยายามปรับแก้สถานการณ์ให้ดีขึ้น หากแต่แผนการและการดำเนินโครงการนี้ มีประสิทธิภาพย้ำแย่มาตั้งแต่เริ่มต้น | |
พื้นที่อนุรักษ์เพื่อสกัดสารพันธุกรรมและการพาณิชย์ | |
หลักการพื้นฐานสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งอยู่เบื้องหลังยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ความหลากหลายทาง |
|
ชีวภาพ ตลอดจนโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายในรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบัน คือหลักการที่ว่า การอนุรักษ์ควรมีการสอดคล้องเชื่อมโยงจากการใช้ประโยชน์จากศักยภาพในการทำกำไรของทรัพยากรเหล่านี้ การทำกำไร หรือศักยภาพในการทำกำไรกลายมาเป็นความคิดพื้นฐานของ ทุนนิยมสีเขียว (green capitalism) แต่ในบริบทของความหลากหลายทางชีวภาพ การค้นหาศักยภาพในการทำกำไร หมายถึงการประเมินคุณค่าของรูปแบบชีวิตชนิดต่าง ๆ ในป่าฝน | |
กิจกรรมและการปฏิบัติหลายอย่าง เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอาจก่อให้ |
|
เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะสั้น เช่น การอนุรักษ์ป่าธรรมชาติเอาไว้เพื่อเก็บเกี่ยวสายพันธ์พื้นเมืองบางชนิด สำหรับใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมยา อาหาร ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการจัดทำเขตอนุรักษ์เพื่อใช้ประโยขน์ด้านการท่องเที่ยวเป็นต้น | |
แม้ว่าการดำเนินกิจกรรมในลักษณะเช่นนี้อาจก่อให้เกิดประโยชน์บ้างในท้องถิ่น หากแต่การจัดทำ |
|
แผนงานและโครงการระดับโลก เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและพุ่งความสนใจไปหาทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนระดับนานาชาติ เช่น ธนาคารโลก รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และจากภาคธุรกิจเอกชน กลับกลายมาเป็นเพียงโฆษณามาดึงดูดนักลงทุนให้สนใจการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของป่าฝน มากกว่าโครงการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรชีวภาพอย่างแท้จริง | |
แม้ว่าจะมีการชี้ให้เห็นประเด็นความเป็นจริงที่ว่า ชนพื้นเมืองเองก็มีความจำเป็นในการเพิ่มรายได้ |
|
เพื่อการอยู่รอด และมีการเสนอแนะวิธีการที่ชนพื้นเมืองอาจแสวงหาผลประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของซีกโลกเหนือ แต่การดำเนินโครงการในลักษณะเช่นนี้อาจก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากขึ้นหลายประการด้วยกัน แม้ว่าชนพื้นเมืองหลายกลุ่มต้องการที่จะนำเอาผลผลิตจากป่ามาแลกเปลี่ยนหรือทำการค้ากับภายนอกและได้ทำการค้ากับคนภายนอกมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษแล้วก็ตาม แต่การส่งเสริมให้เกิดการขายตัวของการค้าในป่าฝน มิได้คำนึงถึงประเด็นอย่างรอบด้าน จากมุมมองของชนพื้นเมืองเอง อาจก่อให้เกิดผลในด้านลบขึ้นมากมาย | |
ระบบเศรษฐกิจของชนพื้นเมือง ได้รับความควบคุมโดยความสัมพันธ์ทางสังคมภายในกรอบของ |
|
วัฒนธรรมภายในบริบททางวัฒนธรรมนี้ การค้าและการแลกเปลี่ยนได้เกิดขึ้นและดำเนินเรื่อยมาโดยชุมชนเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจทั้งในด้านการผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้ากับภายนอก หากชนพื้นเมืองเข้าสู่กลไกตลาดโดยการตัดสินใจของตนเอง ชุมชนก็อาจรักษาอำนาจในการตัดสินใจด้านการผลิตและการค้าของตนเอาไว้ได้ แต่เมื่อใดที่ความต้องการจากภายนอกเริ่มเข้ามากำหนดการผลิต ความต้องการของตลาดจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิถีการผลิตแทนระบบการยังชีพและการดึงตนเองซึ่งเคยมีมาแต่เดิมโดยเร็ว ผลในบั้นปลายก็คือ ชุมชนจะกลายมาเป็นเพียงลูกจ้างแรงงาน ซึ่งทำตามการเรียกร้องของผู้บริโภคจากซีกโลกเหนือเท่านั้น | |
บทเรียนจากอดีตสอนเราว่า สิ่งนี้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชนพื้นเมือง การขยายตัวของยาง การ |
