หน้าแรก

 http://www.tungsong.com 

  | สภาพทั่วไป | ประวัติเทศบาล  | โครงสร้างพื้นฐาน | ด้านเศรษฐกิจ | ด้านสังคม | ด้านการเมืองการบริหาร |
 

การเดินทาง

 
ทางรถยนต์ มี 2 เส้นทาง คือเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  และเมื่อถึงจังหวัดชุมพร  เปลี่ยนมาใช้เส้นทางหมายเลข  41  ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช อ.ทุ่งสง เป็นระยะทาง 747 กิโลเมตร และทางรถไฟเป็น ระยะทาง 773 กิโลเมตร
 
รถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทขนส่ง จำกัด จัดบริการจากกรุงเทพฯ สถานีต้นทางที่ขนส่งสายใต้ ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี และที่ทุ่งสง สถานีต้นทางอยู่ที่บริษัทขนส่ง ทรัพย์ไพศาลทัวร์ จำกัด สาขาทุ่งสง ใกล้สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง หรือที่หอนาฬิกา
 
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการรถไฟสู่ อำเภอทุ่งสง ทั้งเป็นสถานีปลายทางและเป็นสถานีที่ขบวนรถผ่าน
 
ทางอากาศ โดยเดินทางไปที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีสายการบินจำนวน 2 สายการบิน คือนกแอร์ และแอร์เอเชีย
 

สถานที่ท่องเที่ยว

 
ถ้ำตลอด           "ถ้ำตลอด" หรือที่ชาวทุ่งสงเรียกกันว่าถ้ำหลอด เป็นถ้ำที่รู้จักกันมานานเท่าใดไม่มีหลักฐาน ปรากฏทราบเพียงแต่ว่าในปี พ.ศ.2431 นายบุญช่วย กุมารจันทร์ ได้รวบรวมเงินจากผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ต่อมาได้สร้างพระพุทธรูปอื่น ๆ เพื่อเป็นพุทธบูชามาตามลำดับ

          "ถ้ำตลอด" เป็นถ้ำของภูเขาวัดโคกหม้อ(วัดชัยชุมพล) สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2484 เมืองทุ่งสง ในฐานะชุมทางการคมนาคมที่สำคัญ จึงตกเป็นเป้าหมายของฝ่ายพันธมิตร และฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นยึดเอาเมืองทุ่งสงเป็นเป้าส่งกำลังบำรุงเพื่อขยายแนวรบสู่ประเทศพม่า เกณฑ์แรงงานคนและปรับจุดยุทธศาสตร์พักกำลังพล โดยสร้างทางรถไฟเลียบภูเขาด้านตะวันออกภูเขาโคกหม้อจึงกลายเป็นเป้าโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ถ้ำกระโจมซึ่งอยู่ด้านบนเขา พังทะลายลง

          ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อภูเขาโคกหม้อเป็นภูเขา "ชัยชุมพล" เพื่อเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์

          ลักษณะของถ้ำตลอดหันหน้าไปทางทิศเหนือ และสามารถเดินทะลุได้ เมื่อเข้าไปภายในถ้ำ จะรู้สึกเย็น ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์สวยงาม 1 องค์ ความยาว 11 เมตร หันเศียรไปทางทิศใต้ตามส่วนลึกของถ้ำ พระบาทหันไปทางปากถ้ำ ทั้งยังมีพระพุทธรูปเท่าองค์จริงประดิษฐานเรียงรายไปกับผนังถ้ำทางด้านทิศตะวันตกจนสุดถ้


          ผนังถ้ำทั้งสองด้านเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือของครูแนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาจิตรกรรม ประจำปี 2534 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

          ตรงกลางปากทางเข้าถ้ำมีสิงห์โตแกะสลักจากหินขนาดใหญ่ดูโดดเด่นสวยงาม  ด้านข้างปากถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดต่าง ๆ และเจดีย์ ฯลฯ

          บริเวณภายนอกถ้ำมีพระพุทธรูปเหมือน อันเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนภาคใต้ ได้แก่พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดธาตุน้อย, หลวงปู่คลิ้ง วัดถลุงทอง พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง, หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ และหลวงปู่เขียว วัดหรงบน ประดิษฐานอยู่ทั่วบริเวณ ประดิษฐานอยู่ทั่วบริเวณของถ้ำตลอด
 
พระซำปอกง           เมื่อปี พ.ศ.2492 มีคณะบุคคลที่นับถือและศรัทธาในพระซำปอกง ได้อัญเชิญกระถางธูปพระซำปอกงมาตั้ง ณ ศาลเจ้า ซึ่งเป็นอาคารไม้หลังเล็ก ๆ บริเวณสวนผัก บ้านนาเหนือ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสักการะบูชาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มุ่งกระทำความดี และได้จำลององค์พระซำปอกงของวัดพนัญเชิงขึ้นเป็นไม้แกะสลัก ลงรักปิดทองขนาดหน้าตักกว้าง 18 นิ้วเพื่อกราบไหว้บูชา ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในอำเภอทุ่งสงและใกล้เคียงที่มีต่อพระซำปอกงมีจำนวนมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2514 จึงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างอาคารวิหารหลังใหม่ขึ้น พร้อมนี้ได้สร้างพระพุทธรูปซำปอกงองค์ใหม่เป็นปูนปั้น ขนาดหน้าตักกว้าง 52 นิ้วเพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารดังปรากฎในปัจจุบัน และมีพระโพธิสัตว์กวนอิม
 
สวนพฤกษาสิรินธร           สวนสาธารณะบ้านในหวังแต่เดิม มีพื้นที่ หมดประมาณ 150 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านในหวังตะวันออก บริเวณเขายายสีหวังเชื่อมต่อเขาประไพและเขาหมู่แปะในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง   อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช  อยู่ติดในตัวเมืองทุ่งสง ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ห่างจากจังหวัด นครศรีธรรมราช 55 กิโลเมตร พื้นเป็นที่ราบที่ลุ่มและเป็นภูเขา ได้รับการพระราชทานนาม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่า สวนพฤกษาสิรินธร เป็นสถานที่  พักผ่อนหย่อนใจ  นันทนาการแก่ประชาชนในท้องถิ่น และเป็นจุดแวะพักผ่อนของผู้ที่เดินทางผ่าน
 

ก่อนหน้า          

หน้าต่อไป