Untitled

http://www.tungsong.com



ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

นิเวศธรรมชาติกับเกษตรกรรม : ความหลากหลายทางชีวภาพและความสมดุล
ชนวน รัตนวราหะ
 
บทนำ

 

สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีและเกิดขึ้นในโลกนี้ทั้งทีมีชีวิตและไม่มีชีวิตจะมีการเปลี่ยนแปลงตามหลัก
พุทธธรรมที่ว่ามีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นวัฏจักรของความเปลี่ยนแปลงและหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง ในสรรพสิ่งต่างๆ เหล่านั้นจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่สัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ โดยรอบไม่ได้ แต่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ้งกันและกัน ผลที่เกิดขึ้นในขณะใดกับสรรพสิ่งใดย่อมมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นตามหลักพุทธธรรมในเรื่องของกฎแห่ง "อิทัปปัจจยตา" กล่าวคือ การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นผลสืบเนื่องติดต่อกันเป็นลูกโซ่ทั้งสิ้น (ประเวศ วะสี ,2536)

 

ในระบบนิเวศตามธรรมชาติ (Natural ecosystem ) สรรพสิ่งทั้งหลาทั้งที่มีชีวิต เช่นมนุษย์ สัตว์ พืช
จะมีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งไม่มีชีวิตโดยรอบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด ในความมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตนั้นจะเห็นว่า พืชเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และสัตว์ สัตว์เล็กเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ สัตว์เล็กเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ที่กินเนื้อ มูลของสัตว์ที่กินของเน่าเปื่อย รวมไปถึงจุดจุลินทรีย์ที่จะย่อยสลายยสิ่งที่เป็นซากเหลือเหล่านั้นให้เป็นปุ๋ยแก่ต้นพืชต่อไปเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง

 

พืชที่มีความหลากหลายทั้งชนิดและพันธุ์ที่ปลูกร่วมกันอยู่อย่างผสมกลมกลืนในสภาพป่าไม้ธรรมชาติ
นั้น เป็นตัวอย่างอธิบายหลักการของนิเวศธรรมชาติได้อย่างชัดเจนและน่าจะทำให้เกิดความเข้าใจคุณประโยชน์ของธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์อย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ จากการปรับตัว (adaptation) การวิวัฒนาการ (evolution) ซึ่งเกิดจากการคัดเลือกธรรมชาติ (natural selection) ทำให้พืชขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ พืชอายุสั้น อายุปานกลาง อายุยาว พืชทรงพุ่มหนา ทรงพุ่มบางเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความกลมกลืน พืชที่ต้องการแสงแดดน้อยได้อาศัยร่มเงาของพืชใหญ่ซึ่งต้องการแสงมาก พืชชั้นต่ำ เช่น สาหร่าย ม๊อส เฟิร์น ปรับตัวเองให้ขึ้นได้ดีในซอกหินที่มีแสงแดดน้อย พืชตระกูลถั่วช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เกิดเป็นไนโตรเจนในรูปที่เป็นธาตุอาหารให้แก่ต้นพืชตระกูลถั่วเองและพืชอื่นข้างเคียง พืชที่รากหยั่งลึกในดินช่วยดูดเอาแร่ธาตุอาหารของพืชที่อยู่ในระดับลึกมาเปลี่ยนเป็นมวลชีวภาพ เช่น ลำต้น กิ่ง ใบ ราก ผล และเมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นทับถมก็จะเป็นปุ๋ยให้กับพืชอื่นที่อาศัยดินในระดับผิวพื้นที่มีทรงพุ่มหนาจะช่วยบังฝนไม่ให้ตกกระทบผิวดินโดยตรงซึ่งจะช่วยยึดผิวดินไม่ให้ถูกฝนชะล้าง

 

ในส่วนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่โดยรอบในสภาพแวดล้อมนั้น จะเห็นได้ว่า
การที่พืชซึ่งเป็นแหล่งสะสมพลังงานและการผลิตขั้นปฐมภูมิสำหรับสิ่งที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ จะต้องอาศัยดิน น้ำ อากาศและแสงแดดในการปรุงอาหาร โดยขบวนการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ในขบวนการนี้พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของพลังงานเคมีในสารประกอบอินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่ เรียกว่ามวลชีวภาพของพลังงานเคมีในสารประกอบอินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่ เรียกว่ามวลชีวภาพ (biomass) ในรูปของแป้งและน้ำตาลที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์แสงนี้ก่อได้เกิดซึ่งอาหารของมนุษย์และสัตว์

 