|
สร้างทางหลวงในบราซิล แผนการยึดครองป่าอเมซอนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา ได้ก่อให้เกิดผลในทางทำลายล้างชนพื้นเมืองด้วยการดึงดูดกลุ่มชนเหล่านี้เข้ามาสู่กลไกตลาด ซึ่งพวกเขาปราศจากอำนาจควบคุมและต่อรอง | |
แม้กระนั้นก็ดี โครงการสำคัญอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลสหรัฐฯ |
|
ผ่านองค์การ World Wildlife Fund คือ เครือข่ายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Conservation Network-BCN) โครงการนี้จะให้เงินทุนกับองค์กรต่างๆ ในประเทศโลกที่สามซึ่งสามารถพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างการนำเอาผลิตผลบางชนิดในป่าเขตร้อนมาขายหรือแปรรูปเพื่อการขาย โดยทำงานร่วมกับชนพื้นเมืองหรือชุมชนท้องถิ่น โครงการดังกล่าวมีสมมติฐานว่า หากชุมชนได้รับผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินจากผลผลิตจากป่า ผลประโยชน์ที่เป็นเงินจะเป็นตัวเร่งเร้า "จิตสำนึก" ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ | |
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า โครงการ BCN ไม่ยอมให้ความสนใจกับผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งชุมชน |
|
ท้องถิ่นได้รับจากอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรชีวภาพมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหลักประกันทรัพยากรชีวภาพมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหลักประกันเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำซึ่งจำเป็นต่อการผลิตในภาคเกษตร ความสำคัญของแหล่งอาหารและยา เป็นต้น หากแต่มุ่งความสนใจไปยังการดึงดูดชุมชนท้องถิ่นและชาวพื้นเมืองที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับป่า ให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลไกตลาดเร็วขึ้น | |
การค้าอาจเป็นสิ่งสำคัญ แต่มิใช่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับอนาคตของชนพื้นเมือง หากชนพื้นเมืองไม่ได้ |
|
รับการเคารพและยอมรับสิทธิพื้นฐานในการควบคุม และกำหนดชะตาชีวิตของตนเองภายในอาณาบริเวณของตน โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การค้าย่อมไม่อาจช่วยให้เขาพัฒนาไปในแนวทางที่พวกเขาต้องการได้อย่างแท้จริง ชาวพื้นเมืองต้องการพัฒนายุทธศาสตร์ในการตลาดของพวกเขาเอง มากกว่าที่จะให้มีคนภายนอกมาวางแผนและคอยบงการชีวิตของพวกเขา | |
ยุทธศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Conservation Strategy) |
|
ได้กำหนดให้กลุ่มที่ปรึกษาเพื่อการวิจัยทางการเกษตรนานาชาติ (CGIAR) และศูนย์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชนานาชาติ (IBPGR) มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พันธุ์พืชทั้งใน "การอนุรักษ์ภายในท้องถิ่น" (in situ) และการอนุรักษ์ด้วยการจัดเก็บตัวอย่างของสายพันธุ์ไว้นอกท้องถิ่น (ex situ) การอนุรักษ์สายพันธุ์ไว้นอกท้องถิ่นหมายการเก็บตัวอย่างพืชไว้ในสวนพฤกษศาสตร์ หรือในธนาคารเมล็ดพันธุ์ (seed bank) และธนาคารพันธุกรรม (genetic bank) แผนงานเหล่านี้มุ่งหวังการสนับสนุนด้านการเงินทุนจากบริษัทธุรกิจเอกชน และเราทราบดีว่า ผลประโยชน์ที่นักลงทุนในภาคธุรกิจเอกชนเหล่านี้มุ่งหวังว่าจะได้รับก็คือ สิทธิเหนือทรัพย์สินทางปัญญา และการผูกขาดควบคุมสิทธิบัตรเหนือพันธุ์พืชและทรัพยากรพันธุกรรม | |
ยุทธศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไม่ได้คำนึงถึงการสร้างกลไกเพื่อปกป้องผล |
|
ประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของชนพื้นเมืองเลยแม้แต่น้อย ช่องทางเดียวที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ การฟ้องร้องเพื่อให้มีการพิจารณาคดีในชั้นศาล ดังกรณีของชาวอูรู-อิว-วอ-วอ (Uru-eu-wau-wau) ซึ่งกำลังทำการฟ้องร้องบริษัทมอนซานโต ว่าได้สละสิทธิของชนพื้นเมืองในการนำเอายาสมุนไพร ไปจดสิทธิบัตร เป็นต้น นอกเหนือไปจากการฟ้องร้องในชั้นศาลแล้ว ทางเลือกอีกประการหนึ่งก็คือประเทศโลกที่สามจะต้องค้นหา และพัฒนารูปแบบของการปกป้องสิทธิเหนือทรัพย์สินทางปัญญาของตนขึ้นมาใหม่ รวมทั้งจำต้องสร้างงานวิจัยและพัฒนาทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของตนเองขึ้นมาโดยรีบด่วน | |
สิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา | |
การค้าพืชผลทางการเกษตรในตลาดโลก และการมุ่งแสวงหากำไรอันเป็นสรณะของธุรกิจโดยทั่วไป |
|
ได้กระทำการเพื่อสร้างภาพลวงตาให้เราเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านของเกษตรกรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไร้ค่าและไม่สมบูรณ์โดยมองข้ามความเป็นจริงว่า เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการคัดสรร ทั้งจากธรรมชาติและจากเกษตรกรมานานหลายชั่วอายุคน เมล็ดพันธุ์ที่ก่อกำเนิดจากห้องทดลองในสถาบันวิจัยระดับนานาชาติ ได้รับการขนานนามว่า เมล็ดพันธุ์ก้าวหน้า (advanced) ในขณะที่เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองกลับถูกเรียกขานว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ล้าหลัง (primtive) การจัดลำดับชั้นให้กับเมล็ดพันธุ์ในลักษณ์เยี่ยงนี้เป็นการสร้างภาพลวงให้เกิดความเชื่อผิดๆ ว่า เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองเป็นสิ่งไม่มีคุณค่าคู่ควรแก่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ นอกจากนั้น การจัดให้เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองเป็นสิ่งไร้ค่า ยังเอื้ออำนวยให้บรรษัทข้ามชาติในซีกโลกเหนือ ใช้ประโยชน์จากสานพันธุ์ของเมล็ดพืชเหล่านี้โดยถือเป็นเพียง "วัตถุดิบ" ที่ไร้ราคาค่างวดแต่ประการใด ประเทศอุตสาหกรรมต้องการยึดครองสิทธิในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางพันธุกรรมในประเทศโลกที่สาม โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน แต่ในทางกลับกัน ผลผลิตที่ได้จากต้นทุนของทรัพยากรชีวภาพในประเทศโลกที่สามกลับกลายมาเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ผลผลิตเหล่านี้ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร และได้รับการปกป้องจากกฎหมายระหว่างประเทศ | |
รายงานจากการประชุมสัมมนาในปี ค.ศ. 1983 ในหัวข้อเรื่องการผสมพันธุ์พืช จัดโดยบริษัท |
|
Pioneer Hi-bred กล่าวว่า: | |
มีบางคนยืนยันว่า เมื่อสายพันธุ์เป็นทรัพยากรซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะ เกษตรกรในประเทศโลกที่สาม ซึ่งเป็นที่มาของสายพันธุ์เหล่านั้น ก็น่าที่จะได้รับเมล็ดพันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนหรือในราคาต่ำ หากแต่ทัศนะดังกล่าวนี้ได้มองข้ามความเป็นจริงที่ว่าสายพันธุ์เดิมได้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้รับการลงทุนทั้งในด้านเวลาและเงินลงไปอย่างมากมาย เพื่อทำการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิม |
|
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่าบริษัทธุรกิจเอกชนมองคุณค่าของสายพันธุ์ในลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับ |
|
ความต้องการของตลาดเท่านั้น โดยมิได้เคยคำนึงว่าสายพันธุ์ของพืชชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ ยังคงมีหน้าที่ตอบสนองความต้องการของระบบนิเวศและความต้องการทางสังคม หากแต่ความต้องการเหล่านี้กลับถูกมองข้ามไปโดยสิ้นเชิง | |
ประเด็นเรื่องสิทธิบัตรของผลผลิตอันเกิดจากการปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ได้สร้างปัญหาทางการเมือง |
|
