|
สภาพทั่วไป
| ประวัติเทศบาล
|
โครงสร้างพื้นฐาน
|
ด้านเศรษฐกิจ
| ด้านสังคม |
ด้านการเมืองการบริหาร
| |
|
 |
วัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญ |
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
ซึ่งเทศบาลถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องจัดให้มีขึ้นในแต่ละปี |
1. ประเพณีสารทเดือนสิบ |
ความสำคัญ
:
เป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช
ซึ่งเชื่อว่าบรรพบุรุษ อันได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย
และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
หากทำชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรตต้องทนทุกข์ทรมาน ในอเวจี
ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้น
ในวันแรก 1
ค่ำเดือนสิบ
คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรต จึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์
เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกในวันแรก
15
ค่ำ เดือนสิบ
ในโอกาสนี้เอง ลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด
เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
สรุปว่าประเพณีเดือนสิบมีความสำคัญ ดังนี้ |
1. เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ที่ได้อบรมเลี้ยงดูลูกหลานเพื่อตอบแทนบุญคุณ
ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
|
2. เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกล
ได้พบปะทำบุญร่วมกันสร้างความรักใคร่สนิทสนมในหมู่ญาติ |
3.
เป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่เริ่มออกผลเพราะเชื่อว่าเป็น
สิริมงคลแก่ตนเองและ ครอบครัว |
4. ภาคใต้ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นในปลายเดือนสิบ พระภิกษุสงฆ์บิณฑบาตลำบาก
ชาวบ้านจึงจัดเสบียงอาหารนำไปถวายพระในรูปของหมรับ
ให้ทางวัดได้เก็บรักษาเป็นเสบียงสำหรับ พระภิกษุสงฆ์ ในฤดูฝน |
2. ประเพณีสงกรานต์
เป็นประเพณีแบบเก่าแก่ |
ความสำคัญ
: |
1. ให้ความสำคัญผู้สูงอายุ |
2. สรงน้ำพระ |
3. ทำบุญตักบาตร
|
4. รดน้ำขอพรผู้ใหญ่
|
3. ประเพณีเข้าพรรษา
เดือนกรกฎาคม
|
ความสำคัญ
:
เป็นวันที่พระภิกษุอธิษฐานว่าจะอยู่ประจำวัด มีการทำบุญตักบาตรถวายเทียนพรรษา
ถวายผ้าอาบน้ำฝน
|
4. ประเพณีลากพระ
|
ความสำคัญ
:
เกิดจากความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา แสดงถึงความปิติยินดีในการเสด็จกลับมาดาวดึงส์ของพระพุทธองค์
(ตรงกับ
วันขึ้น 15
ค่ำ เดือน 11)
การลากพระเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีปรองดอง
และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
|
วันและประเพณีที่สำคัญระดับชาติ
|
1. วันขึ้นปีใหม่
มีความเชื่อว่าเมื่อปีใหม่มาถึง ความทุกข์โศกจะถูกทิ้งไว้กับปีเก่า
วันขึ้นปีใหม่มาถึงจะรับเอาแต่สิ่งใหม่ๆ ความโชคและความสุข
|
2. วันเด็กแห่งชาติ
มีขึ้นเพื่อต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ
ของวันเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
|
3. วันเทศบาล
มีขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล
|
4. วันวิสาขบูชา
มีขึ้นเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในวันเดียวและเดือนเดียวกัน
|
5. วันอาสาหบูชา
เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าซึ่งได้ประกาศศาสนาครั้งแรก เกิดมีพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
|
6. วันเข้าพรรษา
เป็นวันที่พระภิกษุอธิษฐานว่าจะอยู่ประจำวัด
|
7. วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
(12
สิงหาคม)
เพื่อระลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพ
ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ซึ่งพระองค์ทรงตระหนักถึงหน้าที่อันพึงมีต่อประเทศชาติ
และประชาชนและเป็นวันแม่แห่งชาติ มีสัญลักษณ์เป็น ดอกมะลิ
เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณแม่ และส่งเสริมบทบาทของแม่ที่มีต่อลูก
ครอบครัวและสังคม
|
8. วันปิยมหาราช
เพื่อระลึกถึงวันสวรรคตของรัชกาลที่
5
|
9. เทศกาลกฐิน
เป็นประเพณีการบำเพ็ญกุศลอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนไทย
และเป็นหน้าที่ที่พุทธศาสนิกชนพึงกระทำ
เป็นประเพณีนำผ้าไปถวายแด่ภิกษุที่อยู่จำพรรษา ตลอดพรรษา
เพื่อสงเคราะห์ภิกษุ ให้ได้ผ้าผืนใหม่แทนผืนเก่าที่ชำรุด
|
10. วันลอยกระทง
เป็นประเพณีสำคัญ มีความเชื่อว่าได้บูชาพระเกศแก้วจุฬามหาบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ บูชารอบพระพุทธบาทที่ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที
หรือเป็นการตอบแทนและขอขมาต่อพระแม่คงคาที่ให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค
บริโภค และละเมิดทิ้งสิ่งปฏิกูลไป
|
11.
วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(5 ธันวาคม) เพื่อระลึกวันคล้ายวันพระราชสมภพ
ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่ทรงคุณประโยชน์อย่างมากมายให้กับ
พสกนิกรชาวไทย เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เช่น ด้านการศึกษา
การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งน้ำ
และเป็นวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งมีสัญลักษณ์ เป็น “ดอกพุทธรักษา”
|
|
|
ก่อนหน้า |
หน้าต่อไป |