นอกจากแป้งและน้ำตาลอันเป็นพลังงานสะสมที่เกิดจากขบวนการสังเคราะห์แสงแล้ว พืชสามารถได้
ไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนในรูปของไนโตรเจนและแอมโมเนียไอออนเป็นส่วนใหญ่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะใช้ไนโตรเจนในรูปสารอินทรีย์ได้ไนเตรทจะถูกเปลี่ยนให้เป็นแอมโมเนียเสียก่อน ส่วนประกอบที่พืชสร้างจากแอมโมเนีย คือ กลูตามีน ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบของโปรตีนในพืช

 

ในขณะที่พืชปรุงอาหารโดยขบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งมี CO2 และ H2O เป็นส่วนประกอบในการทำ
ปฎิกริยาให้เกิดแป้งและน้ำตาล และได้ O2 เป็นผลที่ตามมาด้วย แต่ในขณะเดียวหันพืชเองก็จำเป็นต้องหายใจเพื่อเอาออกซิเจนไปเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลังงานไปใช้ในหารสังเคราะห์โมเลกุลใหญ่ ๆ เพื่อสร้างส่วนต่างๆ ของพืชต่อไป เช่น ขบวนการสังเคราะห์โมเลกุลใหญ่ๆ เพื่อสร้างส่วนค่างๆ ของพืชต่อไป เช่น ขบวนการสังเคราะห์ที่โปรตีน เป็นต้น ในขณะที่พืชหายใจ แป้งและน้ำตาลจะถูกเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำเช่นเดิม จะเห็นว่าแป้งและน้ำตาลที่พืชเก็บไว้ในลำต้นกิ่งและใบของพืชนั้นได้เก็บเอาโมเลกุลของน้ำไว้ด้วย และจะปล่อยดินกลับออกไปเมื่อพืชหายใจ ดังสมการต่อไปนี้ ซึ่งเป็นวัฎจักรอย่างต่อเนื่อง

ขบวนการสังเคราะห์แสง
------------------------->
6 CO2 +6H2O             C6H12O6 +CO2
<----------------------
ขบวนการหายใจ


 

ธาตุอาหารอนินทรีย์ตามธรรมชาติที่เข้าสู่ระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตโดยผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง
ของพืชนั้น มีธาตุสำคัญอยู่ประมาณ 16 ชนิด แต่ที่สำคัญและมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จำนวน 9 ธาตุ คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน(N) ออกซิเจน(O) ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P)โปแตสเซียม(K) แคลเซี่ยม(Ca) แมกนีเซี่ยม(Mg) และซัลเฟอร์(S)

 

คาร์บอนซึ่งเป็นธาตุองค์ประกอบสำคัญของสารอินทรีย์เข้าสู่ขบวนการสังเคราะห์แสงในรูปของ CO2
ทำปฏิกริยากับน้ำโดยมีคลอโรฟีลและแสงแดดเป็น Catalyst และโดยขบวนการนี้ไฮโดรเจนและออกซิเจนก็จะเข้าสู่อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในปฏิกิริยานี้ด้วย

 

ไนโตรเจนเป็นอินทรีย์สารในรูปของก๊าซซึ่งมีอยู่มากมายถึงร้อยละ 30 ของอากาศ หรือโดยประมาณ
1 ตันต่อไร่นั้นจะถูกขบวนการ Nitrification เปลี่ยนแปลงเป็นอินทรีย์สารโดยบทบาทของแบคทีเรียชนิด Rhizobium ที่อยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่วโดยทั่วไป และถูกดูดซึมเข้าทางส่วนรากของต้นพืชในรูปสารละลายไนเตรท (NO3) ทำนองเดียวกัน ฟอสฟอรัสและซัสเฟอร์ที่เป็นอนินทรีย์สารนั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่รากต้นพืชในสภาพของสารละลายที่มีประจุลบในาภาพของอนุกูล(PO4)และ(SO4)ส่วนโปรแตสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมจะถูกดึงดูดไปใช้โดยรากพืชด้วยลักษณะของประจุบวก

 

ในสภาพของระบบนิเวศตามธรรมชาติที่ปราศจากการรบกวนของมนุษย์นั้น สิ่งมีชีวิตที่มีความหลาก
หลายของชนิดและเผ่าพันธุ์จะอาศัยอยู่รวมกันอย่างมีตวามสมดุล มีหมุนเวียนอาหาร แร่ธาตุ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ แร่ธาตุอื่นๆ จะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดการสูญเสียแต่จะคงอยู่ และมีความเพิ่มพูนในทางเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น

องค์ประกอบของระบบนิเวศธรรมชาติ
ลักษณะทั่วไปของระบบนิเวศธรรมชาติ
ความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศทางธรรมชาติของเขตอบอุ่นและเขตร้อน
ระบบนิเวศเกษตร
ขนาดของระบบนิเวศเกษตร
คุณสมบัติของระบบนิเวศเกษตร
การปรับใช้หลักของนิเวศธรรมชาติเพื่อการผลิตในระบบนิเวศเกษตร

กลับหน้าแรก