ที่ยังคงไม่มีคำตอบชัดเจนขึ้นมาหลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของและการควบคุมทรัพยากรพันธุกรรม ปัญหามีอยู่ว่า การปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่เป็นของผู้อื่นโดยวิถีชีวิตและจารีตประเพณีมาตั้งแต่ต้น ประการที่สอง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพมิใช่เป็นการสร้างยีน (genes) ใหม่ แต่เป็นเพียงการเคลื่อนย้ายยีนที่มีอยู่แล้วในสายพันธุ์เดิม การนำเอายีนมาถือเป็น "สิ่งมีค่า" สำหรับการจดสิทะบัตร เป็นแนวทางที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับการประเมินค่าของทรัพยากรพันธุกรรม | |
การนำเอายีนมาถือเป็นสิ่งมีค่า เป็นการใช้ประโยชน์จากชีววิทยาอย่างผิดฝาผิดตัว โดยเนื้อแท้ความ |
|
จริงแล้ว สรรพชีวิตที่มีความซับซ้อนได้ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติมาเนิ่นนาน อีกทั้งยังมีคุณูปการแห่งการคัดสรรสายพันธุ์ของเกษตรกรในประเทศโลกที่สาม ภูมิปัญหาความรู้และคุณูปการของเกษตรกรและหมอยาพื้นบ้านในสังคมชนเผ่าและประเทศโลกที่สาม กลับถูกลดคุณค่าลงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ "วัตถุดิบ" เท่านั้น การจดสิทธิบัตรยีนจึงเป็นการลดคุณค่าของชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นลงเป็นเพียง "สินค้า" ที่สามารถอ้างความเป็นเจ้าของได้เฉกเช่นทรัพย์สินส่วนตัว กระบวนการลดคุณค่าของสรรพสิ่งและองค์ความรู้ของท้องถิ่นลงในลักษณะเช่นนี้ อาจช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกสำหรับการตักตวงผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ หากแต่การกระทำเยี่ยงนี้ ได้ละเมิดจาบจ้วงต่อศักดิ์ศรีของชีวิต และหลักการเกี่ยวกับสิทธิในสมบัติสาธารณะ (common property rights) ของประชาชนในประเทศโลกที่สาม | |
แนวความคิดอันผิดพลาดเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม และการจดสิทธิบัตรแสงความเป็นเจ้าของ |
|
ทรัพยสินทางปัญญากำลังเป็นพื้นฐานของ "สงครามชีวภาพ" (bio-battles) ในการประชุมของ FAO และสงครามการค้าในการประชุมเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้าและภาษี (GATT) ประเทศมหาอำนาจบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา กำลังใช้การค้าเป็นเครื่องมือในการบังคับให้ประเทศโลกที่สามยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐอเมริกาได้กล่าวหาประเทศโลกที่สามว่า "ทำการค้าอย่างไม่ยุติธรรม" หากประเทศเหล่านี้ไม่ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐฯ ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการผูกขาดสิทธิในรูปแบบทางชีวภาพ แม้กระนั้นก็ดี ประเทศสหรัฐฯ เองต่างหากที่กำลังดำเนินกิจการค้าอย่างไม่ยุติ ธรรรมในการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมของประเทศโลกที่สามไปใช้โดยไม่จ่ายค่าตอบแทน และยังทำกำไรเป็นจำนวนมหาศาลโดยมิได้แบ่งปันผลกำไรเหล่านั้นให้แก่เจ้าของเดิมของสายพันธุ์ที่นำมาใช้เลย มะเขือเทศป่า (Lycopersicon chom-relewskii) ซึ่งนำไปจากประเทศเปรูในปี ค.ศ.1972 ได้ทำการกำไรให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศของสหรัฐเป็นเงินถึง 8 ล้านดอลลาร์ต่อปี แต่ประเทศเปรู ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนี้ ไม่เคยได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรเหล่านี้เลย | |
จากข้อมูลของเพรสคอท-อัลเลน (Prescott-Allen) พืชพันธุ์พื้นเมืองมีส่วนกำไรให้กับภาคการ |
|
เกษตรของสหรัฐฯเป็นจำนวนเงินถึงปีละประมาณ 340 ล้านดอลลาร์ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1976-1980 สายพันธุ์พืชพื้นเมืองได้ทำประโยชน์ให้กับระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นจำนวนเงินประมาณ 66,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นจำนวนเงินมากกว่าหนี้สินระหว่างประเทศของเม็กซิโกและฟิลิปินส์รวมกันเสียอีก สายพันธุ์เหล่านี้เป็นสมบัติของรัฐอธิปไตยและชุมชนท้องถิ่นในประเทศโลกที่สาม | |
ประเทศโลกที่สามส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ทรัพยากรพันธุกรรมเป็น "มรดกร่วม" (common |
|
heritage) แทบทุกประเทศมีทัศนะคล้ายกันว่าเราไม่ควรนับเอาพืชและสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของระบบสิทธิบัตรแสดงความเป็นเจ้าของรูปแบบของชีวิตอื่นๆ ศักยภาพของกรรมวิธี มนุษย์เริ่มแสดงตนเป็นเจ้าของรูปแบบของชีวิตอื่นๆ ศักยภาพของกรรมวิธีในการปรับเปลี่ยนยี ลดคุณค่าของสิ่งมีชีวิตลงเป็นเพียงองค์ประกอบของยีนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น พัฒนาแห่งการค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์นานหลายศตวรรษ ถูกลดคุณค่าลงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการแสวงหากำไรจากการใช้เทคโนดลยีใหม่ๆ เพื่อกำหนดรูปแบบของชีวิต การมุ่งแสวงประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้บดบังคุณค่าแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรในประเทศโลกที่สามซึ่งได้ทำการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์พืชและสัตว์ชนิดต่างๆมานานนับพันปี แพต มูนนี (Pat Mooney) ได้เสนแความคิดในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า "ข้ออ้างที่ว่าทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นยอมรับได้ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นได้รับการค้นคิดในห้องทดลองโดยกลุ่มคนที่สวมใส่เสื้อคลุมชุดขาวเป็นการมองพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในลักษณะเหยียดผิวพันธุ์" | |
อคติที่แฝงเร้นอยู่ในประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีอยู่อย่างน้อย 2 ประการด้วยกัน อคติประการ |
|
แรก คือ ความคิดที่ว่า ปัญญาและแรงงานของเกษตรกรในประเทศโลกที่สามไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด ในขณะที่แรงงานของนักวิทยาศาสตร์ตะวันตกช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสายพันธุ์ใหม่ อคติประการที่สองคือ การวัด "คุณค่า" โดยใช้กลไกตลาดเป็นเกณฑ์ตัดสิน โดยความเป็นจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางพันธุกรรมของสายพันธุ์พืชและสัตว์นานาชนิด เป็นผลมาจากการทำงานและการสั่งสมภูมิปัญญาของเกษตรกรในสังคมต่างๆ มาเป็นเวลานานหลายพันปี ความสำเร็จเหล่านี้ย่อมต้องมีคุณค่ามากไปกว่าการทำงานเพียงในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาของนักวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือบ่อยครั้งที่นักวิทยาศาสตร์เป็นเพียงผู้รับเอาผลประโยชน์ และมิได้เป็นผู้สร้างคุณปการให้แก่การปรับปรุงสายพันธุ์เหล่านั้นแต่เพียงผู้เดียว | |
คุณูปการของเมล็ดพันธุ์จากสติปัญญาและแรงงานของเกษตรกร มีคุณค่ามหาศาลทั้งในด้านสังคม |
|
และนิเวศวิทยา นอกเหนือไปจากคุณค่าเชิงพาณิชย์โดยตรง การจำกัดคุณค่าไว้เพียงภายในระบบตลาด ย่อมมิใช่เหตุผลที่มีน้ำหนักเพียงพอสำหรับการปฏิเสธคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งคุณค่าของผลิตผลจากธรรมชาติ ประเด็นสำคัญประการนี้ช่วยชี้ให้เราเห็นข้อบกพร่องแห่งตรรกของระบบตลาดได้อย่างชัดเจน | |
การฉกฉวยและทึกทักเอาผลผลิตจากธรรมชาติและภูมิปัญญาของเกษตรกรในประเทศโลกที่สาม |
|
มาเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการจดสิทธิบัตรแสดงความเป็นเจ้าของ จึงมิได้วางอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลแต่ประการใด การลดคุณค่าของรูปแบบชีวิตลงเป็นเพียงสินค้าและทรัพย์สินส่วนบุคคล จึงวางอยู่บนพื้นฐานของการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองและเป็นลักษณะปรากฎของลัทธิอาณานิคมทางการค้าในอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้นเอง |
กลับหน้าแรก |